15 เทคนิค พัฒนาความคิดสร้างสรรค์

ใครๆก็อยากมีความคิดสร้างสรรค์กันทั้งนั้น เพราะความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถที่จะประมวล ข้อมูลผ่านทักษะการคิด เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผลในแนวทางใหม่ๆ อย่างหลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด มันไม่ใช่ทักษะที่มีจำกัดเฉพาะเหล่าศิลปิน นักดนตรี หรือนักเขียน แต่เป็นทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนทุกสาขาอาชีพ

และคุณก็สามารถพัฒนาทักษะนี้ให้ตนเองได้เช่นกัน ลองนำ 15 เทคนิคต่อไปนี้ไปปฏิบัติ แล้วคุณจะกลายเป็น บุคคลใหม่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังความคิดสร้างสรรค์

1. ตั้งเป้าหมาย

ขั้นตอนแรกคือ มีความตั้งใจที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง มีเป้าหมายที่แน่วแน่ พร้อมขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น และแบ่งเวลาในแต่ละวันเพื่อพัฒนาทักษะและทุ่มเทให้กับงานสร้างสรรค์ที่คุณสนใจ เพราะคุณไม่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีเวลาให้กับมัน

2. ให้รางวัลความอยากรู้อยากเห็น

อุปสรรคอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คือ การเข้าใจว่า ความอยากรู้อยากเห็นเป็นเรื่องการทำตามใจตัวเอง แต่แทนที่จะตำหนิตัวเองเมื่อคุณอยากรู้อยากเห็นในบางเรื่อง คุณควรให้รางวัลตัวเองมากกว่า ลองให้โอกาสตัวคุณเองในการแสวงหาความคิดเห็นใหม่ๆ

3. เต็มใจรับความเสี่ยง

ในการเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ คุณต้องยอมรับความเสี่ยงให้ได้ เพื่อพัฒนาความสามารถให้ก้าวหน้า แม้ว่าไม่อาจทำสำเร็จได้ทุกครั้ง แต่อย่างน้อย ก็ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างทักษะที่จะนำไปใช้ได้ในอนาคต

4. สร้างความมั่นใจให้ตัวเอง

ความไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง อาจทำลายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมการสร้างความมั่นใจให้ตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ จงชื่นชมความเพียรพยายาม และอย่าลืมให้รางวัลตนเองเมื่อทำสำเร็จ เพราะการให้รางวัลตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ มันเป็นการพัฒนาแรงจูงใจภายในตัวเอง

5. ขจัดทัศนคติด้านลบ

มีการวิจัยที่ระบุว่า ความรู้สึกนึกคิดด้านบวกสามารถ เพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ได้ ถ้าคุณกำลังทำงานที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มหรือระดมความคิดละก็ ต้องสร้างบรรยากาศโดยรอบให้รื่นรมย์ เน้นการขจัดความคิดด้านลบหรือการตำหนิตัวเอง ซึ่งอาจทำให้ความสามารถที่จะพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ให้แข็งแกร่งนั้น ลดน้อยถอยลง

6. สู้กับความกลัวการล้มเหลว

ความกลัวว่าจะทำผิดหรือล้มเหลว อาจทำให้การพัฒนาทักษะหยุดชะงักได้ เมื่อใดก็ตามที่คุณตกอยู่ในห้วงความรู้สึกเช่นนี้ ให้เตือนตัวเองว่า ความผิดพลาดทั้งหลายเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ แม้ว่าจะเจออุปสรรคเป็นครั้งคราว แต่ในที่สุด.. คุณก็จะไปถึงจุดหมายที่วางไว้

7. หาวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลาย

ครั้งต่อไปเมื่อต้องเผชิญกับปัญหา ต้องมองปัญหาอย่างทะลุปรุโปร่ง และลองมองหาวิธีแก้ไขที่หลากหลาย แทนที่จะทำตามความคิดแรกที่ผุดขึ้นในสมอง จงใช้เวลาคิดถึงหนทางอื่นๆที่อาจแก้ปัญหาได้ การทำเช่นนี้จะช่วยสร้างทักษะการแก้ไขปัญหาและความคิดสร้างสรรค์

8. ระดมสมอง

การระดมสมอง เป็นเทคนิคทั่วไปที่ใช้ในแวดวงวิชาการและอาชีพ และยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย จงเริ่มด้วยการหยุดตัดสินและวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง จดบันทึกข้อคิดและวิธีแก้ปัญหาต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะระดมความคิดให้มาก ที่สุดเท่าที่จะทำได้ในช่วงเวลาสั้นๆ แล้วกลั่นกรองเพื่อให้ได้แนวคิดที่ดีที่สุด

9. จดบันทึก

จดบันทึกเพื่อดูความคืบหน้าของสิ่งที่ทำและติดตามผล การจดบันทึกเป็นหนทางที่ดีที่ช่วยสะท้อนสิ่งที่คุณทำได้สำเร็จ และยังเป็นการมองหาลู่ทางที่เป็นไปได้เพื่อใช้แก้ปัญหา นอกจากนี้ สมุดบันทึกยังเป็นแหล่งเก็บรวบ รวมแนวคิดต่างๆ ที่อาจเป็นแรงจูงใจได้ในอนาคต

10. สะสมความคิด

เคยสังเกตมั้ยว่า ไอเดียดีๆอย่างหนึ่งมักนำไปสู่ไอเดีย อีกอย่างหนึ่งได้ ดังนั้น การค่อยๆสะสมความคิดทีละเล็ก ทีละน้อย มาใช้ในงานที่กำลังทำอยู่ จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ถ้าแนวคิดที่เลือกมาใช้ ยังไม่เหมาะสมสำหรับงานปัจจุบัน ก็สามารถนำไปใช้กับงานอย่างอื่นได้ในอนาคต

11. สร้างแผนที่ความคิด

แผนที่ความคิดเป็นวิธีที่ดีที่ช่วยปะติดปะต่อแนวความ คิดต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อหาคำตอบให้กับคำถาม วิธีการก็คือเริ่มด้วยการเขียนหัวข้อเรื่องลงบนกระดาษ แล้วเชื่อมโยงข้อความหรือไอเดียที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่อง คล้ายกับการระดมมันสมอง แต่วิธีนี้จะช่วยแตกแนวคิดเป็นข้อๆ เพื่อให้เห็นภาพการเชื่อมโยงกันชัดเจนขึ้น

12. ท้าทายตนเอง

เมื่อคุณได้พัฒนาทักษะเบื้องต้นในการสร้างความคิดสร้างสรรค์แล้ว จำเป็นต้องกระตุ้นตัวเองไปเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในโครงการใหม่ หรือค้นหาวิธีใหม่ๆเพื่อใช้ในงานที่กำลังทำอยู่ มองหาแนว ทางที่ยากมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการใช้วิธีแก้ปัญหาเดิมๆที่เคยใช้ในอดีต

13. มองหาแหล่งสร้างแรงบันดาลใจ

อย่านึกว่าความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นเองได้ง่ายๆเสมอไป แต่คุณจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งที่จะกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ๆ อันจะจูงใจให้ค้นหาคำตอบให้กับคำถาม อาจเริ่มจากการอ่านหนังสือ ไปเที่ยว ฟังเพลงโปรด หรือ คุยถกเถียงกับเพื่อนฝูง แล้วนำกลยุทธ์หรือเทคนิคที่ดีที่สุดมาใช้

14. เตรียมแผนสำรอง

เมื่อต้องเผชิญกับปัญหา ให้ตั้งคำถามประเภท “แล้วถ้า….” เพื่อเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหา หรือถ้าเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแก้ปัญหา ผลจะออกมาอย่างไร? จะเห็นว่า การมองหาทางเลือกอื่นๆไว้ล่วงหน้า จะช่วยพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาของคุณได้อย่างสร้างสรรค์

15. สร้างแผนผังการดำเนินงาน

เมื่อคุณต้องทำงานชิ้นใหม่ จงเริ่มด้วยการวางแผนผังการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ระบุอุปสรรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ แผนผังนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นผลลัพธ์ในตอนท้ายสุด ซึ่งจะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ และเป็น วิธีแก้ปัญหาที่มีเอกลักษณ์

Credit: (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 124 มีนาคม 2554 โดย ประกายรุ้ง)

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต