5 เทคนิค อ่านงานวิจัยได้เร็ว ในเวลาจำกัด

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องอ่านหรือหยิบข้อมูลสำคัญจากอ่านวิจัยเพื่อนำข้อมูลไปต่อยอด แต่ไม่เคยมีเวลาตั้งใจอ่านสักทีเพราะมันต้องใช้เวลาเยอะ บทความนี้ถูกเขียนมาเพื่อคุณ การอ่านงานวิจัยแต่ละฉบับเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะการอ่านงานวิจัยอย่างมีคุณภาพนั้นเราจะอ่านให้จบไปเพียงอย่างเดียวไม่ได้นะคะ แต่เราต้องอ่านด้วยความเข้าใจ เพราะงานวิจัยหลายฉบับถึงแม้ว่าจะมีคำค้นหาตรงกับสิ่งที่เราต้องการ ถ้าหากเรามีเวลาว่างเหลือเฟือเราอาจจะอ่านงานวิจัยวันละกี่ฉบับก็ได้ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือคุณอาจจะไม่มีเวลา ดังนั้น วันนี้เรามี 5 เทคนิค อ่านงานวิจัยได้เร็ว ในเวลาจำกัดสำหรับคนที่มีเวลาจำกัดมาฝากค่ะ

  1. ชื่องานวิจัย

ก่อนเริ่มต้นอ่านงานวิจัยฉบับใดก็ตาม ผู้อ่านควรอ่านชื่องานวิจัยนั้น ๆ อย่างละเอียดให้เข้าใจก่อนว่างานวิจัยฉบับนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรากำลังสนใจหรือไม่ เพราะถึงแม้งานวิจัยนั้นจะตรงกับสิ่งที่เราสนใจ แต่ถ้าในชื่องานวิจัยระบุถึงกลุ่มประชากรที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องการจะอ่าน หรือมีวิธีวิจัยที่แตกต่างไปจากที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น เราสนใจงานวิจัยเรื่องการใช้ยา A ในหญิงตั้งครรภ์เพื่อที่ต้องการจะทราบว่ายานั้นมีผลต่อเด็กทารกหรือไม่ แต่งานวิจัยที่เราค้นมาได้มีชื่อว่า ‘การศึกษาการใช้ยา A ในผู้สูงอายุ’ ซึ่งไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ เราก็ควรข้ามการอ่านงานวิจัยนั้น ๆ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาค่ะ

         2. เริ่มอ่านจากบทคัดย่อ

          บทคัดย่อ หรือ abstract จะเป็นจุดศูนย์รวมทุกอย่างของงานวิจัยนี้ ตั้งแต่ที่มาและความสำคัญของงานวิจัย (background) วัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัยนี้ (objectives) ระเบียบวิธีวิจัยหรือขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ ในการทำงานวิจัย (methods) ผลการวิจัย (results) และสรุปผลการวิจัย (conclusions) ซึ่งหากต้องการประหยัดเวลาในการอ่านงานวิจัยจริง ๆ ก็สามารถอ่านแค่บทคัดย่อของงานวิจัยนั้น ๆ อย่างเดียวก็ได้ แต่อย่าลืมว่าเนื้อหาที่ผู้วิจัยเขียนในบทคัดย่ออาจมีโอกาศแตกต่างจากเนื้อหาด้านในได้ รวมไปถึงการสรุปผลการวิจัยเช่นกัน ดังนั้นถ้ามีเวลาผู้อ่านก็ควรอ่านเนื้อหาด้านในทั้งหมดเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัยนี้อีกครั้งนะคะ

          3. อ่านกราฟแผนภูมิตารางให้เข้าใจ

          งานวิจัยหลายฉบับมักเลือกแสดงผลลัพธ์เป็นรูปภาพ กราฟ ตาราง แผนภูมิ (ยกเว้นงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นการพรรณนาหรือการบรรยาย) ซึ่งการอ่านผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยจากสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจและช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้น แต่อย่าลืมว่าไม่ใช่ผลลัพธ์ทั้งหมดที่จะแสดงออกมาในรูปแบบกราฟหรือตารางนะคะ เพราะฉะนั้นต้องดูให้ดีด้วยว่าสิ่งที่เรากำลังอ่านอยู่ตรงกับผลลัพธ์หลักที่งานวิจัยนี้ระบุหรือไม่ และต่อไปนี้ก็จะเป็นทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการอ่านงานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจเนื้อหาในงานวิจัยนะคะ

          4. การเน้นสิ่งที่สำคัญ

         งานวิจัยหลายฉบับอาจมีเนื้อหาหลายหน้า อ่านมาก ๆ ก็อาจจะลายตาหรือมีโอกาสที่เราจะลืมจุดที่สำคัญนั้น ๆ ไปได้ ดังนั้นเราควรขีดเน้นหรือกาดอกจันในจุดที่เราสนใจ หรือจุดที่เราจะกลับมาทำความเข้าใจเพิ่มในภายหลังไว้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลากลับมาอ่านซ้ำใหม่ค่ะ

          5. ข้ามเนื้อหาบางส่วนไปก่อน

         แน่นอนค่ะว่าการอ่านงานวิจัยแต่ละฉบับเราควรอ่านและทำความเข้าใจในเนื้อหาทั้งหมดพร้อมกับการประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัยนั้น ๆ ไปด้วย แต่ในเวลาที่จำกัดเราอาจจะจำเป็นต้องเลือกอ่านเฉพาะจุดที่เราสนใจหรืออ่านเนื้อหาที่เราต้องการจะนำไปใช้ก่อน

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต