เทคนิคและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ

IMG_2394.JPG

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)เป็นการวิจัยที่ต้องการค้นหาความจริงทั้งจาก “เหตุการณ์สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง” ซึ่งมี การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อม เป็นหัวใจหลักของการวิจัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมองนั่นจึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ซึ่งหมายความถึง การที่จะปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติปราศจากการกระทำ (Manipulate) ใดๆที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้คลาดเคลื่อนไปได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและข้อควรระวังมาฝากกันค่ะ

  1. การสัมภาษณ์
5-w's-who-what-when-where-why-how.jpg

การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นการสนทนาโดยมีจุดมุ่งหมายอยู่แล้ว แต่ต้องค่อยๆ ตะล่อมถามไปเรื่อยๆ ให้นึกถึงคำถาม  6 Question Words (ใคร / ทำอะไร / ที่ไหน / เมื่อไหร่ / ทำไม / อย่างไร) ให้ถามความคิดเห็น เหตุผล และมุมมอง ไม่ใช่ถามแบบบังคับให้ตอบว่า “ใช่-ไม่ใช่” “ถูกต้อง-ไม่ถูกต้อง” ต้องเป็นมุมมองของผู้ให้ข้อมูล ไม่ใช่มุมมองของผู้วิจัย ไม่จำเป็นต้องเน้นให้ตอบเป็นตัวเลขเชิงปริมาณ อย่าใช้คำถามชี้นำเพื่อให้ตอบในแนวที่วางไว้ อย่าใช้คำถามที่ทำให้ผู้ตอบไม่อยากตอบ รู้สึกอับอายหรือไม่สบายใจ และไม่ควรใช้คำถามที่เป็นความรู้ทางวิชาการเกินไป (ต้องรู้ background การศึกษาของผู้ตอบด้วย) และนอกจากนั้น ถ้ามีโอกาสสัมภาษณ์หลายๆ รอบ วิเคราะห์หลายๆ รอบ จะทำให้ได้รายละเอียดมากขึ้น เวลาเขียนบรรยายจะทำให้ได้อรรถรสมากขึ้น

  • Unstructured interview เริ่มต้นจากคำถามทั่วๆ ไป
  • Semi-structured interview สร้างข้อคำถามไว้ล่วงหน้าเป็นข้อๆ และค่อยๆ ตะล่อมถาม อย่างไรก็ตาม การถามแต่ละครั้งของแต่ละคน จะแตกต่างกันไปตามบริบทของคำตอบของผู้ให้ข้อมูล

ลักษณะของคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์

  1. Experience/behavior questions ถามประสบการณ์หรือเหตุการณ์ (ช่วยเล่าเหตุการณ์ให้ฟังหน่อยได้มั้ยคะ ? ….)
  2. Opinion/value questions ถามความคิดเห็น (คิดอย่างไรกับ ..)
  3. Feeling questions ถามความรู้สึก (รู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น …)
  4. Sensory questions ถามถึงสัมผัสทั้ง 5 (การเห็น การสัมผัส การรับรส การดมกลิ่น การได้ยิน) เห็นอะไร รสชาติเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินว่าอย่างไร
  5. Knowledge questions ถามเกี่ยวกับสิ่งที่เขารู้ (ในเรื่องที่เป็นจริง ไม่ใช่ความรู้สึก)
  6. Background/demographic questions ถามภูมิหลังของผู้ให้ข้อมูล เช่น ทำงานมากี่ปีแล้วคะ ?

Tips ข้อควรระวังของการสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์มีข้อดีคือ ได้ข้อมูลมาก ใช้เวลาน้อย แต่ข้อจำกัดคือ ข้อมูลที่ได้อาจไม่ใช่ข้อมูลจริง ผู้สัมภาษณ์ต้องมีทักษะในการเจาะลึกเพื่อให้ได้ข้อมูล ต้องใช้เวลาในการผูกมิตรกับผู้ให้ข้อมูล

  1. การสังเกต (Observation)
getty_859832992_362425.jpg
  • การสังเกตแบบมีส่วนร่วม  (Participation) ต้องเอาใจใส่ต่อทุกอย่างที่เกิดขึ้น ใช้ประสบการณ์ทั้งในฐานะคนในและคนนอกในเวลาเดียวกัน
  • การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม นักวิจัยทำตัวเป็นคนนอก คอยจดบันทึกเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ที่สังเกตเห็น ขณะอยู่ใน setting ที่เลือกศึกษา

การบันทึกภาคสนาม (field note) บันทึกอะไร ?

บันทึกฉากและบุคคล (setting) การกระทำ (acts) แบบแผนกิจกรรม (pattern of activities) ความสัมพันธ์ (relationship) ความหมาย (meaning) เพื่อให้ได้คำตอบว่า ทำไมจึงเกิดพฤติกรรมและการกระทำนั้นๆ

  1. การอภิปรายกลุ่ม (Focus group discussion)
depositphotos_183298268-stock-video-young-casual-business-team-meeting.jpg

หลักสำคัญคือ ผู้ร่วมสนทนาทุกคน (ซึ่งควรมีประมาณ 6-12 คน) ควรมีภูมิหลังคล้ายกัน จะต้องไม่มีความขัดแย้งกันเป็นส่วนตัว และไม่มีใครมีอำนาจเหนือคนอื่นในกลุ่ม เป็นการเก็บข้อมูลในกลุ่มที่มีปัญหาเดียวกัน มีประสบการณ์เดียวกัน มาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน ประเด็นสนทนาต้องไม่ลึกซึ้ง หรือเป็นเรื่องส่วนตัว หรือ sensitive เกินไป

4) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารอื่นๆ

  • เอกสารส่วนบุคคล เช่น intimate diaries, personal letters (จดหมายส่วนตัว), autobiographies (ชีวิตและผลงาน หนังสือมุทิตาจิต)
  • เอกสารทางการ เช่น internal documents (บันทึกข้อความ รายงานการประชุม), external communications (สิ่งพิมพ์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน), personal records/files (แฟ้มประวัติบุคคล เวชระเบียน)
  • ภาพถ่าย อาจเป็นภาพถ่ายที่ถูกค้นพบ หรือภาพถ่ายที่ผู้วิจัยได้ถ่ายขึ้นเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน
  • สถิติหรือข้อมูลที่เป็นตัวเลขเชิงปริมาณ (ใช้อ้างอิง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลเชิงคุณภาพ)
  • สัญลักษณ์หรือสิ่งของที่มีความหมาย เช่น พระพุทธรูป ไม้กางเขน
  • ฟิล์มภาพยนตร์ วิดีทัศน์  และข้อมูลจาก social media

Tips ข้อควรระวังของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร

ข้อมูลเอกสารส่วนตัว อาจไม่ใช่ตัวแทนของประชากร  ข้อมูลส่วนมากใส่ความคิดเห็นของผู้เขียนเป็นหลัก ทำให้ bias ได้ เอกสารบางอย่างผู้เขียนไม่ได้ศึกษาถ่องแท้ หรือเขียนบิดเบือนเพื่อลบล้างความผิดของตนในอดีต

 ที่มา : วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อสุขภาพจิตและความเสี่ยงในโรคซึมเศร้า

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อสุขภาพจิตและความเสี่ยงในโรคซึมเศร้า

การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนสำคัญของการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การใช้สื่อสังคมออนไลน์นั้นอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคคล และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้ด้วย 💁🏻‍♀️ ตามรายงานวิจัยของสถาบันภาพยนตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Mental Health) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้เวลาในการใช้งานมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงขึ้น หรือมีการสะสมความเครียดเพิ่มขึ้น การใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคคลได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาจมีผลกระทบที่ดีหรือเสียต่อบุคคลแต่ละคนตามความเป็นจริงของสถานการณ์และวิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ดังนี้ อย่างไรก็ตาม สื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตได้ โดยการเข้าร่วมกลุ่มหรือชุมชนออนไลน์ที่เกี่ยวกับการสนทนาเกี่ยวกับสุขภาพจิต การแชร์ประสบการณ์

จัดหนักจัดเต็มทุกงานวิจัย

จัดหนักจัดเต็มทุกงานวิจัย

💁‍♀️ Thesis Thailand จัดหนักจัดเต็ม พร้อมช่วยแนะนำให้คำปรึกษาทุกงานวิจัย 🤩 และกระบวนการให้คำปรึกษางานวิจัยของ Thesis Thailand เป็นอย่างไรบ้างนั้น สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเราคลิกเลย👉🏻https://thesisthailand.co.th  🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲  📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand #วิจัยตัวร้าย #รับทำวิจัย

ครบเครื่องเรื่องงานวิจัยได้ที่Thesis Thailand

ครบเครื่องเรื่องงานวิจัยได้ที่Thesis Thailand

✨ การที่งานวิจัยจะถือว่า “ครบเครื่อง” จะต้องทำครบทุกส่วนประกอบอย่างเป็นระบบแบบมีคุณภาพสูงสุด 👏🏻 ดังนั้น การเลือกใช้บริการจาก Thesis Thailand ที่ปรึกษาในการทำงานวิจัยหลากหลายด้าน ผู้เชี่ยวชาญระดับชั้นการศึกษาต่างๆ จนถึงปริญญาเอก 👍🏻 พร้อมให้บริการด้านงานวิจัยได้อย่างครบครันเพื่อคุณ 🤩 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲  📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️

สุดยอดทีมงานวิจัยที่พร้อมช่วยคุณ

สุดยอดทีมงานวิจัยที่พร้อมช่วยคุณ

“เราเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลกด้านการเขียนเชิงวิชาการออนไลน์ โดยได้รับความไว้วางจากลูกค้า คุณภาพระดับสาขา” บริการที่ยืดหยุ่นสำหรับทุกขั้นตอนการทำงานของคุณ ไม่ว่าคุณจะทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเสร็จมากแค่ไหน เราก็พร้อมจะเข้าไปมีส่วนร่วม ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 🔹 LINE: @THESISTH 🔹TEL: 063-207-3864 🔹 INBOX: https://m.me/thesisthailand #วิจัยตัวร้าย #รับทำวิจัย #รับทำการบ้าน #วิจัยปี4 #วิจัยปโท #รับทำวิทยานิพนธ์ #วิทยานิพนธ์