สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนวรรณกรรม คือ การสรุปโดยย่อ วิเคราะห์ และเรียบเรียงผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ที่คุณต้องการทำวิจัยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นจะทำให้เกิดความเข้าใจในหัวข้อที่คุณต้องการทำวิจัยมากขึ้น และทราบถึงผลการวิจัยที่ผู้รู้ทางสาขานี้ได้เคยทำไว้ก่อนแล้ว จุดประสงค์หลักคือการหาช่องว่างความรู้ในสาขาเฉพาะของคุณ จะเป็นการเปล่าประโยชน์ ถ้าจะทำวิจัยในสิ่งที่เป็นที่ประจักษ์ในวงการของคุณอยู่แล้วถึงผลของการวิจัยนั้นๆ แก่นของการทำวิจัยคือการค้นคว้าหาคำตอบของคำถามที่ไม่เคยมีผู้ใดค้นพบ โดยเฉพาะผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจำเป็นจะต้องทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างรอบคอบ เพราะหัวข้อของคุณต้องเป็นการวิจัยที่ไม่มีผู้ใดเคยทำมาก่อน อีกทั้งต้องอธิบายว่าสาขาความรู้นั้นๆจะได้ประโยชน์อย่างไรจากผลวิจัยที่กำลังจะปฏิบัติ ตามหลักการแล้ว Literature Review คือการค้นหา สรุปย่อ และวิเคราะห์ผลการวิจัยของผู้อื่นที่เคยได้ทำวิจัยและถูกตีพิมพ์ในหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ของเรา สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กำหนดปัญหา ในกำหนดขอบเขตของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนให้รู้ว่าต้องการศึกษาในประเด็นอะไรบ้างเพื่อการค้นหาเอกสารต่างๆจะได้แคบลง ค้นหาแหล่งข้อมูล ดูว่ามีแหล่งข้อมูลและสารสนเทศใดบ้างที่เกี่ยวข้องเช่นหนังสือตำราวารสารวิทยานิพนธ์งานวิจัยและแหล่งข้อมูลอื่นๆ เลือกวรรณกรรมที่จะศึกษา เลือกเฉพาะวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ทำการศึกษาวิจัยควรเลือกวรรณกรรมใหม่ๆเพื่อไม่ให้ข้อมูลล้าสมัยแต่ไม่ควรละเลยงานเก่าที่เป็นงานคลาสสิกของแต่ละสาขาโดยเฉพาะการวิจัยที่ใช้วิธีการวิเคราะห์อภิมานจะมีประโยชน์มากการวิเคราะห์อภิมานเป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลแต่ละชิ้นด้วยว่ามีความถูกต้องน่าเชื่อถือเพียงใด การอ่านวรรณกรรม ผู้วิจัยไม่ควรอ่านเฉพาะบทคัดย่อบทสรุปหรือบทนำเท่านั้นแต่ควรอ่านวรรณกรรมทั้งหมดเพื่อให้เข้าใจชัดเจนจดรายละเอียดของการศึกษาแต่ละเรื่องทางวิธีการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทฤษฎีข้อค้นพบรวมทั้งตัวบรรณานุกรมที่ผู้วิจัยใช้อ้างอิงด้วยบรรณานุกรมอาจให้ตัวอย่างงานอื่นๆที่น่าสนใจ จำนวนวรรณกรรม ไม่มีข้อกำหนดว่าผู้วิจัยจะต้องทบทวนวรรณกรรมกี่เรื่องการวิจัยที่เสนอในรูปของบทความอาจทบทวนวรรณกรรมที่สำคัญไม่กี่เรื่องในขณะที่งานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์อาจต้องทบทวนวรรณกรรมอย่างน้อย 50 เรื่อง การเขียนรายงานทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยจะต้องเสนอผลของการทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยของผู้วิจัยเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงความก้าวหน้าและประเด็นที่สำคัญในเรื่องที่ทำการศึกษาวิจัยการทบทวนวรรณกรรมจะต้องอธิบายและสังเคราะห์งานของผู้อื่นได้อย่างเป็นระบบ การรวบรวบบรรณานุกรม ผู้วิจัยควรทำบรรณานุกรมของงานวิจัยแต่ละเรื่องไปพร้อมกับการอ่านงานวิจัยนั้นการกลับมาทำบรรณานุกรมภายหลังจึงปัญหามากเช่นหางานชิ้นนั้นไม่พบหรือจำไม่ได้ว่าข้อความที่อ้างอิงนำมาจากส่วนใดหรือจากงานชิ้นใดบ้างเป็นต้น
Work from home สิจ๊ะ ชีวิตปลอดภัย
“ Work from home สิจ๊ะ ชีวิตปลอดภัย”ห่างกันคราวนี้เรารวมแอพพลิเคชันสำหรับทำงานที่บ้านซึ่งสามารถจัดประชุม เรียนoline สอนonline และจัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย บอกเลยว่าครั้งนี้เราต้องรอด!! Google Hangoutsเป็นแอพสำหรับแชทและสามารถใช้งานในรูปแบบ VDO Call ได้ ประชุมออนไลน์ได้อย่างสะดวก สามารถครีเอทกรุ๊ป และดึงผู้ที่เกี่ยวข้องมาเข้าร่วมสื่อสารได้หลายคน ผู้ร่วมประชุมสามารถแชร์เอกสาร Google Drive, Google Docs หรือหน้าจอที่ตนเองกำลังเปิดใช้งานอยู่ให้คนในทีมได้ ZOOMสามารถเชื่อมต่อกับเพื่อนร่วมงานในทุกสถานที่ทุกเวลา หรือจะร่วมประชุมออนไลน์แบบเห็นหน้าตาก็ได้ มีฟังก์ชั่นการแชร์ภาพหน้าจอแบบคุณภาพสูง รวมถึงระบบการส่งข้อความหากันระหว่างเพื่อนร่วมงาน แชร์ภาพหน้าจอ รูปภาพ หน้าเว็บ ไฟล์ใน Google Drive ไฟล์ใน Dropbox ไฟล์ใน Box ได้ เข้าร่วมประชุมได้ทั้งในรูปแบบที่เรามีการพูดคุยโต้ตอบ หรือจะเข้าร่วมในฐานะผู้รับชมก็ได้ โดยรองรับผู้เข้าร่วมมากถึง 100 คน Skypeประกาศเพิ่มจำนวนผู้ใช้เวลาสนทนาแบบกลุ่ม เพิ่มขึ้นจากเดิมสูงสุดต่อครั้ง 25 คน เป็น 50 คน Skype จะแสดงกล่องวิดีโอของทุกคน และสามารถเลือกดูเป็นคน […]
เทคนิคในการสุ่มตัวอย่าง
การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ได้อาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) ในบางครั้งการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดย อาศัยความน่าจะเป็น โดยวิธีการสุ่มอาจจะไม่สามารถทำได้หรือทำได้ยาก การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นจึงถูกนำมาใช้ซึ่งการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบนี้จะมีลักษณะเป็นอัตวิสัย (subjective) ซึ่งมักจะทำให้การประมาณค่าพารามิเตอร์ขาดความแม่นยำ ดังนั้นในการเลือกกลลุ่มตัวอย่างแบบนี้มักจะใช้เมื่อไม่ต้องการอ้างอิงถึง ลักษณะประชากร ส่วนใหญ่จะใช้กับงานวิจัยสำรวจข้อเท็จจริง (Exploration research) กับกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะและไม่ต้องการเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลทางด้านค่าใช้จ่ายและเวลา เพราะการเลือกตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าเป็นจะมีค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยกว่า อาศัยความน่าจะเป็น การสุ่มโดยบังเอิญ (Accidental sampling) เป็นการสุ่มจากสมาชิกของประชากรเป้าหมายที่เป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ครบถ้วน การสุ่มโดยวิธีนี้ไม่สามารถรับประกันความแม่นยำได้ ซึ่งการเลือกวิธีนี้เป็นวิธีที่ด้อยที่สุด เพราะเป็นการเลือกตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับนิยามของประชากรที่สามารถ พบได้และใช้เป็นอย่างได้ทันที การสุ่มแบบโควตา (Quota sampling) เป็นการสุมตัวอย่างโดยจำแนกประชากรออกเป็นส่วนๆก่อน (strata)โดยมีหลักจำแนกว่าตัวแปรที่ใช้ในการจำแนกนั้นควรจะมีความสัมพันธ์ กับตัวแปรที่จะรวบรวม หรือตัวแปรที่สนใจ และสมาชิกที่อยู่แต่ละส่วนมีความเป็นเอกพันธ์ ในการสุ่มแบบโควตา นี้มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ พิจารณาตัวแปรที่สัมพันธ์กับลักษณะของประชากรที่คำถามการวิจัยต้องการที่จะ ศึกษา เช่น เพศ ระดับการศึกษา พิจารณาขนาดของแต่ละส่วน(segment)ของประชากรตามตามตัวแปร คำนวณค่าอัตราส่วนของแต่ละส่วนของประชากร กำหนดเป็นโควตาของตัวอย่างแต่ละกลุ่มที่จะเลือก เลือกตัวอย่างในแต่ละส่วนของประชากรให้ได้จำนวนตามโควตา การสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) หรือบางครั้งเรียกว่าการสุ่มแบบพิจารณา (judgment sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ดุลพินิจของผู้วิจัยในการกำหนดสมาชิกของประชากร ที่จะมาเป็นสมาชิกในกลุ่มตัวอย่าง ว่ามีลักษณะสอดคล้องหรือเป็นตัวแทนที่จะศึกษาหรือไม่ ข้อจำกัดของการสุ่มตัวอย่างแบบนี้คือไม่สามารถระบุได้ว่าตัวอย่างที่เลือก […]
การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์
การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการหลังจากที่นิสิต นักศึกษาได้เขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์เสนออาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษาปรับปรุงแก้ไขตามข้อชี้แนะของอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์จนเป็นที่พอใจจึงดำเนินการขอสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ (Defense Thesis)ต่อไป เพื่อให้การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)สัมฤทธิ์ผลอย่างดี ควรทำสรุปสาระสำคัญของเค้าโครงวิทยานิพนธ์และปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) ข้อปฏิบัติในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) 1. ก่อนสอบ นิสติ นักศึกษาตั้งสติให้ดี ถ้านิสิต นักศึกษาทำงานด้วยความซื่อสัตย์และเอาใจใส่มาตลอด ก็ไม่มีอะไรน่าหนักใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่ส่งในครั้งนี้เป็นเล่มเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่สมบูรณ์ นิสิต นักศึกษาต้องเตรียมใจในการแก้ไขงานอีกครั้งหนึ่ง โดยยึดคำวิพากษ์และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) เป็นหลัก นิสิต นักศึกษา ไม่ควรตื่นเต้นมากเกินไป ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่าเครียด อาจทำอะไรเป็นการผ่อนคลายบ้าง และเข้านอนหัวค่ำ เพื่อตื่นแต่เช้าในวันรุ่งขึ้นและเดินทางสู่ห้องสอบด้วยความแจ่มใส 2. ในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) นิสิต นักศึกษาควรมาถึงห้องสอบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาที และตรวจดูความเรียบร้อย เช่น เครื่องดื่มหรืออาหารว่างมีหรือไม่ ดูสภาพห้องสอบว่าที่นั่งของตนและที่นั่งของคณะกรรมการอยู่ตรงไหน นิสิต นักศึกษาควรใช้เวลาช่วงนี้ติดตั้งอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอข้อมูล อาจเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือการเตรียมเปิดไฟล์หรือสไลด์ในการนำเสนอ 3. ก่อนขึ้นสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์ นิสิต นักศึกษาควรทำสรุปสาระสำคัญ ลงในกระดาษแผ่นเดียว ให้ครอบคลุมสาระสำคัญของการวิจัยทั้งหมด อาจใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) หรือผังมโนทัศน์ (Concept Map) ในการสรุปสาระสำคัญของการวิจัยหรืออาจใช้คำย่อ สัญลักษณ์ […]
แนวทางการออกแบบการวิจัยและพัฒนา
วิจัย แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ วิจัยพื้นฐาน (Basic research) และวิจัยประยุกต์ (Applied research) โดยที่วิจัยและพัฒนาหรือที่พูดย่อๆว่า R&D เป็นหนึ่งในวิจัยประยุกต์ ซึ่งแนวคิดในการทำวิจัย R&D มีมาประมาณ 50 กว่าปีที่แล้ว แต่เป็นการศึกษาในวงการอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพสินค้า การผลิตภัณฑ์ใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ หรือพัฒนากระบวนการ ระบบหรือวิธีการทำงาน เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม ก่อนที่จะนำผลิภัณฑ์ออกสู่ตลาด นักการศึกษาบางกลุ่มจัดวิจัย R&D เป็นลักษณะหนึ่งของวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ปัจจุบันการวิจัย R&D ได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยมากขึ้น โดยเชื่อว่า การวิจัยและพัฒนาจะช่วยให้ได้ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ วงการศึกษาก็ได้มีการนำการวิจัย R&D มาใช้ในการพัฒนารูปแบบ วิธีการสอน กิจกรรมการสอน สื่อการสอน และนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ลักษณะของวิจัย R&D เป็นวิจัยเชิงประยุกต์ที่มุ่งนำผลวิจัยไปพัฒนา มีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีกระบวนการที่ต่อเนื่อง มีแบบแผนการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แต่ส่วนใหญ่เป็นวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลอง มีการตรวจสอบประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของสิ่งที่พัฒนาขึ้นมา และมีการเผยแพร่ การวิจัยและพัฒนามีขั้นตอนที่สำคัญ […]
วิธีใช้แอพZOOMประชุมออนไลน์สำหรับชาวWork From Home
“Work From Home” วลีฮิตในช่วงนี้ และสิ่งที่จะทำให้การทำงานจากบ้านง่ายขึ้นคงจะต้องเป็นapplication สุดฮิตนั่นก็คือโปรแกรม ZOOM นั่นเอง ซึ่งแอพนี้เป็นการประชุมออนไลน์ ประชุมทางไกล Video Conference เป็นการติดต่อสื่อสารช่องทางหนึ่งที่มีความสะดวกและรวดเร็วมาก ไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลกก็สามารถติดต่อประสานงานกันได้ เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต โดยโปรแกรม Zoom เป็นapplicationที่ออกแบบมาสำหรับการประชุม การคุยงาน การเรียนการสอน ติวเตอร์ การอบรมสัมมนาแบบออนไลน์โดยเฉพาะ วันนี้เรามีวิธีใช้มาฝากกันค่ะ การสร้างห้องประชุม ZOOM เริ่มต้นการใช้งาน เมื่อเปิดแอพขึ้นมาครั้งแรก ก็ให้ลงชื่อเข้าใช้ก่อน จะสร้างบัญชีใหม่สำหรับ Zoom โดยเฉพาะเลยก็ได้ หรือจะใช้บัญชีเดียวกับ Google / Facebook ก็ได้เช่นกัน สำหรับคนที่ต้องการเป็นหัวหน้าห้องประชุม สามารถกด New Meeting เพื่อสร้างห้องขึ้นมาใหม่และแชร์Linkไปให้ผู้ร่วมประชุม เพื่อทำการ Join Meeting สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม กด Join Meeting และใส่หมายเลขห้องประชุม หรือใส่Link เพื่อทำการรวมประชุม เริ่มประชุมได้ค่ะ โดยแอพนี้สามารถรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ถึง 100 คน […]
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในงานวิจัย
สถิติมี 2 ประเภท คือ 1. สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปข้อมูลที่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่มีการอ้างอิงไปยังประชากร แต่เป็นการบรรยายลักษณะข้อมูลเท่านั้น เช่น การแจกแจงความถี่ (frequency distribution) การวัดแนวโน้มเข้าสู้ส่วนกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล ฯลฯ การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาจะอยู่ในรูปตาราง (table) และแผนภูมิ (Chart) ชนิดต่างๆ 2. สถิติอ้างอิง (Inferential statistics) หรือสถิติอนุมาน เป็นสถิติที่ใช้เพื่อนำผลสรุปที่คำนวณได้จากการสุ่มตัวอย่าง ไปอธิบายหรือสรุปลักษณะของประชากรทั้งหมด วิธีที่ใช้ในการสรุปอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรนั้น คือ การประมาณค่า (Estimation) และการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis testing) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (analysis of variance) การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์ (regression and correlation analysis) สถิติอ้างอิงจำแนกเป็น 2 ชนิดคือ แบบอ้างอิงพารามิเตอร์ (Parametric statistics) (ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test, z-test, ANOVA, regression […]
เทคนิคการตั้งคำถามในแบบสอบถาม
หากคุณเคยทำวิจัย คุณจะรู้ว่าการออกแบบสอบถามเป็นหนึ่งจากหลาย ๆ ส่วนที่ยาก และเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการวิจัยตลาด ซึ่งองค์ประกอบของแบบสอบถามจะแตกต่างกันไป ดังนั้นเมื่อคุณต้องสร้างแบบสอบถามอาจจะต้องลำบากไปสักนิด วันนี้เราจะมาลดความยากเหล่านั้นได้ด้วย 7 ขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยคุณเมื่อออกแบบสอบถาม1. การพิจารณาหัวข้อของปัญหาที่ต้องการศึกษาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อให้ทราบว่าต้องการข้อมูลเกี่ยวข้องกับอะไร นอกขากนี้วัตถุประสงค์ของการวิจัยจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของข้อมูลได้ว่าจะต้องเก็บข้อมูลอะไรบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา2. ศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยจะได้ตั้งคำถามรอบคอบยิ่งขึ้น และผู้ศึกษาวิจัยจะได้จับประเด็นสำคัญๆ ได้ครบทุกหัวข้อ 3. ร่างแบบสอบถาม โดยเขียนข้อคำถามต่างๆ ให้สอดคล้องกับสิ่งต้องการศึกษาหาคำตอบและคาดด้วยว่าคำตอบเหล่านั้นจะสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพียงใด อาจใช้เป็นคำถามปลายปิดหรือปลายเปิดก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม จากนั้นเรียงลำดับคำถาม อาจเรียงตามหมวดหมู่ของคำถาม เช่น คำถามเกี่ยวกับทัศนคติ ข้อมูลสวนตัว หรือเรียงจากความยากง่าย เช่นให้เรียงจากข้อคำถามง่ายๆ ไปหายาก ถามข้อมูลทั่วๆไป แล้วต่อต่อด้วยคำถามที่ต้องการข้อมูลเจาะลึก เป็นต้น 4. ตรวจสอบและปรับปรุงร่างแบบสอบถาม เป็นการหาข้อบกพร่องของแบบสอบถาม อาจทำได้ 2 วิธี คือ การตรวจสอบโดยผู้ศึกษาวิจัยเองอีกครั้ง เพื่อพิจารณาถึงถ้อยคำและประโยคว่าชัดเจนหรือไม่ และดูการจัดเรียงข้อคำถามว่าเหมาะสมหรือยัง การตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อขอคำแนะนำและคำวิจารณ์สำหรับแนวทางในการปรับปรุงแบบสอบถามให้ความน่าเชื่อถือมากที่สุด รวมทั้งการพิจารณาเกี่ยวกับความเที่ยงตรง ของแบบสอบถามด้วย 5. การทดสอบแบบสอบถาม หรืออาจเรียกว่า pre-test เป็นการนำแบบสอบถามไปสอบถามกับกลุ่มประชากรเพียงบางส่วน (โดยทั่วไปประมาณ 20 ชุด) เพื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของข้อบกพร่องบางประการของผู้ตอบแบบสอบถาม และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปหาคุณภาพของแบบสอบถาม และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ไปหาคุณภาพของแบบสอบถาม เพื่อปรับปรุงแบบสอบถาม […]
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
สิ่งที่ผู้วิจัยจำเป็นต้องใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาคำตอบเพื่อทดสอบสมมุติฐาน ซึ่งการที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง จึงต้องเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ สามารถจำแนกลักษณะที่วัดได้ โดยลักษณะของเครื่องมือวัดที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. มีความเที่ยงตรง (Validity) คือเป็นเครื่องมือที่สามารถSW วัดในสิ่งที่ต้องการจะวัดหรือสามารถวัดได้ตรงตามจุดประสงค์ของการวัด โดยความเที่ยงตรงในการวัดแบ่งออกได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวัด คือ ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา, ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง และความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์ 2. มีความเชื่อถือได้ (Reliability) ความเชื่อถือได้ของเครื่องมือวัดนั้น หมายถึง เป็นเครื่องมือวัดที่สามารถวัดได้คงที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงไปมา ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็จะได้ข้อมูลที่ตรงกันเสมอ 3. มีอำนาจจำแนก (Discrimination) เครื่องมือที่ดีจะต้องมีอำนาจจำแนกสูง ซึ่งหมายถึง สามารถแยกหรือแบ่งกลุ่มผู้ตอบออกเป็นระดับต่างๆ ได้ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่ถูกวัด 4. มีประสิทธิภาพ (Efficiency) เครื่องมือวัดที่ดีจะต้องมีประสิทธิภาพ นั่นคือ จะต้องเป็นเครื่องมือที่วัดได้เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ นอกจากนั้นจะต้องเป็นเครื่องมือที่สามารถอำนวยประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า โดยที่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการวัดน้อย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยที่แตกต่างกันออกไป เครื่องมือที่นิยมใช้และเป็นที่รู้จักกัน มีดังนี้ แบบทดสอบ (Test) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความรู้หรือระดับสติปัญญา ความถนัดและการเรียนรู้งาน หรือใช้วัดความสามารถทางด้านการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งแบบทดสอบนี้ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ 1. แบบทดสอบความเรียง (Essay test) […]
การวิจัยเชิงปริมาณ
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงโดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณจะพยายามออกแบบวิธีการวิจัย ให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษา ต้องจัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์และประมวลข้อสรุป เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด การวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ การอธิบายเน้นการนำเสนอเชิงตัวเลขทางสถิติ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีหรือสร้างทฤษฎี และให้ความหมายในเชิงวิชาการมากกว่าการศึกษาแง่มุมของชาวบ้าน ขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย การเลือกหัวข้อเรื่องการวิจัย (Research Topic)ในขั้นตอนแรกผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าจะวิจัยเรื่องอะไร แล้วกำหนดเป็นหัวเรื่องที่จะวิจัย การกำหนดปัญหาในการวิจัย (Formulating the Research Problem)เป็นการตั้งปัญหาในเรื่องที่ต้องการวิจัย เพื่อหาคำตอบ หรือเป็นการแจกแจงวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยต้องกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน และเป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ สำรวจทบทวนวรรณกรรม (Extensive Literature Survey)เป็นการทบทวนเอกสารแนวคิดทางทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่ต้องการศึกษาเพื่อหาแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และสำรวจให้แน่ใจว่าไม่วิจัยซ้ำกับผู้อื่น ทั้งนี้การวิจัยควรเน้นการเสริมสร้างให้เกิดความรู้ใหม่ การตั้งสมมุติฐานการวิจัย (Formulating Hypothesis)คาดคะเนแนวคิดเพื่อตอบคำถามของปัญหาในการวิจัย หาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่จะศึกษาไว้ก่อน จากนั้นจึงเก็บข้อมูลเพื่อมาพิสูจน์สมมุติ การออกแบบการวิจัย (Research Design)เป็นการวางแผนกำหนดวิธีการในการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาในการวิจัย เช่นการเก็บข้อมูล การเลือกเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการวิจัยบุคลากรและงบประมาณที่จะใช้ การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)เป็นการวางแผนว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร จะใช้ข้อมูลปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ และถ้าเป็นข้อมูลทุติยภูมิควรจะเก็บอย่างไร การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลทุติยภูมิจะใช้ข้อมูลจากแหล่งใด การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะนำมาบรรณาธิการความถูกต้อง (การตรวจสอบความถูกต้อง) และความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อน จึงทำการประเมินผลและวิเคราะห์ผลที่ได้และพิสูจน์กับสมมติบานที่ตั้งไว้ การจัดทำรายงานผลและเผยแพร่ (Research Report)เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยต้องเขียนรายงานเพื่อให้ผู้อื่นทราบถึงกิจกรรมที่ดำเนินในขั้นตอนต่างๆและสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานตามรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัย และเขียนด้วยความซื่อสัตย์ในสิ่งที่ค้นพบ การตั้งสมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณจะเหมาะสมกับการทดสอบทฤษฎีด้วยวิธีการแบบอุปนัย (Deductive) แนวปฎิฐานนิยมเป็นหลักการทดสอบความแม่นตรงของข้อมูล (Validity) ความเชื่อถือได้ของข้อมูล (Reliability) ใช้การเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมากด้วยแบบสอบถาม คำถามในแบบสอบถามจึงจำเป็นต้องมีความชัดเจน ที่มา : ขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณ