8เทคนิคการเขียนบทคัดย่อสำหรับงานวิจัย

image0 (9).jpeg

บทคัดย่อ (Abstract)  เป็นส่วนที่เขียนสรุปสาระสำคัญของงานวิจัยทั้งหมด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมการศึกษาของงานวิจัย การเขียนบทคัดย่อควรใช้ข้อความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (concision) มีความถูกต้อง (precision) และมีความชัดเจน (clarity) บทคัดย่อควรเขียนเรื่องสำคัญ ๆ ที่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ควรประกอบด้วย  

1) ที่มาของความสำคัญที่เกี่ยวข้องของงานวิจัย 

2) วัตถุประสงค์ ควรระบุวัตถุประสงค์ของงานวิจัยให้ชัดเจน และอาจใส่ขอบเขตของเนื้อหางานวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่างานวิจัยต้องการทราบอะไร  

3) ระบุขั้นวิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง จำนวนตัวอย่าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ช่วงเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือข้อมูลสมมติฐานอื่นใดที่สำคัญต่องานวิจัย 

4) ผลการศึกษา ระบุข้อค้นพบ (ผลการวิจัย) จากงานวิจัยที่โดดเด่นที่สุด ควรเลือกข้อมูลที่สำคัญมากที่สุดจากงานวิจัย โดยสัมพันธ์กับคำสำคัญจากชื่อเรื่องด้วย 

5) สรุปผลการวิจัย สรุปรวบยอดผลการวิจัยและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายหรือวิธีการปฏิบัติประเด็น ซึ่งมีไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปปฏิบัติได้โดยการบอกกับผู้อ่านว่าความรู้ที่ได้จากการศึกษาของผู้วิจัยจะช่วยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาได้อย่างไร หรือมีประสิทธิภาพ และ/หรือ มีคุณค่าอย่างไร นอกเหนือจากองค์ประกอบข้างต้นแล้วผู้เขียนอาจเพิ่มเติมส่วนข้อเสนอแนะ หรือสิ่งควรต่อยอดเพิ่มเข้าไปได้หากเห็นสมควร วันนี้เรามีเทคนิคดีๆมาฝากกันค่ะ

image0 (6).jpeg

1. ควรคัดแต่เรื่องสำคัญ ๆ ที่เป็นประเด็นน่าสนใจทั้งหมด 

บทคัดย่อที่ดี จะต้องเน้นการถ่ายทอดเฉพาะ จุดเด่นของการศึกษา โดยงานวิจัยมีความชัดเจน สั้น กะทัดรัด พอดีกับกฎเกณฑ์บางอย่างของบทคัดย่อที่ดี เช่น จำนวนคำต้องอยู่ระหว่าง 200-250 คำ หรือประมาณไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4

2.ควรอ่านและทำความเข้าใจกับงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของตนเอง

 ก่อนการเขียนบทคัดย่อ เพื่อหา ประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดึงดูดให้ผู้อ่านทั่วไปอยากอ่านวิจัยเล่มสมบูรณ์

3. ไม่มีการตีความหรือวิภาควิจารณ์โดยใช้ความคิดของตนเอง

4. ไม่ควรเขียนประโยคที่เข้าใจยาก 

หรือมีความรุนแรงในตัวมาใช้ ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะท้องถิ่น ไม่ใช้ตัวย่อ หรือสัญลักษณ์โดยไม่จำเป็น เพราะอาจสร้างความไม่เข้าใจให้ผู้อ่านได้

5. ไม่มีการอ้างอิงต่างๆ

ในการอ้างอิงตัวเลข แผนภาพ ตาราง โครงสร้างสูตรสถิติต่าง ๆ หรือสมการต่าง ๆ ในบทคัดย่อ นอกจากจำเป็นที่จะแสดงผลการวิเคราะห์

6. มีหลายย่อหน้าได้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ผู้อ่านในแต่ละตอน

7. หลีกเลี่ยงการอ้างอิงงานวิจัยของผู้อื่นในบทคัดย่อ

8. ทำตามขั้นตอนของโครงสร้างการเขียนบทคัดย่อ 

โดยต้องระมัดระวังให้มากรวมถึงลักษณะแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร การกำหนดขอบเขตหน้ากระดาษ เคร่งครัดต่อหลักการพิมพ์ และรูปแบบที่เป็นที่ยอมรับ ควรระมัดระวังในการตรวจสอบการเขียนโดยอ่านหลาย ๆ รอบ จะเป็นการเพิ่มคุณภาพของบทคัดย่อให้เป็นที่ ยอมรับในการนำเสนองานวิจัย

 เทคนิคการเขียนบทคัดย่อ  ควรเขียนบทคัดย่อหลังสุด  เนื่องจากการเขียนบทคัดย่อจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในเนื้อหาสำคัญทั้งหมดของงานวิจัยที่ได้ศึกษาก่อน  และตรวจสอบและทำความเข้าใจข้อกำหนดสำหรับการเขียนบทคัดย่อ เช่น กำหนดจำนวนคำในบทคัดย่อ อ่านแล้วลองนำไปปรับใช้ในงานวิจัยของคุณได้เลยค่ะ

ที่มา : การเขียนบทคัดย่อสำหรับงานวิจัย

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต