7เทคนิคในการเขียนบทที่ 1

  1. ภูมิหลัง ต้องเขียนเหตุผลของปัญหาที่จะทำวิจัยในภาพกว้าง หรือไกลสิ่งนั้นเข้าสู่ จุดที่ทำวิจัยหรือใกล้สิ่งนั้น (ควรมีเอกสารอ้างอิงของอาจารย์ภาควิชา/คณะที่ศึกษาด้วย) โดยทั่วไปจะกล่าวถึง 1.ปัญหา 2.ตัวแปรหรือพฤติกรรมที่จะทำวิจัย 3.กลุ่มตัวอย่าง 4.เทคนิค/วิธีที่จะทำกาวิจัย (ควรมีความยาว 3 – 6 หน้า)
  2. กรอบแนวคิด (ถ้ามี) แสดงถึงแนวความคิด ปรัชญา/หลักการ ต้องอ้างอิงตำรา หรือเอกสารที่นำมาเป็นกรอบแนวคิดด้วย (ไม่ใช่อ้างอิงงานวิจัยของอื่นมาเป็นกรอบ เพราะเท่ากับลอกเลียนการทำวิจัยของคนอื่น) งานวิจัยบางเรื่องที่ต้องใช้ทฤษฎี หลักการของนักวิชาการก็ควรมีกรอบการทำวิจัย บางเรื่องไม่ต้องมีกรอบก็ได้ เพราะหลักสำคัญของการทำวิจัยจะพิจารณาจากจุดมุ่งหมายของการวิจัย
  3. จุดมุ่งหมาย ต้องเขียนให้กะทัดรัด ชัดเจน จัดลำดับตามผลการวิจัย ที่จะเสนอใน บทที่ 4 อาจจะมีการปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายให้กระชับขึ้น เมื่อจะเขียนบทที่ 4 (ไม่ควรเอาชื่อเรื่องการวิจัยมาเป็นจุดมุ่งหมาย เพราะจุดมุ่งหมายต้องมีรายละเอียดมากกว่าหัวข้อเรื่อง)
  4. ความสำคัญ ต้องคิดไว้ล่วงหน้าก่อนทำวิจัยว่า งานวิจัยนี้มีคุณค่า หรือมีประโยชน์หรือไม่ ถ้าคิด ว่ามีความสำคัญหลายประเด็น ก็เขียนเป็นรายข้อ (ไม่ควรเกิน 3 ข้อ) และข้อความ ที่เขียนต้องเป็นจริงพอสมควร เมื่อมีหัวข้อความสำคัญแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีหัวข้อประโยชน์ของการวิจัยอีก เพราะความสำคัญย่อมมีคุณค่ากว่าประโยชน์ของการวิจัย
  5. สมมุติฐาน (ถ้ามี) ถ้ามีสมมุติฐานต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย (มักจะเรียงไว้เป็นข้อหลังๆ ในจุดมุ่งหมาย) และต้องทำการทดสอบสมมุติฐานเพราะเป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วอ้างอิง (Generalized) ไปยังประชากร ถ้าไม่มีการทดสอบสมมุติฐานแสดงว่าข้อมูลที่เก็บมา เป็นข้อมูลเฉพาะของกลุ่มตัวอย่าง
  6. ขอบเขตของการวิจัย ประกอบด้วย
    6.1 ประชากร ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน (ถ้าเป็นสถานการศึกษาต้องระบุ อำเภอ จังหวัด หรือสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาให้ชัดเจน)
    6.2 กลุ่มตัวอย่าง พิมพ์ล้อประชากรแล้วระบุเพียง เลือก(Sampling) หรือสุ่ม(Random) โดยวิธีใด(ไม่ต้องระบุวิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างว่าใช้ตาราง หรือใช้เกณฑ์ และไม่ต้องแสดงรายละเอียดการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง)
    6.3 ตัวแปร (ถ้ามี) ถ้ามีสมมุติฐานจึงจะมีตัวแปร (หากไม่มีสมมุติฐานก็ไม่ต้องเสนอตัวแปร เพราะถึงมีตัวแปรก็ไม่เกิดประโยชน์ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การระบุตัวแปรก็เพื่อทดสอบสมมุติฐาน) นิสิตมักจะใส่หัวข้อ เนื้อหาการทำวิจัยลงไปด้วยโดยไม่จำเป็น เพราะชื่อเรื่องวิจัยก็ระบุเนื้อหาแล้ว ส่วนกำหนดเวลาในการทำวิจัย จะอยู่ในบทที่ 3 เพราะเป็นเรื่องของการดำเนินการวิจัย ไม่ใช่บริบทของการทำวิจัย (บทที่ 1)
  7. นิยามศัพท์เฉพาะ หัวข้อนี้ตรงกับคำว่า Definition เป็น การนิยามคำที่มีความสำคัญ (Key Words) ของการวิจัย และคำที่มีความสำคัญของการวิจัยที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นนิยามทั่วไป จึงไม่ควรลอกมาจากเอกสาร ตำรา และไม่จำเป็นต้องมีการอ้างอิง เว้นแต่ใช้ข้อความตรงกับเอกสารตำรา จริง ๆ นิยามศัพท์เฉพาะต้องกล่าวถึงพฤติกรรมหรือวิธีการตามหัวข้อที่จะทำวิจัย เพื่อแจ้งให้คนอ่านทราบว่างานวิจัยครั้งนี้หมายถึงอะไร อย่างไร เพราะหัวข้อเรื่องคล้ายกัน แต่เป็นคนละความหมาย หรือคนละ Concept เช่น หัวข้อวิจัยที่ขึ้นด้วยคำว่า “การพัฒนา…” แต่ละสาขาจะมีความหมายต่างกัน จึงต้องมีนิยามให้ชัดเจนว่าหมายถึงอะไร อย่างไร และครอบคลุมไปถึงอะไรบ้าง บางครั้ง นิยามศัพท์เฉพาะต้องชัดเจนในความหมาย และวิธีการวัด หรือวิธีเก็บข้อมูล จึงต้องระบุเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลด้วย เรียกนิยามลักษณะนี้ว่า “นิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition)” เช่น “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” หมายถึง ผลการเรียนรู้ในเรื่อง… ที สามารถวัดด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
    สรุปการเขียนบทที่ 1 บทนำ เป็นเรื่องของบริบทในการทำวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยได้ทราบว่า วิจัยครั้งนี้จะประกอบด้วยสาระอะไรบ้างอย่างกะทัดรัด ไม่เกี่ยวกับการดำเนินการ หรือการจัดกระทำ (Action) ส่วนหัวข้อ “ข้อตกลงเบื้องต้น” มักจะไม่กล่าวถึง(เป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์เบื้องต้น เช่น กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยความเต็มใจ เป็นต้น)

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ Thesis Thailand ขอแนะนำการจัดตารางการอ่านหนังสือ ดังนี้ . 1. เลือกเวลาที่เหมาะสม เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก . 2.

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

จากการศึกษางานวิจัยของ The British Journal of Psychology ทำการทดลองด้วยการสำรวจความเห็นของกลุ่มคนอายุ 18 ถึง 28 ปี จำนวนกว่า 15,000 คน ผลวิจัยพบว่า คนฉลาดหรือคนที่มีไอคิวสูง ๆ ที่จำนวนของกลุ่มเพื่อนมีผลกระทบต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก และคนฉลาดมักมีความพึงพอใจต่ำกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า นั่นแปลว่ายิ่งคุณฉลาดเท่าไหร่ คุณจะยิ่งไม่ชอบเข้าสังคมเลย . พบอีกว่าคนที่มีไอคิวสูงนั้นมักจะไม่ใช้เวลาไปกับการเข้าสังคมหรือใช้เวลากับเพื่อนมากนัก

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

จากการศึกษาเรื่องงานวิจัยที่น่าสนใจของ ดร.มุยเรียนน์ ไอริช นักประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด จากสถาบันวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย กล่าวว่าที่ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชายอาจเป็นเพราะผู้หญิงมักต้องทำงานที่ใช้ความจำในด้านบางอย่างมากกว่าผู้ชาย เช่น การตามตารางนัดหมาย หรือการตรวจสิ่งของต่างๆ ว่าเก็บไว้ตรงไหน ทำให้เหมือนเป็นการฝึกฝนไปในตัว . อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา & Holistic Medicine กล่าวว่าโครงสร้างของสมองระหว่างผู้ชายและผู้หญิงจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศในช่วงตอนต้นของชีวิต โดยผู้หญิงจะมีสมองส่วน Hippocampus ทำหน้าที่เก็บความจำต่อเหตุการณ์ขนาดใหญ่กว่าผู้ชาย จึงเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้มากกว่าและยังรวมถึงการระลึกเหตุการณ์เก่าๆ ที่สะเทือนจิตใจได้ดีกว่าผู้ชาย และขณะเดียวกันผู้ชายมักจะเก็บความทรงจำในภาพรวมหรือเหตุการณ์สำคัญๆมากกว่า

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

จากการศึกษาจาก แดรี่เลวานี จอห์นสัน (Darylevuanie Johnson) นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการปรึกษาด้านจิตวิทยา กล่าวว่า คนที่ชอบเอาอกเอาใจผู้อื่นอยู่เสมอ หรือที่เรียกว่าเป็น People-Pleaser ที่ความพึงพอใจของคนอื่นมักจะมาก่อนของตัวเองเสมอ และคิดว่าตัวเองไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ กับใครเลย เพราะการถูกปฏิเสธ ถูกโกรธ ถูกบอกเลิก หรือไม่ได้รับการยอมรับ . นับว่าเป็นเรื่องที่เจ็บปวดสำหรับคนประเภทนี้ ซึ่งหลายครั้งมันอาจถึงขั้นที่จะต้องแลกหรือเสียสละเวลา พลังงาน ความฝัน ความต้องการส่วนตัวของตัวเอง เพื่อทำให้คนอื่นมีความสุขมากที่สุด ทำให้พวกเขามักจะ