พีระมิดแห่งการเรียนรู้ เรียนแบบไหนดีที่สุดสำหรับคุณ

พีระมิดแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Pyramid เริ่มต้นศึกษาและพัฒนาโดยNational Training Laboratories ตั้งแต่ช่วงปี 1960s เป็นเหมือนแนวคิดที่ทำให้เราเห็นภาพว่า ‘กิจกรรมแบบไหน’ ทำให้เราสามารถเรียนรู้ ซึมซับ และจดจำข้อมูลได้ดีที่สุด

ถ้ารู้เรื่อง Learning Style ของแต่ละคน จะช่วยให้เข้าใจเรื่องนี้ได้ดียิ่งขึ้น เพราะนอกจากพีระมิดนี้แล้ว ความถนัดของแต่ละคนก็ย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน

1. Visual เรียนรู้ผ่านการมอง

2. Auditory เรียนรู้ผ่านการฟัง

3. Read/Write เรียนรู้ผ่านการเขียน-อ่าน

4. Kinesthetic เรียนรู้ผ่านการลองทำ

เอาล่ะ เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า จากแนวคิด Learning Pyramid พฤติกรรมแบบไหนที่จะช่วยให้เราเรียนรู้ได้ดีที่สุด

การเรียนในห้อง (Lecture) <10%

การเรียนรู้ที่เราทำกันเป็นประจำคือการเรียนในห้อง อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่เราได้เรียนรู้น้อยที่สุด การนั่งฟังอาจารย์สอนอาจไม่ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพเสมอไป ซึ่งเราก็น่าพอมีประสบการณ์ในส่วนนี้กันดี แต่ถ้าอยากให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้เรียนควรเตรียมตัวมาอย่างดี ควรมีการถกเถียงในห้องและมีการจดข้อมูลที่เป็นระบบ

การอ่าน (Read) 10%

การอ่านเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ แต่ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่ไม่ค่อยให้ผลลัพธ์ที่ดีเท่าไหร่นัก อาจเป็นเพราะว่าคนไม่ค่อยชอบการอ่านหนังสือเชิงวิชาการกันอยู่แล้ว (ยกเว้นคนที่เป็น Visual Learner การอ่านจะมีประสิทธิภาพมากกว่าคนในกลุ่มอื่น)

การได้ฟังและได้เห็น (Audio/Visual) 20%

ไม่ว่าจะเป็นภาพ วิดีโอ เสียง หรือแผนภูมิ นับว่าเป็นตัวช่วยสำคัญที่ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้เพียงแค่ 20% แต่ในอนาคตการเรียนรู้แบบนี้น่าจะเติบโตอีกมากตามเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากขึ้น ที่สำคัญ สื่อเหล่านี้ยังช่วยให้เราเข้าใจในเนื้อหาที่มีความซับซ้อนหรือยากได้ดีขึ้นเช่น สารคดีที่หยิบยกการนำเสนอแบบภาพมาใช้ ด้วยการผนวกภาพจริง กราฟิกและโมชั่นเข้าด้วยกัน อย่าง Vox (https://bit.ly/2Dhu1ZY) หรือซีรีส์ Explained (https://bit.ly/2QF8Eok)

การสาธิต (Demonstration) 30%

ถ้าเราได้เห็นตัวอย่างจริง จะทำให้การเรียนรู้ของเราได้ผลมากขึ้น อาทิ การดูสาธิตวิธีสำรวจในพื้นที่การทำงานจริง การสาธิตอาจเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดในกรณีที่เป็นเรื่องการลงมือทำ

ถกเถียงหารือ (Discussion) 50%

การได้ออกความคิดเห็น ได้ถกเถียงในองค์ความรู้ กิจกรรมนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วม ได้ใช้ความคิด ได้มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า แน่นอนว่ามันทำให้คุณได้เรียนรู้มากขึ้นอีกด้วย

ลงมือปฎิบัติ (Practice) 75%

การได้ลงมือทำนับว่าเป็นการเรียนรู้ยอดนิยม และหลายฝ่ายก็เชื่อว่าเราจะจดจำข้อมูลต่างๆ ได้ดี เพราะเราจะได้เจอปัญหาจริง ได้ลองทำจริง ได้แก้ไขสถานการณ์ผ่านของจริง ที่สำคัญการได้ลงมือทำ จะทำให้ข้อมูลและความรู้เหล่านั้นถูกย้ายไปไว้ในส่วนของความจำในระยะยาว ซึ่งช่วยให้เราได้เรียนรู้เชิงลึกและจดจำได้ดีขึ้นนั่นเอง

สอน (Teach) 90%

การสอนนับว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด แต่หลายคนอาจจะมองข้ามเรื่องนี้ไป ถ้าสังเกตให้ดี เวลาเราจะสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ เราต้องมีความเข้าใจเรื่องนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง หาคำอธิบายที่ง่าย ยิ่งคุณสอนมากขึ้น คุณจะยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้นนั่นเองเราจะเห็นเลยว่าในส่วนแรก (การเรียนในห้อง การอ่าน การได้ฟังและได้เห็น การนำเสนอ) เป็นการเรียนรู้ในเชิงรับ (Passive) ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่เราไม่ค่อยได้เรียนรู้อะไรสักเท่าไหร่นัก เพราะมันเป็นการรับรู้จากคนอื่นแล้วค่อยเปลี่ยนแปลงมาเป็นความรู้ในแบบของเราสำหรับในส่วนที่สอง (การนำเสนอ ถกเถียง-หารือ ลงมือปฎิบัติ สอน) เป็นการเรียนรู้ในเชิงรุก (Active) ที่ต้องผ่านกระบวนการเข้าใจ ก่อนที่จะสะท้อนออกไปสู่ผู้อื่น ซึ่งเราจะเห็นเลยว่าในส่วนที่สองเป็นกิจกรรมทางการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพกว่านั่นเองการเรียนรู้ที่ดี อาจไม่ได้เป็นเพียงแค่การเรียนในห้องหรือการอ่านหนังสือก็ได้ ถ้าเราเรียนรู้เรื่องอะไรมา ก็อย่าลืมแจกจ่ายออกไป เพื่อที่เราจะได้เข้าใจเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจนขึ้นด้วย

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต