การทำวิจัย คืออะไร ทำไปทำไม?

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ” การทำวิจัย “ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นการศึกษาเฉาะสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่จริงๆ แล้วการทำวิจัยสามารถทำได้ในทุกๆ สาขาวิชา วันนี้แคมปัส-สตาร์จะพาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ การทำวิจัย คืออะไร ทำอย่างไร และทำไปทำไม พร้อมยกตัวอย่างงานวิจัยเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้นด้วยค่ะ การทำวิจัย คืออะไร ? การทำวิจัยคือกระบวนการศึกษาหรือแสวงหาคำตอบโดยมีระบบระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน น่าเชื่อถือและเที่ยงตรง ซึ่งปัญหานำวิจัยที่นำมาศึกษาหาคำตอบ จะต้องมีประโยชน์ต่องานทางด้านวิชาการ การทำวิจัยมีหลายประเภท เช่น วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ รายงานการวิจัยของหน่วยงาน เป็นต้น ทุกประเภทมีพื้นฐานการทำวิจัยที่เหมือนกัน อาจจะต่างกันตรงที่ขอบเขตการวิจัย หรือรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ การวิจัยคือ การทดลอง ? การทดลอง เป็นประเภทหนึ่งของการทำวิจัย ซึ่งเป็นกระบวนทางวิทยาศาสตร์แบบหนึ่ง ใช้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่เกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้ เพื่อศึกษาว่าเงื่อนไขหรือสถานการณ์นั้นๆ เป็นสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงตัวแปรดังกล่าวหรือไม่ โดยใช้วิธีการสังเกตและเปรียบเทียบความแตกต่างที่กิดขึ้น จุดเริ่มต้นของการทำวิจัย ผู้ทำวิจัยควรจะเริ่มต้นจาก การคิดหาปัญหาที่ต้องการหาคำตอบ เรียกว่า “ปัญหานำวิจัย” ซึ่งควรจะเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจและถนัด เพราะอาจจะต้องอยู่กับงานวิจัยนั้นๆ หลายเดือนหรือหลายปี แต่ถ้าไม่สามารถตั้งปัญหานำวิจัยได้ อาจจะใช้วิธีค้นคว้าจากเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ ซึ่งจะทำให้รู้ถึงช่องว่างที่สามารถจะทำวิจัยได้ หรืออาจได้ไอเดียใหม่ๆ มาเป็นหัวข้องานวิจัยได้ […]

วิทยานิพนธ์ (Thesis) กับ สารนิพนธ์ (IS) ต่างกันยังไง?

บทความนี้ เราจะช่วยไขข้อข้องใจที่ถึง 3 ความแตกต่างที่จะทำให้คุณเข้าใจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นว่าวิทยานิพนธ์ (Thesis)กับสารนิพนธ์ (IS) ต่างกันยังไง? วิทยานิพนธ์ (Thesis) งานวิทยานิพนธ์ คือ การศึกษาค้นคว้างานวิจัย หรือการเขียนงานวิชาการที่ผู้เรียนในระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกต้องจัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจบการศึกษา รับปริญญา เพื่อเป็นเกียรติคุณและ เป็นไปเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ตนเองสนใจในอนาคต สารนิพนธ์ (Independent Study) สารนิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ (IS) คือ การศึกษาวิจัยอิสระโดยการค้นคว้าทำความเข้าใจกับความรู้นั้น ๆ แบบไม่จำกัดรูปแบบของการศึกษา กลั่นกรองความรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว นำมาสรุปใหม่ให้อยู่ในหัวข้อเรื่องเดียวกัน แต่มีเนื้อหาต่างกัน และ ศึกษาได้ง่ายกว่า ฉะนั้น สารนิพนธ์กับวิทยานิพนธ์นั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของ… แนวคิด (Concept) และ ตัวแปร (Variable) ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ในการทำงานสารนิพนธ์จะศึกษาแนวคิด (Concept) หรือตัวแปร (Variable) ที่มักจะมีตัวแปรต้น 2 ตัวแปร หรือตัวแปรตาม 1 ตัวแปร ให้เหมาะกับการใช้สถิติ หรือการวิเคราะห์อย่างง่าย และงานวิทยานิพนธ์นั้นจะศึกษาแนวคิดความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal Relationship) […]