การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

Screenshot 2563-04-10 at 12.47.45.png

 การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการหลังจากที่นิสิต นักศึกษาได้เขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์เสนออาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษาปรับปรุงแก้ไขตามข้อชี้แนะของอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์จนเป็นที่พอใจจึงดำเนินการขอสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ (Defense Thesis)ต่อไป เพื่อให้การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)สัมฤทธิ์ผลอย่างดี  ควรทำสรุปสาระสำคัญของเค้าโครงวิทยานิพนธ์และปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)

 ข้อปฏิบัติในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)
 1.  ก่อนสอบ นิสติ นักศึกษาตั้งสติให้ดี ถ้านิสิต  นักศึกษาทำงานด้วยความซื่อสัตย์และเอาใจใส่มาตลอด ก็ไม่มีอะไรน่าหนักใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่ส่งในครั้งนี้เป็นเล่มเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่สมบูรณ์   นิสิต นักศึกษาต้องเตรียมใจในการแก้ไขงานอีกครั้งหนึ่ง โดยยึดคำวิพากษ์และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) เป็นหลัก นิสิต นักศึกษา ไม่ควรตื่นเต้นมากเกินไป ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่าเครียด อาจทำอะไรเป็นการผ่อนคลายบ้าง และเข้านอนหัวค่ำ เพื่อตื่นแต่เช้าในวันรุ่งขึ้นและเดินทางสู่ห้องสอบด้วยความแจ่มใส
 2.  ในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) นิสิต นักศึกษาควรมาถึงห้องสอบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาที และตรวจดูความเรียบร้อย  เช่น เครื่องดื่มหรืออาหารว่างมีหรือไม่ ดูสภาพห้องสอบว่าที่นั่งของตนและที่นั่งของคณะกรรมการอยู่ตรงไหน  นิสิต  นักศึกษาควรใช้เวลาช่วงนี้ติดตั้งอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอข้อมูล อาจเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือการเตรียมเปิดไฟล์หรือสไลด์ในการนำเสนอ
  3.  ก่อนขึ้นสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  นิสิต  นักศึกษาควรทำสรุปสาระสำคัญ    ลงในกระดาษแผ่นเดียว   ให้ครอบคลุมสาระสำคัญของการวิจัยทั้งหมด อาจใช้แผนผังความคิด  (Mind Mapping) หรือผังมโนทัศน์ (Concept Map) ในการสรุปสาระสำคัญของการวิจัยหรืออาจใช้คำย่อ สัญลักษณ์ และตารางช่วยให้สรุปอย่างเป็นระบบตามความจำเป็นได้ ส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่วิจัยอย่างชัดเจน สามารถนำไปดูแล้วอธิบายการวิจัยได้อย่างกระชับและครบถ้วนโดยไม่ต้องเปิดอ่านในเล่มเค้าโครงวิทยานิพนธ์ 
  4.  ในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  นิสิต  นักศึกษาควรมีการตรวจสอบหัวข้อทุกข้ออย่างละเอียด  ชัดเจน  รอบคอบ  รัดกุมในทุกส่วน (โดยทั่วไปมักประกอบไปด้วย  ภูมิหลัง  ความเป็นมาของการวิจัย  ความมุ่งหมาย  สมมติฐาน  (ถ้ามี)  ขอบเขต  นิยามศัพท์เฉพาะ  แนวคิด  ทฤษฎี  และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  วิธีดำเนินการวิจัย  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล )  ซึ่งจะเป็นประโยชน์มาก  เพราะเค้าโครงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตาม  เป็นการป้องกันปัญหาต่าง ๆ  ที่จะตามมา 
  5.  นิสิต  นักศึกษา ส่วนใหญ่ เตรียมตัวมายังไม่ดีพอ  เค้าโครงวิทยานิพนธ์มีความบกพร่องหลายแห่ง  การนำเสนอไม่น่าสนใจ  บางคนเสนอโดยการอ่านจากเอกสารที่เตรียมมาก  การตอบคำถามบางครั้งไม่ตรงประเด็นหรือตอบไม่ได้  โดยเฉพาะในคำตอบที่เป็นการประเมินความรู้  ความเข้าใจในวิธีการ  หลักการ  ทั้งนี้เนื่องจากขาดความรอบรู้อย่างแท้จริง  เตรียมตัวมาน้อย  ดังนั้นเพื่อตัดข้อบกพร่องดังกล่าว นิสิต  นักศึกษาจะต้องเตรียมพร้อมในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)  โดยเตรียมการนำเสนอให้กระชับ  รัดกุม  เข้าใจง่าย  น่าสนใจ  ด้วยความคล่องแคล่วถูกต้องแม่นยำ  รวมทั้งเตรียมตอบคำถามต่าง ๆ  ที่แสดงถึงการมีความรอบรู้ในเรื่องที่ทำวิทยานิพนธ์  เช่น เตรียมตัวก่อนสอบ  10 วัน เป็นต้น และควรซักซ้อมด้วยตนเองให้คล่องโดยเฉพาะถ้าได้ซักซ้อมกับอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ในส่วนสำคัญจะช่วยได้มาก
  6.  ด้านกรรมการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  โดยทั่วไปประกอบด้วยอาจารย์ควบคุมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการจากภายนอก  กรรมการจากภายนอกอาจมีจำนวนเท่ากันกับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือมากกว่า    
 7.  พิธีการสอบก็จะเริ่มโดยที่ท่านประธานจะให้ นิสิต  นักศึกษานำเสนองานวิจัย ขอให้ นิสิต  นักศึกษาคิดว่า การสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์เป็นเหมือนการนำเสนอบทความทางวิชาการในที่ประชุมครั้งใหญ่ ถ้าเป็นไปได้  ไม่ควรอ่านจากใช้โน้ตย่อ ควรนำเสนอจากความเข้าใจ ซึ่งไม่น่าจะยาก เนื่องจากเป็นงานของ  นิสิต  นักศึกษาเอง

ขั้นตอนทั่วไปการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  

แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน  ดังนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง  เมื่อคณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์มาครบ ท่านประธานคุมสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ก็จะให้  นิสิต  นักศึกษารายงานเค้าโครงวิทยานิพนธ์  อาจให้กล่าวเฉพาะประเด็นที่สำคัญ  เช่น  เหตุผลที่เลือกทำการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้น  ความมุ่งหมายของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย (ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล) ในขั้นตอนนี้นิสิตนักศึกษาอาจนำเสนอโดยใช้สื่อต่าง ๆ  เช่น  แผ่นใส  Power Point   เป็นต้น  การใช้สื่อต่าง ๆ  จะช่วยให้รายงานได้ดี   มีความน่าสนใจ   ในการเตรียมสื่อผู้วิจัยได้มีโอกาสคิดวิธีนำเสนอ  ได้สรุปเนื้อหาสาระที่สำคัญเพื่อนำเสนอ  ช่วยในการจดจำสาระดังกล่าว  และต้องเตรียมแผนสำรองกรณีที่มีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้  เช่น  ไฟฟ้าดับ  เป็นต้น  ข้อสำคัญคือต้องทำการซักซ้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ  ตรวจสอบการใช้งานจนมั่นใจก่อนถึงเวลาสอบ
ขั้นตอนที่สอง  หลังนิสิต นักศึกษารายงานเค้าโครงวิทยานิพนธ์  กรรมการสอบจะซักถามข้อสงสัย  สอบถามเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ทำวิทยานิพนธ์  แม้กระทั่งการทักท้วงโต้แย้งในประเด็นต่าง ๆ  ที่อาจเป็นข้อผิดพลาดของรายงานการวิจัยเพื่อให้มีการแก้ไขให้ถูกต้อง  ซึ่งนิสิต  นักศึกษาต้องแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ว่าตนมีความพร้อมที่จะทำเรื่องนี้  ตอบโดยแสดงความรู้อย่างชัดถ้อยชัดคำ รวมทั้ง แสดงความคิดเห็นด้วยความมั่นใจ อย่างไรก็ตาม นิสิต  นักศึกษาต้องอ่อนน้อม อ่อนโยน และเคารพกรรมการสอบปกป้อง ถ้าไม่ เข้าใจหรือได้ยินคำถามถูกต้องหรือไม่ สามารถขอให้อาจารย์สอบถามอีกครั้งได้
  คำถามในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ  กรรมการมักจะถามนิสิต  นักศึกษา  ที่ทำวิทยานิพนธ์  มีดังนี้
   –   ทำไมนิสิต ถึงทำเรื่องนี้ ได้ประโยชน์ในด้านใดบ้างหรือได้ประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
   – ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นใคร ที่ไหน อย่างไร วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ได้มาอย่างไร ทำไมถึงเลือกวิธีการนี้
   – เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
   – สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
   – ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย มีอะไรบ้าง
   – เรื่องที่ทำ คิดว่าจะดำเนินการเสร็จหรือไม่ อย่างไร
ขั้นตอนที่สาม  กรรมการสอบพิจารณาประเมินผลการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์หลังจากการตอบคำถามเสร็จสิ้นแล้ว ประธานกรรมการจะพิจารณาการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่เพิ่งสอบเสร็จไป ปกติแล้วในระดับปริญญาโทหรือเอก อาจารย์จะให้ นิสิต นักศึกษาสอบผ่าน  อาจต้องมีการแก้ไขงานบ้างจะมากหรือน้อยแตกต่างกันไป หลังจากทราบผลการสอบแล้ว ควรกล่าวขอบคุณกรรมการคุมสอบ และควรเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาทันที เพื่อปรึกษาเรื่องการแก้ไขเค้าโครงวิทยานิพนธ์และดำเนินขั้นตอนต่อไป  ส่วนกรณีสอบไม่ผ่าน คือ นิสิต นักศึกษาไม่รู้เรื่องจริง ๆ ตอบคำถามไม่ได้  คณะกรรมการก็จะเห็นควรให้นิสิต นักศึกษาสอบใหม่อีกครั้ง  ส่วนมากมีน้อยมากหรือไม่มีเลยก็ว่าได้

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต