สถิติสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร

สถิติ คือ ตัวเลขต่าง ๆ ที่ได้มีการรวบรวมขึ้นเพื่อบอกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะบางสิ่งบางอย่างที่สามารถแสดงออกเป็นตัวเลขได้ สถิติมีบทบาทที่สำคัญดังต่อไปนี้ (ภัทรา นิคมานนท์, 2539 : 159) ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) สถิติพื้นฐานใช้อธิบายคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฯลฯ เป็นต้น (2) สถิติที่หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น สหสัมพันธ์อย่างง่าย ใช้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือก่อนนำไปใช้จริง คุณภาพที่จำเป็นต้องตรวจ เช่น ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ค่าอำนาจจำแนก ความยากง่าย ฯลฯ เป็นต้น ใช้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยที่ไม่สามารถใช้ประชากรทั้งหมดจึงจำเป็นต้องกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมเพื่อสามารถเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร

7เทคนิคในการเขียนบทที่ 1

ภูมิหลัง ต้องเขียนเหตุผลของปัญหาที่จะทำวิจัยในภาพกว้าง หรือไกลสิ่งนั้นเข้าสู่ จุดที่ทำวิจัยหรือใกล้สิ่งนั้น (ควรมีเอกสารอ้างอิงของอาจารย์ภาควิชา/คณะที่ศึกษาด้วย) โดยทั่วไปจะกล่าวถึง 1.ปัญหา 2.ตัวแปรหรือพฤติกรรมที่จะทำวิจัย 3.กลุ่มตัวอย่าง 4.เทคนิค/วิธีที่จะทำกาวิจัย (ควรมีความยาว 3 – 6 หน้า) กรอบแนวคิด (ถ้ามี) แสดงถึงแนวความคิด ปรัชญา/หลักการ ต้องอ้างอิงตำรา หรือเอกสารที่นำมาเป็นกรอบแนวคิดด้วย (ไม่ใช่อ้างอิงงานวิจัยของอื่นมาเป็นกรอบ เพราะเท่ากับลอกเลียนการทำวิจัยของคนอื่น) งานวิจัยบางเรื่องที่ต้องใช้ทฤษฎี หลักการของนักวิชาการก็ควรมีกรอบการทำวิจัย บางเรื่องไม่ต้องมีกรอบก็ได้ เพราะหลักสำคัญของการทำวิจัยจะพิจารณาจากจุดมุ่งหมายของการวิจัย จุดมุ่งหมาย ต้องเขียนให้กะทัดรัด ชัดเจน จัดลำดับตามผลการวิจัย ที่จะเสนอใน บทที่ 4 อาจจะมีการปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายให้กระชับขึ้น เมื่อจะเขียนบทที่ 4 (ไม่ควรเอาชื่อเรื่องการวิจัยมาเป็นจุดมุ่งหมาย เพราะจุดมุ่งหมายต้องมีรายละเอียดมากกว่าหัวข้อเรื่อง) ความสำคัญ ต้องคิดไว้ล่วงหน้าก่อนทำวิจัยว่า งานวิจัยนี้มีคุณค่า หรือมีประโยชน์หรือไม่ ถ้าคิด ว่ามีความสำคัญหลายประเด็น ก็เขียนเป็นรายข้อ (ไม่ควรเกิน 3 ข้อ) และข้อความ ที่เขียนต้องเป็นจริงพอสมควร เมื่อมีหัวข้อความสำคัญแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีหัวข้อประโยชน์ของการวิจัยอีก เพราะความสำคัญย่อมมีคุณค่ากว่าประโยชน์ของการวิจัย สมมุติฐาน […]

อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การเขียนบทที่ 5 อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ในบทนี้เป็นการย่อความในส่วนที่เป็นผลของการวิจัย ที่มาจากบทที่ 4 และที่สำคัญมากก็คือ วิธีการอภิปรายผล เพราะเป็นการแสดงความสามารถในการสังเคราะห์งานของผู้วิจัย กล่าวโดยสรุป 1. หากต้องการทราบประเด็นสำคัญของการทำวิจัยทุกขั้นตอนที่สั้นที่สุดก็คือ อ่านบทคัดย่อ หากต้องการทราบผลการวิจัยโดยสรุปสั้น ๆ ก็อ่านบทที่ 5 หากต้องการทราบผลการวิจัยทั้งหมดก็อ่านบทที่ 4 หากต้องการทราบบริบทของการทำวิจัยว่าประกอบด้วยอะไรบ้างก็อ่านบทที่ 1 และหากต้องการทราบความรู้เบื้องต้นที่จะมาสนับสนุนงานวิจัยก็อ่าน บทที่ 2 (เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง) และหากต้องการทราบวิธีการดำเนินการวิจัยก็อ่านบทที่ 3 2. จากที่กล่าวมาทั้ง 5 บท ก็เพื่อให้ผู้ที่จะทำวิจัยได้ทราบถึง Concept (ความคิดรวบยอด) ของแต่ละบทว่า จะกล่าวถึงอะไรบ้าง และกล่าวเพื่ออะไร หรือประเด็นสำคัญของแต่ละบทคืออะไร มิฉะนั้นผู้วิจัยจะเขียนแต่ละบทอย่างลอย ๆ ไร้จุดหมายก็จะกลายเป็นงานวิจัยที่ขาดคุณภาพ

5 เทคนิคการสร้างและตรวจสอบเครื่องมือ

การทำวิจัยมีขั้นตอนสำคัญมากตอนหนึ่งก็คือ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ต้องมีคุณภาพ มิฉะนั้น ข้อมูลที่ได้ก็เละเทะ (เปรียบได้กับขยะ)ขั้นต่อมานำข้อมูลมาวิเคราะห์และเสนอผลการวิจัยก็กลายเป็นผลงานที่ขาดความน่าเชื่อถือ หรือเป็นบาปต่อผู้ที่เอาผลงานไปใช้ เพราะเป็นผลงานเท็จ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องมือขาดคุณภาพจึงมีการตรวจสอบ ตามขั้นตอนดังนี้1.สร้างเครื่องมือขึ้นจำนวนหนึ่ง (โดยมีจำนวนมากกว่าที่ต้องการใช้จริง 20% – 50%)2 หาความเที่ยงตรงทั้งฉบับ (Validity) โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3–5 คน ให้ช่วยพิจารณารายละเอียดของเครื่องมือทุกชนิดที่จะใช้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยจำนวนข้อของเครื่องมือแต่ละชนิดที่ผ่านเกณฑ์ต้องมากกว่าที่จะใช้จริง (สร้างเผื่อไว้ 20%–50% ผ่านเกณฑ์อาจจะเหลือมากกว่า 20 % แต่น้อยกว่า 50% ก็ได้)3 หาความยากรายข้อ (สำหรับแบบทดสอบ) และอำนาจจำแนกรายข้อ โดยการทดลองใช้เครื่องมือ (Try out) กับกลุ่มบุคคลที่คล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง แล้วคัดเลือกจำนวนข้อที่ผ่านเกณฑ์ให้ได้พอดีกับจำนวนที่ต้องการใช้จริง4 นำจำนวนข้อของเครื่องมือแต่ละชนิดที่จะใช้จริงซึ่งคัดเลือกไว้แล้ว ไปหาความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability)5 พิมพ์เครื่องมือเป็นฉบับจริง

4 เทคนิคการเขียนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัย (รวมถึงการค้นคว้าอิสระ = Independent Stydy หรือวิทยานิพนธ์ =Thesis หรือ ดุษฎีนิพนธ์ = Dissertation) ที่มีคนทำไว้แล้ว และมีส่วนเกี่ยวพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กำลังจะทำ สามารถนำมาอ้างอิงได้เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้จะทำวิจัยเป็นผู้ใฝ่รู้ เป็นผู้ที่ รู้กว้าง ทำให้รู้ว่ามีคนทำวิจัยไว้และผลเป็นอย่างไร จะสอดคล้อง หรือขัดแย้งกับงานวิจัยของเราหรือไม่ ช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะทำการวิจัยให้เกิดความกระจ่างในสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น การค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ต้องค้นคว้ามาก่อน และจะเขียนอยู่ในเค้าโครงวิจัย 3 บท (Proposal) การค้นคว้าต้องเขียนบรรณานุกรมอ้างอิงให้ถูกหลักไปพร้อมกัน จะได้ไม่เป็นภาระการค้นเอกสารอ้างอิงภายหลัง การค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยต้องเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กำลังจะทำ โดยเฉพาะเกี่ยวกับพฤติกรรมที่จะทำวิจัย (หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับตัวแปรหรือกลุ่มตัวอย่าง) ถ้าหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ได้ ก็ต้องค้นคว้าทฤษฏี หรือหลักการของเรื่องที่จะทำวิจัยมาอ้างอิงแทน ควรหาวิธีเรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจจะเรียงตามเหตุการณ์หรือเวลาก็ได้สรุปการเขียนบทที่ 2 เอกสารและงานวิจับที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยต้องค้นคว้าองค์ความรู้จากเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจริง ๆ ไม่ใช่ ลอกมาจากบทที่ 2 ในงานวิจัยของคนอื่น บ่อยครั้งที่พบว่าเป็นการอ้างอิงผิดเพี้ยนจากข้อความจริงในเอกสาร ตำรา ที่เป็นต้นฉบับ ทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของเอกสาร ตำรา อย่างเลี่ยงไม่ได้