จากการศึกษาจากวารสารวิชาการ Sleep Health โดยคณะนักวิจัยจาก University College London (UCL) และ University of the Republic ในอุรุกวัย เปิดเผยว่า การงีบหลับสั้นๆ ในช่วงเวลากลางวัน อาจเป็นผลดีต่อสุขภาพสมองของมนุษย์ เนื่องจากมันช่วยป้องกันการหดตัวของสมองได้เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ก่อนหน้านี้จะมีงานวิจัยที่เปิดเผยว่า การงีบหลับนานๆ อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ แต่ในขณะเดียวกันงานวิจัยอื่นๆ ได้ออกมารายงานว่า การงีบหลับสั้นๆ สามารถยกระดับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้คนได้ และล่าสุดนี้นักวิจัยเผยว่า พวกเขาพบหลักฐานใหม่ที่บ่งชี้ว่า การงีบหลับระหว่างวันอาจช่วยป้องกันการหดตัวของสมอง เนื่องจากพบว่า การนอนหลับช่วงกลางวันมีส่วนเชื่อมโยงกับการที่เนื้อสมองของมนุษย์เพิ่มขึ้น
.
นักวิจัยกล่าวว่า เมื่อมนุษย์แก่ตัวลงเรื่อยๆ เนื้อสมองของคนเราจะหดตัวลง และกระบวนการนี้จะเร่งตัวเร็วขึ้นอีกในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการรับรู้และโรคที่มาจากความผิดปกติของระบบประสาท ขณะที่มีงานวิจัยบางส่วนชี้ว่า การหดตัวของสมองอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านการนอนด้วย “จากการศึกษาเหล่านี้เราพบความสัมพันธ์ระหว่างการงีบหลับในตอนกลางวันเป็นประจำกับปริมาณเนื้อสมองโดยรวมที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจบ่งชี้ว่า การงีบหลับเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันการเสื่อมของระบบประสาท เพราะช่วยชดเชยการนอนหลับที่ไม่ดีในช่วงกลางคืนได้” นักวิจัยระบุ งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ลงวารสารวิชาการ Sleep Health ซึ่งคณะนักวิจัยได้ดึงข้อมูลมาจากการศึกษาของ UK Biobank ที่รวบรวมข้อมูลทางพันธุกรรม วิถีชีวิต และสุขภาพ จากประชาชนจำนวน 500,000 คนที่มีอายุ 40-69 ปี
.
นอกจากนี้ ทางทีมงานได้ใช้ข้อมูลของผู้ร่วมในการวิจัยดังกล่าวจำนวน 35,080 คนเพื่อดูว่า การงีบหลับตอนกลางวันที่เป็นนิสัยของพวกเขามีส่วนเชื่อมโยงกับปริมาณเนื้อสมอง ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ และสุขภาพสมองด้านอื่นๆ ด้วยหรือไม่ และหวังว่าข้อมูลงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ หากคุณสนใจหรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องของงานวิจัยนี้สามารถสอบถามกับทาง Thesis Thailand เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยที่พร้อมซัพพอร์ตคุณ
.
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจากเว็บ https://thestandard.co/daytime-naps-brain-health/