5 เทคนิค อ่านงานวิจัยได้เร็ว ในเวลาจำกัด

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องอ่านหรือหยิบข้อมูลสำคัญจากอ่านวิจัยเพื่อนำข้อมูลไปต่อยอด แต่ไม่เคยมีเวลาตั้งใจอ่านสักทีเพราะมันต้องใช้เวลาเยอะ บทความนี้ถูกเขียนมาเพื่อคุณ การอ่านงานวิจัยแต่ละฉบับเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะการอ่านงานวิจัยอย่างมีคุณภาพนั้นเราจะอ่านให้จบไปเพียงอย่างเดียวไม่ได้นะคะ แต่เราต้องอ่านด้วยความเข้าใจ เพราะงานวิจัยหลายฉบับถึงแม้ว่าจะมีคำค้นหาตรงกับสิ่งที่เราต้องการ ถ้าหากเรามีเวลาว่างเหลือเฟือเราอาจจะอ่านงานวิจัยวันละกี่ฉบับก็ได้ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือคุณอาจจะไม่มีเวลา ดังนั้น วันนี้เรามี 5 เทคนิค อ่านงานวิจัยได้เร็ว ในเวลาจำกัดสำหรับคนที่มีเวลาจำกัดมาฝากค่ะ

  1. ชื่องานวิจัย

ก่อนเริ่มต้นอ่านงานวิจัยฉบับใดก็ตาม ผู้อ่านควรอ่านชื่องานวิจัยนั้น ๆ อย่างละเอียดให้เข้าใจก่อนว่างานวิจัยฉบับนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรากำลังสนใจหรือไม่ เพราะถึงแม้งานวิจัยนั้นจะตรงกับสิ่งที่เราสนใจ แต่ถ้าในชื่องานวิจัยระบุถึงกลุ่มประชากรที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องการจะอ่าน หรือมีวิธีวิจัยที่แตกต่างไปจากที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น เราสนใจงานวิจัยเรื่องการใช้ยา A ในหญิงตั้งครรภ์เพื่อที่ต้องการจะทราบว่ายานั้นมีผลต่อเด็กทารกหรือไม่ แต่งานวิจัยที่เราค้นมาได้มีชื่อว่า ‘การศึกษาการใช้ยา A ในผู้สูงอายุ’ ซึ่งไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ เราก็ควรข้ามการอ่านงานวิจัยนั้น ๆ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาค่ะ

         2. เริ่มอ่านจากบทคัดย่อ

          บทคัดย่อ หรือ abstract จะเป็นจุดศูนย์รวมทุกอย่างของงานวิจัยนี้ ตั้งแต่ที่มาและความสำคัญของงานวิจัย (background) วัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัยนี้ (objectives) ระเบียบวิธีวิจัยหรือขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ ในการทำงานวิจัย (methods) ผลการวิจัย (results) และสรุปผลการวิจัย (conclusions) ซึ่งหากต้องการประหยัดเวลาในการอ่านงานวิจัยจริง ๆ ก็สามารถอ่านแค่บทคัดย่อของงานวิจัยนั้น ๆ อย่างเดียวก็ได้ แต่อย่าลืมว่าเนื้อหาที่ผู้วิจัยเขียนในบทคัดย่ออาจมีโอกาศแตกต่างจากเนื้อหาด้านในได้ รวมไปถึงการสรุปผลการวิจัยเช่นกัน ดังนั้นถ้ามีเวลาผู้อ่านก็ควรอ่านเนื้อหาด้านในทั้งหมดเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัยนี้อีกครั้งนะคะ

          3. อ่านกราฟแผนภูมิตารางให้เข้าใจ

          งานวิจัยหลายฉบับมักเลือกแสดงผลลัพธ์เป็นรูปภาพ กราฟ ตาราง แผนภูมิ (ยกเว้นงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นการพรรณนาหรือการบรรยาย) ซึ่งการอ่านผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยจากสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจและช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้น แต่อย่าลืมว่าไม่ใช่ผลลัพธ์ทั้งหมดที่จะแสดงออกมาในรูปแบบกราฟหรือตารางนะคะ เพราะฉะนั้นต้องดูให้ดีด้วยว่าสิ่งที่เรากำลังอ่านอยู่ตรงกับผลลัพธ์หลักที่งานวิจัยนี้ระบุหรือไม่ และต่อไปนี้ก็จะเป็นทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการอ่านงานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจเนื้อหาในงานวิจัยนะคะ

          4. การเน้นสิ่งที่สำคัญ

         งานวิจัยหลายฉบับอาจมีเนื้อหาหลายหน้า อ่านมาก ๆ ก็อาจจะลายตาหรือมีโอกาสที่เราจะลืมจุดที่สำคัญนั้น ๆ ไปได้ ดังนั้นเราควรขีดเน้นหรือกาดอกจันในจุดที่เราสนใจ หรือจุดที่เราจะกลับมาทำความเข้าใจเพิ่มในภายหลังไว้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลากลับมาอ่านซ้ำใหม่ค่ะ

          5. ข้ามเนื้อหาบางส่วนไปก่อน

         แน่นอนค่ะว่าการอ่านงานวิจัยแต่ละฉบับเราควรอ่านและทำความเข้าใจในเนื้อหาทั้งหมดพร้อมกับการประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัยนั้น ๆ ไปด้วย แต่ในเวลาที่จำกัดเราอาจจะจำเป็นต้องเลือกอ่านเฉพาะจุดที่เราสนใจหรืออ่านเนื้อหาที่เราต้องการจะนำไปใช้ก่อน

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ Thesis Thailand ขอแนะนำการจัดตารางการอ่านหนังสือ ดังนี้ . 1. เลือกเวลาที่เหมาะสม เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก . 2.

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

จากการศึกษางานวิจัยของ The British Journal of Psychology ทำการทดลองด้วยการสำรวจความเห็นของกลุ่มคนอายุ 18 ถึง 28 ปี จำนวนกว่า 15,000 คน ผลวิจัยพบว่า คนฉลาดหรือคนที่มีไอคิวสูง ๆ ที่จำนวนของกลุ่มเพื่อนมีผลกระทบต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก และคนฉลาดมักมีความพึงพอใจต่ำกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า นั่นแปลว่ายิ่งคุณฉลาดเท่าไหร่ คุณจะยิ่งไม่ชอบเข้าสังคมเลย . พบอีกว่าคนที่มีไอคิวสูงนั้นมักจะไม่ใช้เวลาไปกับการเข้าสังคมหรือใช้เวลากับเพื่อนมากนัก

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

จากการศึกษาเรื่องงานวิจัยที่น่าสนใจของ ดร.มุยเรียนน์ ไอริช นักประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด จากสถาบันวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย กล่าวว่าที่ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชายอาจเป็นเพราะผู้หญิงมักต้องทำงานที่ใช้ความจำในด้านบางอย่างมากกว่าผู้ชาย เช่น การตามตารางนัดหมาย หรือการตรวจสิ่งของต่างๆ ว่าเก็บไว้ตรงไหน ทำให้เหมือนเป็นการฝึกฝนไปในตัว . อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา & Holistic Medicine กล่าวว่าโครงสร้างของสมองระหว่างผู้ชายและผู้หญิงจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศในช่วงตอนต้นของชีวิต โดยผู้หญิงจะมีสมองส่วน Hippocampus ทำหน้าที่เก็บความจำต่อเหตุการณ์ขนาดใหญ่กว่าผู้ชาย จึงเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้มากกว่าและยังรวมถึงการระลึกเหตุการณ์เก่าๆ ที่สะเทือนจิตใจได้ดีกว่าผู้ชาย และขณะเดียวกันผู้ชายมักจะเก็บความทรงจำในภาพรวมหรือเหตุการณ์สำคัญๆมากกว่า

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

จากการศึกษาจาก แดรี่เลวานี จอห์นสัน (Darylevuanie Johnson) นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการปรึกษาด้านจิตวิทยา กล่าวว่า คนที่ชอบเอาอกเอาใจผู้อื่นอยู่เสมอ หรือที่เรียกว่าเป็น People-Pleaser ที่ความพึงพอใจของคนอื่นมักจะมาก่อนของตัวเองเสมอ และคิดว่าตัวเองไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ กับใครเลย เพราะการถูกปฏิเสธ ถูกโกรธ ถูกบอกเลิก หรือไม่ได้รับการยอมรับ . นับว่าเป็นเรื่องที่เจ็บปวดสำหรับคนประเภทนี้ ซึ่งหลายครั้งมันอาจถึงขั้นที่จะต้องแลกหรือเสียสละเวลา พลังงาน ความฝัน ความต้องการส่วนตัวของตัวเอง เพื่อทำให้คนอื่นมีความสุขมากที่สุด ทำให้พวกเขามักจะ