10 ลำดับความสำคัญสำหรับงานวิจัย

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ และช่วยจัดลำดับความสำคัญสำหรับการทำงานวิจัย 10 ลำดับความสำคัญสำหรับงานวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับใช้สำหรับการทำงานวิจัยของคุณให้มีคุณภาพ และสำเร็จได้เร็วขึ้น พบกับ 10 ลำดับขั้นตอนความสำคัญในการทำงานวิจัยให้สำเร็จได้เร็วขึ้น… กำหนดเนื้อหางานวิจัยจากสิ่งที่สนใจทำการศึกษาเริ่มจากการกำหนดเนื้อหางานวิจัยจากเรื่องที่คุณสนใจก่อน เพราะจะทำให้คุณสามารถทำการกำหนดเนื้อหา ขอบเขตหรือขอบข่ายของงานวิจัยนั้นๆ ให้มีความชัดเจน และง่ายยิ่งขึ้น ศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎีจากงานวิจัยเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดศึกษาจากงานวิจัยที่มีผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าสำเร็จแล้ว อ่านและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยเล่มนั้นๆ ว่าสามารถนำมาพัฒนา ต่อยอดงานวิจัยของผู้วิจัยได้หรือไม่ มีการทดลองและแหล่งที่มาในการตรวจสอบที่ชัดเจน มีการกำหนดตัวแปรใดบ้างที่นำมาใช้ในการทดสอบงานวิจัยได้จริง สามารถช่วยผู้วิจัยมองเห็นปัญหางานวิจัยนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน หัวข้อเรื่องวิจัย“หัวข้อ” เป็นสิ่งแรกที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในงานวิจัยของคุณ ดังนั้น หัวข้อเรื่องวิจัยจะต้องมีความกระชับและชัดเจน สามารถอธิบายถึงปัญหาและสิ่งที่จะส่งผลต่องานวิจัยได้ ตั้งสมมติฐาน“สมมติฐาน” คือ การคาดคะเนคำตอบที่ใช้สำหรับตอบคำถามของปัญหางานวิจัย ว่าควรจะเป็นไปในทิศทางใด โดยอ้างอิงจากหลักการและแนวคิดจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ศึกษา ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นมีความสอดคล้อง และสมเหตุสมผลมากน้อยเพียงใด แหล่งที่มาของข้อมูลที่ชัดเจนแหล่งที่มาของข้อมูลงานวิจัย หรือแหล่งอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ จะต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน มีความสอดคล้องกับเนื้อหางานวิจัย ว่างานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ข้อมูลที่ใช้ในการทำงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากพอหรือไม่ แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหน กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร มีขั้นตอนการเก็บข้อมูลอย่างไร และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด เป็นต้น สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในงานวิจัยการจัดเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัย จะพิจารณาจากรูปแบบของงานวิจัย และความต้องการประเภทของข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นสำคัญ โดยผู้วิจัยจะทำการกำหนดและเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยให้ได้มากที่สุด ซึ่งก่อนนำไปใช้จริง ผู้วิจัยควรทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ว่ามีประสิทธิภาพและมีความเที่ยงตรงสำหรับใช้ในงานวิจัย […]

เรียนไม่ไหว กลัวทำวิจัยไม่ผ่าน

เรียนไม่ไหว กลัวทำวิจัยไม่ผ่าน : ชีวิตแสนกดดันของคนเรียนปริญญาโท-เอก เอายังไงกับชีวิตดี? เมื่อไหร่จะเรียนจบ? วิทยานิพนธ์ที่ทำอยู่จะไปรอดไหม? เริ่มต้นลงมือทำไปก็กลัวว่าจะผิดพลาด อาจารย์ที่ปรึกษาจะคิดกับเรายังไงบ้างนะ? มันจะคุ้มค่ากับช่วงเวลาที่ทุ่มเทไปกับการเรียนต่อรึเปล่า?คำถามมากมายมักถาโถมเข้ามาใส่อยู่เสมอๆ กับเหล่าผู้คนที่เรียนต่อกันในระดับชั้นปริญญาโท-เอก แต่เดิมตอนที่เรียนในชั้นปริญญาตรีนั้น หลายคนก็คิดว่าที่เจออยู่ก็เครียดมากพออยู่แล้ว แม้จะเคยได้ยินมาว่า การเรียนต่อนั้นมันอาจสร้างความเจ็บปวดได้มากกว่าเดิม แต่เราก็พร้อมมักจะยอมรับเงื่อนไขเหล่านั้นเพื่อเพราะมันเป็นเหมือนกับการลงทุนให้กับชีวิตในอนาคต แต่ถึงอย่างนั้น คำว่า ‘ยิ่งเรียนสูง ยิ่งเครียด’ มันก็ยังเป็นภาพที่ดูห่างตัวกันพอสมควร จนกระทั่งหลายๆ คนได้เข้ามาเจอประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง การเรียนสูงกับความเสี่ยงเผชิญภาวะซึมเศร้าภาวะความเครียดของบรรดานักศึกษาปริญญาโท-เอก ไม่ใช่เรื่องใหม่ อีกทั้งยังเกิดขึ้นในหลายประเทศ มีงานวิจัยจาก University of Texas Health Science Center ที่พบว่า นักศึกษา ป.โท-เอก มีอัตราเผชิญหน้ากับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล มากกว่าคนทั่วไป 6 เท่าตัว โดยกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้จำนวนกว่า 2,300 คนจาก 26 ประเทศกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ได้ตอบคำถามกับนักวิจัยว่า พวกเข้าได้เจอกับภาวะความซึมเศร้า (ทั้งในระดับทั่วไปและระดับที่รุนแรง) แม้จะไม่มีสถิติอย่างเป็นทางการว่าจำนวนนักศึกษาปริญญาโท-เอกที่เป็นคนไทยเผชิญหน้ากับภาวะซึมเศร้าจะเป็นเท่าไหร่ แต่เราก็แทบจะไม่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัญหาเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้น มันจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจเหมือนกันเนอะ ชีวิตคนเรียนปริญญาโท-เอก […]