ทำวิจัยระดับ ป.โท อย่างไร ไม่ให้เสียเวลา

ทำวิจัยระดับ ป.โท อย่างไร ไม่ให้เสียเวลา
ทุกวันนี้การศึกษาระดับปริญญาโท เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพียงแต่ต้องมีความพร้อมในด้านเวลา และทุนทรัพย์ ขึ้นอยู่กับหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่เราเลือกเรียน และทุกหลักสูตรจะกำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องสร้างผลงานวิชาการ อย่างน้อย 1 ชิ้น ตั้งแต่ การสร้างชิ้นงานที่ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ วิทยานิพนธ์ที่มีระดับความยากในการทบทวนวรรณกรรมและระดับสถิติที่ใช้ จนถึงสารนิพนธ์ หรือที่เราคุ้นเคยเป็นภาษาเข้าใจง่ายๆ ว่า IS (Independent Study) หรืออีกชื่อเรียกว่า การศึกษาค้นคว้าอิสระ และเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานการวิจัยที่ดีพอ
ปัญหาที่ท้าทาย สำหรับนักศึกษาที่ทำงานวิจัย ในระดับ สารนิพนธ์ และ วิทยานิพนธ์ มักจะมีเวลาจำกัด ประมาณ 3 – 6 เดือน ซึ่งหากไม่มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในระเบียบวิธีวิจัย และ สถิติในการวิจัย แล้ว มักจะถูกอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ ตำหนิ และให้กลับมาแก้ไขใหม่ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า จนหมดกำลังใจ
บางคนอาจแก้ปัญหา หรือ หลีกเลี่ยงปัญหานี้ ด้วยการจ้างให้คนอื่นทำงานวิจัยของเราให้ ซึ่งเราเชื่อว่า เขาเหล่านั้น จะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญกว่าเรา ช่วยให้เราสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทได้ ท่านรู้หรือไม่ว่า เขาทำกันอย่างไร บางคนที่รับจ้างทำวิจัยให้เรา ก็ไปลอกงานวิจัยของคนอื่นมา แล้วมาปรับแก้นิดหน่อย ทำให้ดูเหมือนว่า ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ส่งงานวิจัยให้กับเรา แล้วก็รับเงินไปแบบสบายๆ ท่านใดที่เลือกใช้วิธีว่าจ้างให้คนอื่นทำให้ หรือไปคัดลอกงานวิจัยของคนอื่นมา ก็อย่าหลงใหลได้ปลื้ม ในวุฒิปริญญาที่ได้รับไป ไม่ควรค่าแก่ความภาคภูมิใจหรอกครับ
ปัญหาสำคัญ ที่ทำให้เสียเวลา
ปัญหาที่ผมพบบ่อยๆ จากการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจงานวิจัยที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ก็คือ
1)ใช้สถิติการวิจัยไม่ถูกต้อง ตามคุณลักษณะของตัวแปร หรือ สมมุติฐานการวิจัย หรือ ชื่อเรื่องการวิจัย ผมจะพบว่า นักศึกษาที่ตั้งชื่อเรื่องด้วยคำขึ้นต้นว่า “ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อ……” หรือ “ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อ…….” จะมีโมเดลการวิจัย ที่กำหนดให้มีตัวแปรอิสระ (Independent Variables) หลายตัว (บางคนเรียกว่า ตัวแปรต้น) และ มีเส้นลากเชื่อมโยงไปยังตัวแปรตาม (Dependent Variables) 1 ตัว
และพบว่า สถิติที่ใช้ในการวิจัย จะใช้ t-test สำหรับตัวแปรอิสระที่เป็นตัวแปรกลุ่ม (หรือตัวแปรเชิงคุณภาพ) ที่มีลักษณะของข้อความถามที่ให้เลือกตอบเป็น 2 กลุ่มคำตอบ เช่น เพศชาย เพศหญิง ไปหาความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม แล้วก็ดูว่า มีค่า P value น้อยกว่า หรือมากกว่า 0.05 เพื่ออธิบายต่อไปว่า Sig. หรือ ไม่ Sig.
แล้วก็ใช่สถิติ ANOVA หรือ F-test สำหรับตัวแปรอิสระที่เป็นตัวแปรกลุ่ม ที่มีลักษณะของข้อความถามที่ให้เลือกตอบเป็น 3 กลุ่มคำตอบขึ้นไป เช่น วุฒิการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ สถานภาพการสมรส แล้วก็ดูว่า มีค่า P value น้อยกว่า หรือมากกว่า 0.05 เพื่ออธิบายต่อไปว่า Sig. หรือ ไม่ Sig. ต่อจากนั้นถ้าพบว่ามีตัวแปรใดที่ Sig. ก็ไปทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแปรปรวนเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น LSD , Scheff หรือวิธีการอื่นๆ
สุดท้ายก็สรุปว่า ปัจจัยส่วนบุคคลใดที่ Sig. แสดงว่ามีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม
ถ้าทำแบบที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็สอบตกครับ เพราะ การใช้สถิติ t-test หรือ ANOVA มีวัตถุประสงค์ของการใช้สถิตินี้เพื่อทดสอบความแปรปรวน (Variance) ของข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เราไปทำการสำรวจมา ว่ามี การให้ความเห็นต่อคำถาม คำตอบที่เป็นตัวแปรตามอย่างไร ปัจจัยส่วนบุคคล (ตัวแปรอิสระ) ที่แตกต่างกัน เช่น เพศต่างกัน อาชีพต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน มีความเห็นต่อตัวแปรตาม ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่
ไม่ใช่สถิติที่ใช้หาความสัมพันธ์ หรือ หาอิทธิพล ของตัวแปรอิสระ ที่มีต่อตัวแปรตาม นะครับ
แล้วถ้าต้องการใช้ชื่อเรื่องว่า “ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อ……” หรือ “ปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีผลต่อ……” หรือ “ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีผลต่อ……” ฯลฯ เพราะเป็นภาคบังคับ ที่อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ระบุมา จะทำอย่างไร
ไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากท่านต้องวิเคราะห์ทางสถิติด้วย การวิเคราะห์การถดถอยแบบหลายตัวแปร (Multiple Regression Analysis) เท่านั้น ซึ่งตัวแปรอิสระที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ได้ต้องเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลที่เราต้องการนำมาศึกษาวิจัยในโมเดลการวิจัยด้วย ก็ต้องแปลงค่า (Transform) ให้เป็นตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) เสียก่อน ท่านไม่สามารถนำค่าคำตอบที่บันทึกลงในฐานข้อมูล เช่น ระดับการศึกษา (1) ประถมศึกษา (2) มัธยมศึกษา (3) ปริญญาตรี (4) ปริญญาโทขึ้นไป ไปทำการประมวลผลได้ ต้องแปลงค่าให้เป็น ตัวเลข 0 หรือ 1 เสียก่อน ตามหลักการสร้างตัวแปรหุ่นที่ถูกต้อง เพราะมิฉะนั้น โปรแกรมจะประมวลผลโดยเข้าใจว่า ค่าตัวเลขของข้อมูลระดับการศึกษาเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ซึ่งจะให้ได้ผลการวิจัยที่ผิดทันที
ถ้าผู้วิจัยต้องการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ กับ ตัวแปรตาม ก็มีสถิติที่สามารถใช้ได้ง่ายๆ เช่น Correlation (สหสัมพันธ์) ของ 2 ตัวแปร ที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ และมีความต่อเนื่อง (continuous) เช่น อายุ กับ เงินเดือน หรือ ระยะทางจากบ้านมาร้านค้า กับ ปริมาณการซื้อต่อครั้ง ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าตัวแปรใดเป็นตัวแปรต้นหรือตัวแปรตาม และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง -1 ถึง 1
หรือ การใช้สถิติ Chi-Square ในกรณีที่เราอยากรู้ว่า “อายุของเพศหญิงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อตราสินค้าแชมพูสระผม” หรือไม่ จะเห็นว่าทั้งสองตัวแปร เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ หรือ ตัวแปรกลุ่ม และ เราจะใช้ Chi-Square เพื่อทดสอบความเป็นอิสระจากกัน โดยพิจารณาจาก ค่า P Value
2)แบบสอบถามไม่มีความชัดเจน เราต้องเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่า แบบสำรวจแต่ละข้อคำถามที่เราตั้งขึ้น คือ 1 ตัวแปรการวิจัย ที่เราต้องการศึกษา และจะนำไปสู่การประมวลผลทางสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัยในลำดับต่อไป ผมจะพบอยู่เสมอว่า นักศึกษาจะตั้งคำถามวกไปวนมา ซ้ำซ้อน ไม่สามารถแยกแยะให้เห็นความแตกต่างที่สำคัญของแต่ละข้อคำถามหรือแต่ละตัวแปรได้ สุดท้ายจะได้แบบสำรวจที่มีความยาว เยิ่นเย้อ ซ้ำซ้อน สร้างความรำคาญใจและความเบื่อหน่าย ให้กับกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสำรวจ และเราก็จะได้คำตอบจากกลุ่มตัวอย่างแบบขอไปที ไม่มีคุณค่าพอสำหรับการวิจัย
ผมว่า อาจารย์ที่ปรึกษาบางคนก็ป่วยเป็นโรคจิต ชอบให้นักศึกษามีข้อคำถามเยอะๆ จะได้ดูขลัง สมกับเป็นงานวิจัยระดับปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก
ปริมาณขอข้อคำถามจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับตัวแปรการวิจัย และเครื่องมือทางสถิติที่จะใช้ เพื่อให้สามารถพิสูจน์สมมุติฐานการวิจัย ตอบวัตถุประสงค์การวิจัย และตอบปัญหาคำถามการวิจัย ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น อย่าลืมนะครับว่า สถิติบางประเภทที่ใช้ในการวิจัย กำหนดให้ต้องมีจำนวนตัวอย่าง ไม่น้อยกว่า 10-20 เท่าของจำนวนตัวแปรในการวิจัย เพราะฉะนั้น หากมีจำนวนตัวแปรการวิจัยมาก และมีจำนวนตัวอย่างไม่เพียงพอตามข้อกำหนด อาจเกิดปัญหาที่ถูกโต้แย้งในภายหลังได้ว่า ผลวิจัยไม่มีความน่าเชื่อถือต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่
3)ทบทวนวรรณกรรมไม่ชัดเจน ผมพบว่า นักศึกษาจะใช้วิธีการคัดลอกการทบทวนวรรณกรรมของงานวิจัยชิ้นอื่นๆ แล้วนำมาตัดต่อ เป็นผลงานของตนเอง ซึ่งผู้อ่านงานวิจัย หรือ อาจารย์ที่ปรึกษา จะเห็นความไม่สอดคล้องของภาษาที่ใช้ในการเขียน การคัดลอกงานวรรณกรรมของผู้อื่น สามารถทำได้ครับ แต่ต้องปรับแก้สำนวน และมีการอ้างอิงที่มาให้ถูกต้องตามหลักวิธีการอ้างอิง อย่าไปกังวลว่า อ้างอิงเยอะๆ แล้วจะโดนตัดคะแนน
นอกจากนั้น พบว่า มีการทบทวนงานวรรณกรรม ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมากจนเกินไป จนทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย การมีทฤษฎีล้นหลาม แต่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำลังศึกษาเลย ก็แสดงให้เห็นว่า ผู้วิจัยไม่มีความสามารถในการสังเคราะห์นะครับ
บางเล่มงานวิจัย ผมอ่านไป แสดงให้เห็นว่า ผู้วิจัยไม่มีการทบทวนงานวรรณกรรมที่มีความทันสมัยเป็นปัจจุบันเลย อ่านไปก็พบแต่งานวรรณกรรมที่เขียนไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว งานวรรณกรรมล่าสุด ประมาณ 2-3 ปีย้อนหลังไม่ปรากฎในการอ้างอิงเลย แบบนี้ก็เป็นจุดอ่อนสำคัญของงานวิจัย ที่อาจารย์ที่ปรึกษามักจะให้เรากลับไปแก้ไขเพิ่มเติมใหม่
อย่าลืมนะครับว่า เวลาที่ผ่านไปมักจะมีการค้นพบความน่าสนใจอะไรใหม่ๆ เสมอในงานวิจัย เราสามารถทำการสืบค้นงานวิจัยของไทย ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ได้จากฐานข้อมูลของ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Center : TCI) ซึ่งเป็นประตูที่จะพาท่านเข้าไปสู่การค้นคว้างานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของไทยมากมาย หรือ จะใช้การสืบค้นวารสารวิชาการต่างประเทศ ผ่าน EBSCOhost ซึ่งห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งได้ซื้อฐานข้อมูลนี้ไว้แล้ว รวมไปถึงการสืบค้นผ่าน http://scholar.google.com
การทบทวนวรรณกรรมที่ คม ชัด ลึก จะทำให้เราได้ตัวแปรการวิจัย และ กรอบแนวคิดการวิจัย หรือ โมเดลการวิจัย (Research Model) ที่น่าสนใจ แปลกใหม่ และมีคุณค่าทางวิชาการ แต่เราต้องไม่ลืมนะครับว่า ผลวิจัยที่ได้มา เราไม่อาจสรุปได้ว่า โมเดลการวิจัยของเราดีที่สุด เพราะ อาจมีอีกหลายตัวแปร ที่เราไม่ได้ทำการสืบค้น และไม่ได้นำมาพิจารณาในกระบวนการวิจัย
4)สมมุติฐานการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย คำถามการวิจัย ชื่อเรื่องวิจัย ไม่ชัดเจน เป็นประเด็นปัญหาที่ต้องย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของกระบวนการทำวิจัย นักศึกษาจะถูกกำหนดให้ต้องเสนอชื่อเรื่องวิจัยที่สนใจอยากจะทำเป็นอันดับแรก ซึ่งผมไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้ เพราะการที่นักศึกษายังไม่ได้ไปทำการทบทวนวรรณกรรมมาก่อนเลย ยังไม่เห็นความสำคัญของปัญหาที่ควรจะต้องทำการวิจัย แล้วกระโดดไปสู่ การตั้งชื่อเรื่องวิจัย เป็น สิ่งที่ผมเรียกเสมอว่า Jump to the Conclusion คือ รีบด่วนสรุปไปที่ชื่อเรื่อง แล้วค่อยไปหางานวรรณกรรมมาสนับสนุนในภายหลัง จะเป็นการฆ่านักศึกษาทางอ้อม เพราะเมื่อใดที่เอาชื่อเรื่องมาผูกมัดความคิดแล้ว โอกาสที่จะเจอทางตันสูงมาก จนต้องขอกลับมาแก้ไขชื่อเรื่องการวิจัยใหม่
อาจารย์ที่ปรึกษาบางท่าน ก็ชอบที่จะให้นักศึกษาตั้งชื่อเรื่องการวิจัยที่ดูแปลก ทันสมัย โดยยังไม่ได้ให้เวลากับนักศึกษาทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างดีพอ และนักศึกษาที่ขี้เกียจอ่านงานวรรณกรรม ก็จะชอบที่กระโดดไปสู่ชื่อเรื่องเสมอ
เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะไปสู่การกำหนดชื่อเรื่องวิจัย ควรกำหนดกรอบความสนใจไว้กว้างๆ ก่อน ว่าเรากำลังสนใจใน Theme ใด เช่น ด้านการทำตลาดแบบ CSR / การใช้เฟสบุคในการตลาด / การแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของลูกค้า / กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ฯลฯ
แล้วค่อยไปทำการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้นจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Theme ที่เราสนใจ เพื่อหาว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่น่าสนใจนำมาทำการศึกษา มีอะไรที่เป็นตัวแปรใหม่ มีความทันสมัย มีงานวรรณกรรมสนับสนุนเพียงพอหรือไม่
แล้วจึงมาสู่การกำหนดคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นข้อความที่เป็นประโยคคำถามซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าหาคำตอบ ทั้งนี้คำถามการวิจัยควรเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ หรือไม่สามารถหาคำตอบได้จากตำรา หรือความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว เช่น “ผู้บริโภคตัดสินใจก่อนการซื้อโดยใช้กระบวนการสืบค้นผ่านอินเทอร์เนตอย่างไร”
จากนั้นจึงไปสู่กระบวนการนำตัวแปรการวิจัยที่สนใจมาเขียนเป็น ร่างกรอบแนวคิดการวิจัย ควบคู่ไปกับการตั้งชื่อเรื่องการวิจัยที่สอดคล้องกับโมเดลการวิจัย
และทำการพิจารณากรอบโมเดลการวิจัย เชื่อมโยงไปสู่การตั้ง สมมุติฐานการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย ที่มีความสอดคล้องกับ คำถามหรือปัญหาการวิจัย
บทความนี้ผมไม่ได้มุ่งเน้น ให้ความรู้ทางด้านสถิติการวิจัย ซึ่งผมเห็นว่า เราสามารถทำการสืบค้นจากผู้รู้ท่านอื่นๆ ได้ในเวปไซต์ต่างๆ แต่ตั้งใจเขียนเพื่อให้นักศึกษาปริญญาโท ได้ตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นที่เสมือนเป็นการ “ติดกระดุมเสื้อเม็ดแรก” เพราะถ้าท่านติดกระดุมเม็ดแรกผิดแถว ก็จะผิดหมด และต้องกลับมาเริ่มติดกระดุมเสื้อเม็ดแรกให้ถูกใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ท่านเสียเวลา
พอมีเวลาลองเข้าอ่านบทความ “เรื่องเล่าขอ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

เทคนิคการเขียน Essay ให้ดีเยี่ยม!

เทคนิคการเขียน Essay ให้ดีเยี่ยม!

การเขียน Essay ที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าคุณมีแผนที่ชัดเจนและเทคนิคที่เหมาะสม ลองทำตามเคล็ดลับง่าย ๆ เหล่านี้ เพื่อทำให้ Essay ของคุณดึงดูดความสนใจและมีความสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ 🌟 1. เริ่มต้นด้วย Thesis Statement ที่ชัดเจน 🎯กำหนดประเด็นหลักที่คุณต้องการสื่อ และตั้งคำถามที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าบทความของคุณมีจุดประสงค์อะไร ทำให้การเขียนมีทิศทางและสอดคล้องกัน 2. วางโครงสร้างและจัดระเบียบหัวข้อ 🗂️แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ เช่น บทนำ

วิจัยเผย ‘วาซาบิ’ อาจช่วย ‘ผู้สูงอายุ’ ให้ความจำดีขึ้นได้

วิจัยเผย ‘วาซาบิ’ อาจช่วย ‘ผู้สูงอายุ’ ให้ความจำดีขึ้นได้

เป็นที่รู้กันในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่า “วาซาบิ” (wasabi) ดีต่อสมอง แต่ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับพืชชนิดนี้กับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมมากที่สุด ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นจึงได้ทำการวิจัยและค้นคว้าในเรื่องดังกล่าว การศึกษาซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients โดยให้กลุ่มอาสาสมัครผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งรับประทานวาซาบิแบบเม็ดทุกวัน และอีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอกทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากใน “วาซาบิ” มีส่วนผสมที่ชื่อว่า 6 เมทิลซัลฟินิล เฮกซิล ไอโซไทโอไซยาเนต (6 methylsulfinyl hexyl isothiocyanate:

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ในยุคที่เทคโนโลยีและการเชื่อมต่อออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัว ธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน การเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลช่วยป้องกันเราจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ 🛡️📱 ⚠️ เหตุผลที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความสำคัญ: 💡 เคล็ดลับง่ายๆ ในการเสริมความปลอดภัย: การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพื่อปกป้องข้อมูลและรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัล 🌟🔐 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️

ปวดหัวกับงานวิจัยทำไงดี ?

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ให้เราช่วยคุณสิ 👍 เรามีทีมงาน และพร้อมบริการ วิจัย  วิทยานิพนธ์  สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ (IS) / เก็บข้อมูลแบบสอบถาม Online-Offline / บทความวิจัย  / วิชาการ แผนธุรกิจ การตลาด / ทำผลงาน  เลื่อนขั้น ตีพิมพ์  และอื่น ๆ  🗣