จะเริ่มคิดหัวข้อการวิจัย (แล้วนะ)

จะเริ่มคิดหัวข้อการวิจัย (แล้วนะ)
PUBLISHED ON พฤษภาคม 29, 2011
ปัญหาใหญ่คือ จะเริ่มยังไง .. จะออกแบบการวิจัย (Research Design) อย่างไร จึงจะได้เป็น Ph.D. Candidate (กับเขาสักที)

คิดคร่าวๆก่อนว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไรดี
เรื่องที่จะทำ สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำ ทำแล้วคนจะสนใจมั๊ย ?
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทบทวนวรรณกรรม (review literature) เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้ครอบคลุมเรื่องที่จะทำ อ่านเยอะๆ อ่านแล้วต้องสังเคราะห์งานวิจัยให้เป็น
หาให้เจอว่า อะไรคือ โจทย์วิจัย (ปัญหาวิจัย / คำถามวิจัย)
กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย (กำหนดโดยเอาคำถามวิจัยเป็นตัวตั้ง เพื่อบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยครั้งนี้ ว่าทำไปเพื่ออะไร ..เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อเปรียบเทียบ เพื่ออธิบาย เพื่อประเมิน เพื่อพัฒนา ฯลฯ)
เรามีปรัชญาและกระบวนทัศน์ (paradigm) ของการวิจัยเป็นอย่างไร (ภววิทยา Ontology / ญาณวิทยา Epistemology / วิธีวิทยา Methodology) และจะเลือกใช้ทฤษฎีหลักอะไรเป็นเครื่องชี้นำ เพื่อสร้างกรอบแนวคิดหรือโมเดลการวิจัย (research framework / model)
กรอบความคิดในการวิจัย ไม่ใช่กรอบความคิดเชิงทฤษฎี (theoritical framework) เพราะมันจะแคบกว่า เนื่องจากเราจำกัดขอบเขตของการวิจัยลงมา แต่ต้องอธิบายได้ว่า แม้จะแคบกว่าที่ควรจะเป็น แต่ก็ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อการวิจัย
กำหนดวิธีการวิจัย จะเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัย (research methodologies) หรือแนวทางการวิจัย (research approaches) แบบใด ทำไมถึงเลือกวิธีนี้ และจะใช้วิธีวิจัย (research methods) อะไรบ้าง จะสุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลจากใครที่ไหน จะใช้วิธีอะไรในการจัดการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบงานวิจัยถึงจะน่าเชื่อถือ และมีความรอบคอบ
จะเอางบประมาณที่ไหนมาทำวิจัย จะมั่นใจได้อย่างไรว่างานวิจัยนี้จะสำเร็จ จะเสร็จเมื่อไหร่ ทำแผนปฏิบัติการแบบ Action Plan มาด้วย
ที่ขาดไม่ได้ สมัยนี้ คือระบุจริยธรรมหรือจรรยาบรรณ (ethics) ที่ใช้ในการวิจัย
คาดว่าเราจะค้นพบอะไรจากการวิจัยครั้งนี้ ?
สุดท้าย น่าจะได้ข้อเสนอโครงการวิจัย (research proposal) หรือข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก (Candidacy) ขึ้นมาสักฉบับ
การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทางสังคมศาสตร์ มีผู้รู้บอกว่า เราควรเลือกทำเรื่องที่เราถนัด มีประสบการณ์มาบ้างแล้ว เป็นเรื่องที่เราให้ความสนใจ หรือเป็นปัญหาที่เราอยากหาคำตอบ เพราะจะทำให้เรามีแรงจูงใจและมีความพยายามที่จะทำวิจัย จะให้ดีควรเกี่ยวข้องกับงานประจำของเรา หน่วยงานต้นสังกัดให้การสนับสนุน (อยากได้ผลการวิจัยของเราไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา แก้ปัญหา หรือป้องกันปัญหาในอนาคตขององค์กร) แต่เนื่องจากตอนนี้เรายังมีความรู้ไม่มากพอ ดังนั้น ต้องอ่าน paper ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การ review literature มากๆ ในที่สุดจะทำให้เกิด idea ในการคิดโจทย์วิจัย

งานวิจัยระดับปริญญาเอกนั้น ทำแล้วต้องมีผลกระทบในทางปฏิบัติต่อสังคมหรือชุมชนในวงกว้าง เช่น มีส่วนสำคัญที่จะนำไปแก้ปัญหาประเทศได้ หรือมีผลกระทบต่อวิชาการ เช่นสร้างแนวคิดทฤษฎีหรือองค์ความรู้ใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใครคิดมาก่อน .. ฟังแล้วจะเรียนจบมั๊ยนะ ??

บรรณานุกรม
นงลักษณ์ วิรัชชัย. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methods). เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา, 2545.
จำเนียร จวงตระกูล. การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพ : บริษัทศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, 2554.
Creswell, John. W. Research Design: Qualitative, Quantitative and Mixed Methods Approaches, 3rd ed, Thousand Oaks, Calif. : Sage, c2009.

แบ่งปันสิ่งนี้:

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต