เริ่มต้นการวางโครงร่างวิจัย

1. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน

เพื่อที่เราจะกำหนดโครงร่างให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาในเอกสารค่ะ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยว่าเราจะเขียนเรื่องอะไรบ้างจะได้แตกย่อยหัวเรื่องได้ถูก เพื่อเขียนให้ตรงกลุ่มผู้อ่าน ผู้อ่านจะได้อะไรจากการอ่าน สิ่งเหล่านี้ต้องนำมากำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนนะคะ

​ 

Tip เรื่องของการเขียนประเด็นย่อ เป็น Keyword ที่เราอยากทำ และดูความเป็นไปได้ด้วยว่า สามารถทำได้ง่ายหรือไม่ ใช้เวลา ใช้ทุนทรัพย์ มากน้อยขนาดไหน กรณีเป็น dissertation ก็เขียนไปเยอะๆแล้วปรึกษาอาจารย์เลยค่ะ

2. เขียนรายงานฉบับร่าง (First Draft) 

โดยกำหนดเป็นย่อหน้าที่แต่ละย่อหน้าจะเริ่มด้วยประโยคสำคัญแล้วตามด้วยคำอธิบายค่ะ ตัวอย่าง ข้อความขยายและจบด้วยประโยคสรุป หรือประโยคที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาในย่อหน้าต่อไป โดยใช้ภาษาที่ง่าย ๆ ชัดเจน ไม่ใช้ศัพท์วิชาการที่เกินความจำเป็น และควรมีการสรุปประเด็นที่สำคัญในหัวข้อแต่ละหัวข้อ

Tip แตกแยกร่าง ย่อยเรื่องราวนั้นออกมา เช่น รูปแบบงานวิจัย เชิงปริมาณคุณภาพ จำนวนประชากร รูปแบบการเก็บข้อมูล ระยะเวลาในการดำเนินงานวัตถุประสงค์ ทฤษฏีต่างๆที่จะมารองรับหรือใช้ในงานวิจัย พยายามเลือกหัวข้อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เรียนนะคะ จะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับทุนหรือในระดับที่เรียนประเด็นปัญหาทันยุคทันสมัยค่ะ

3. ชื่อเรื่อง

ตั้งชื่อเรื่องได้อ่านง่าย เห็นภาพชัดเจนไม่สั้นไม่ยาวเกินไปอ่านเข้าใจได้ว่า ต้องการศึกษาอะไร กลุ่มตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาคือใคร ที่ไหน แบบไหน และก็อ่านแล้วสามารถเดาทางได้ว่าวัตถุประสงค์คืออะไร

เช่นประสิทธิผลของการออกกำลังกายกับการลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชุมชนส่วนใหญ่ จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2562

กรณีที่ชื่อยาวมาก ให้แบ่งเป็นสองตอนค่ะ ใช้ตอนแรกบอกความสำคัญ ตอนสองเป็นเพียงส่วนประกอบ เช่นระดับน้ำตาลในเลือดและการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน:การเปรียบเทียบระหว่างชุมชนสวนใหญ่กับชุมชนบางกร่างในจังหวัดนนทบุรี 2562

ข้อควรระวังในการตั้งชื่องานวิจัย

• ไม่ชัดเจน คลุมเครือ

• ยาวเกินไป

• ไม่สอดคล้องกับประเด็นสำคัญที่ต้องการศึกษา

4.บทนำ/ที่มาและความสำคัญของปัญหา

ควรเขียนอธิบายกล่าวถึงปัญหา ควรเขียนสัก 2-3 หน้าสำหรับ research proposal นี่กำลังดีเลยดีค่ะ 

Tip ให้เขียนแบบสามเหลี่ยมควำนะคะ คือจากกว้างไปแคบ เช่น ประเทศ-ภาค-จังหวัด เป็นต้นค่ะ ซึ่งในความเป็นจริงสามารถเขียนได้หลายรูปแบบ แล้วแต่การนำเสนอเลยค่ะ 

✔ บุคคล

✔ สถาบัน/องค์กร

✔ พื้นที่เฉพาะ (เมือง ชนบท

✔ ภูมิภาค

✔ ประเทศ 

✔ ต่างประเทศ/นานาประเทศ

หัวใจของการเล่าเรื่องให้น่าติดตาม หรือมีความสนใจนั้น ต้องทำให้รู้สึกร่วมเสมือนว่าฟังเพลงอินโทร แล้วอยากฟังเพลงนี้ให้จบ บทนำก็เช่นกันค่ะ

อย่าลืมว่า คุณมีโอกาสแค่กระดาษไม่กี่แผ่นในการเย็บส่งกรรมการแค่นั้น ฉะนั้นโชว์สกิลให้ความรู้ความสามารถ ทั้งในศาสตร์ที่คุณทำและทักษะการทำวิจัย งัดออกมาให้หมดเลยค่ะเขียนให้กรรมการรู้สึกว่า เรื่องราวนี้ “สำคัญ” ตระหนักรู้สนใจ ด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์

Tip ดูจากชื่อเรื่องหลักและมาแตกแยกประเด็นย่อย จากนั้นเอาความคิดย่อยมาขยายออก โดยที่เราคิดอะไรก็ได้ แตกประเด็นความคิดไว้ก่อน ใช้  Mind map ช่วยจัดระบบความคิดดูก็ได้ค่ะ จากนั้นค่อยมาต่อจิ๊กซอว์ ลองจัดระบบความคิดเรียบเรียงประเด็นต่างๆ จากกว้างไปแคบ เพื่อเข้าสู่ประเด็นปัญหา อันไหนที่เราดูแล้วที่แทรกไม่ได้ก็ทิ้งไป ความคิดไหนที่ดูแล้วโอเค ก็รวมแยกไว้อีกย่อหน้าหนึ่งแล้วค่อยมารวมกันก็ได้ค่ะ

5. ปรับปรุงรายงานฉบับร่าง

โดยการอ่านทบทวนหลาย ๆ ครั้ง และอาจมีเอกสารและงานวิจัยเพิ่มเติมควรจะนำมาสอดแทรก และปรับปรุงได้ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัย เพราะการทำวิจัยไม่ใช่การยกเมฆ หรือคิดทึกทักไปเอง จำเป็นต้องมีการอ้างอิง แทรกในเนื้อหาด้วยว่าแนวความคิดนี้มีอยู่จริง ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่รู้ๆกันอยู่แล้ว เช่น มลพิษในอากาศสูง เศรษฐกิจไม่ดี เป็นต้นและควรเป็นหนังสือ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่ใช่ออนไลน์ก็จะยิ่งดูน่าเชื่อถือค่ะ

จากนั้นก็เอาเนื้อหาย่อยๆ มาปะติดปะต่อ ใส่คำเชื่อมร้อยเรียบเรียงเรื่องราวให้สละสลวยค่ะ อย่าลืมที่จะใส่ ส่วนของคำนำเนื้อเรื่อง สรุปด้วยนะคะ รวมถึงไอเดียที่ทำให้คนอ่านเข้าใจง่าย

6. แล้วทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

โดยไม่ต้องเสียดายของเดิม เพราะถ้าดีเค้าก็ให้ผ่านแล้วค่ะหลังจากนั้นให้ลงมือเขียน แล้วก็อ่าน และแก้ไข แล้วเขียนแล้วแก้ไข ทำสักสองสามรอบจากนั้นเราจะรู้ว่าเขียนดีเป็นอย่างไรข้อต่อมาที่สำคัญ คือ 3 อย่า

1 อย่าลืมตรวจคำผิด

2 อย่าลืมเว้นวรรค

3 อย่าลืมจัดหน้ากระดาษ หัวท้ายกระดาษให้เท่ากัน

สุดท้ายคือจัดทำรายงานผลการสังเคราะห์ฉบับจริงหลังจากที่ได้ตรวจสอบรายงานฉบับร่างจนกระทั่งมีความสมบูรณ์

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต