10 ลำดับความสำคัญสำหรับงานวิจัย

ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ และช่วยจัดลำดับความสำคัญสำหรับการทำงานวิจัย 10 ลำดับความสำคัญสำหรับงานวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับใช้สำหรับการทำงานวิจัยของคุณให้มีคุณภาพ และสำเร็จได้เร็วขึ้น

พบกับ 10 ลำดับขั้นตอนความสำคัญในการทำงานวิจัยให้สำเร็จได้เร็วขึ้น…

  1. กำหนดเนื้อหางานวิจัยจากสิ่งที่สนใจทำการศึกษา
    เริ่มจากการกำหนดเนื้อหางานวิจัยจากเรื่องที่คุณสนใจก่อน เพราะจะทำให้คุณสามารถทำการกำหนดเนื้อหา ขอบเขตหรือขอบข่ายของงานวิจัยนั้นๆ ให้มีความชัดเจน และง่ายยิ่งขึ้น
  2. ศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎีจากงานวิจัยเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอด
    ศึกษาจากงานวิจัยที่มีผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าสำเร็จแล้ว อ่านและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยเล่มนั้นๆ ว่าสามารถนำมาพัฒนา ต่อยอดงานวิจัยของผู้วิจัยได้หรือไม่ มีการทดลองและแหล่งที่มาในการตรวจสอบที่ชัดเจน มีการกำหนดตัวแปรใดบ้างที่นำมาใช้ในการทดสอบงานวิจัยได้จริง สามารถช่วยผู้วิจัยมองเห็นปัญหางานวิจัยนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน
  3. หัวข้อเรื่องวิจัย
    “หัวข้อ” เป็นสิ่งแรกที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในงานวิจัยของคุณ ดังนั้น หัวข้อเรื่องวิจัยจะต้องมีความกระชับและชัดเจน สามารถอธิบายถึงปัญหาและสิ่งที่จะส่งผลต่องานวิจัยได้
  4. ตั้งสมมติฐาน
    “สมมติฐาน” คือ การคาดคะเนคำตอบที่ใช้สำหรับตอบคำถามของปัญหางานวิจัย ว่าควรจะเป็นไปในทิศทางใด โดยอ้างอิงจากหลักการและแนวคิดจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ศึกษา ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นมีความสอดคล้อง และสมเหตุสมผลมากน้อยเพียงใด
  5. แหล่งที่มาของข้อมูลที่ชัดเจน
    แหล่งที่มาของข้อมูลงานวิจัย หรือแหล่งอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ จะต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน มีความสอดคล้องกับเนื้อหางานวิจัย ว่างานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ข้อมูลที่ใช้ในการทำงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากพอหรือไม่ แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหน กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร มีขั้นตอนการเก็บข้อมูลอย่างไร และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด เป็นต้น
  6. สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในงานวิจัย
    การจัดเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัย จะพิจารณาจากรูปแบบของงานวิจัย และความต้องการประเภทของข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นสำคัญ โดยผู้วิจัยจะทำการกำหนดและเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยให้ได้มากที่สุด

ซึ่งก่อนนำไปใช้จริง ผู้วิจัยควรทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ว่ามีประสิทธิภาพและมีความเที่ยงตรงสำหรับใช้ในงานวิจัย โดยทดลองกับกลุ่มย่อยๆ (Pilot study) เพื่อหาข้อบกพร่อง และปัญหา และเป็นการประเมินงานวิจัยเบื้องต้นว่าจะมีคุณค่า คุ้มกับเวลา ค่าใช้จ่าย ในการใช้เครื่องมือนั้นในการทดสอบงานวิจัยหรือไม่

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
    การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เป็นขั้นตอนการลงมือปฏิบัติจริง โดยการใช้เครื่องมือที่ได้ทำการออกแบบและผ่านการทดสอบแล้ว นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริงๆ ที่ได้กำหนดไว้ในงานวิจัย
  2. การวิเคราะห์แปลผลข้อมูล
    นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง นำมาทำการจัดประเภทข้อมูล จัดหมวดหมู่ของข้อมูล เพื่อสะดวกต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์แปลผลข้อมูลและนำไปตรวจสอบสมมติฐาน ก่อนการเข้ากระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และทำการเรียบเรียงผลออกมาในรูปแบบของตาราง เพื่อใช้ในการสรุปผลในรายงานการวิจัย
  3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    สรุปเนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์แปลผล ซึ่งการสรุปตีความหมายข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

– การสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยเท่านั้น โดยไม่นำข้อคิดเห็นส่วนตัว หรือทฤษฎีจากผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบข้อสรุป คือการนำเฉพาะข้อมูลตัวเลข หรือผลการวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้นเป็นสิ่งแสดงข้อเท็จจริง โดยให้ผู้อ่าน หรือผู้ที่มีความสนใจศึกษาข้อมูลต่อเป็นผู้พิจารณาเอง

– การสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสอดแทรกความคิดเห็น คือการนำข้อเสนอแนะจากการอ้างอิงของทฤษฎี และผลการวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบเข้ากับผลของการวิเคราะห์ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งสามารถช่วยให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

  1. การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์
    การเรียบเรียงข้อมูลรายงานข้อเท็จจริงที่ค้นพบในการทำงานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ผู้วิจัยจะต้องทำการเรียบเรียงเนื้อหาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน กระชับ และรัดกุม จากนั้นทำการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา รูปแบบของงานวิจัยอีกครั้งหนึ่งก่อนทำการจัดพิมพ์ต่อไป

จาก 10 ลำดับความสำคัญในการทำงานวิจัย ที่ทางเราได้นำเสนอไปนั้น ทางเราหวังว่าจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถนำไปปรับใช้ ในการวางแผนสำหรับการทำงานวิจัยให้รอบคอบ โดยการกำหนดเวลาของการทำงานแต่ละขั้นให้ชัดเจน จัดลำดับงานความสำคัญ ในขั้นตอนที่จะต้องทำก่อน-หลังไว้ในแผนการทำงานวิจัย เป็นการตั้งเป้าหมายในการทำงานวิจัยให้ทันตามเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อให้งานวิจัยเสร็จตามกำหนดเวลาที่ต้องการ และมีคุณภาพมากที่สุด

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต