จาะธุรกิจ ‘รับทำวิทยานิพนธ์’ : ช่องโหว่การศึกษา ปริญญาแกมโกง ?

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล  12 May 2017

หากจุดประสงค์ของการศึกษา คือการเพิ่มพูนปัญญาความรู้ คนที่สมาทานตนเป็น ‘นักศึกษา’ ไม่ว่าในระดับใดก็แล้วแต่ ย่อมต้องขวนขวายร่ำเรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ต่างๆ นานา เพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการหาเลี้ยงชีพต่อไป

ทว่าเมื่อโลกของการศึกษา ถูกนำมาหลอมรวมเข้ากับคำว่าธุรกิจ จุดประสงค์ดั้งเดิมของมันจึงเบี้ยวบิด และเปิดโอกาสให้คนกระทำการทุจริตเพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘ผลการศึกษา’ (ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเกรด ใบปริญญา หรือคำนำหน้าทางวิชาการ) ที่สามารถนำไป ‘ใช้ประโยชน์’ ต่อได้

หนึ่งในธุรกิจที่เฟื่องฟูก็คือธุรกิจ ‘รับทำวิทยานิพนธ์’ ซึ่งหลายคนคงเคยเห็น หรืออาจเคยใช้บริการกันมาบ้าง

หลายคนมองว่านี่คือ ‘รอยด่าง’ ทางการศึกษา แต่บางคนกลับมองมันในฐานะของ ‘ตัวช่วย’ ที่น่าแปลกคือในหลายประเทศ ธุรกิจประเภทนี้กลับถูกกฎหมายซะด้วย!

ทั้งนี้ คำถามที่น่าคิดก็คือ ธุรกิจที่ว่านี้ควรเป็นสิ่งที่ ‘ยอมรับได้’ หรือไม่ ?

ในอเมริกา ธุรกิจรับจ้างเขียนบทความหรือทำวิจัยเพื่อการศึกษานั้นมีมานานนับศตวรรษแล้ว เริ่มจากเหตุการณ์สามัญในหอพักนักศึกษา ซึ่งมีการ ‘แชร์การบ้าน’ กันในหมู่นักศึกษาไฮสคูล ก่อนที่นักศึกษาบางกลุ่มจะมองเห็นลู่ทางว่าแทนที่จะปล่อยให้แชร์หรือลอกกันแบบฟรีๆ ก็หารายได้จากมันเสียเลย

วิธีการที่นักศึกษากลุ่มนี้ใช้ ก็คือการรับจ้างเขียนงานแบบเอนกประสงค์ ตั้งแต่รายงานชิ้นเล็กๆ ไปจนถึงงานวิจัยก่อนจบการศึกษา โดยมี ‘นักเขียนเงา’ หรือโกสต์ไรเตอร์เป็นบรรดารุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้ว

ที่สำคัญคือทำกันแบบโจ่งแจ้งเสียด้วย โดยมีการติดประกาศไปทั่วตามสถานศึกษาต่างๆ ขณะที่นักศึกษาก็หันมาใช้บริการกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในช่วงยุค 1960s – 1970s ที่เกิดกระแสการต่อต้านการศึกษาในระบบ ด้วยเหตุที่ว่าวิชาการที่สั่งสอนกันในห้องเรียน รวมไปถึงรายงานต่างๆ ที่ต้องทำนั้น ไม่น่าสนใจเท่ากับการออกไปทำกิจกรรมตามใจชอบนอกห้องเรียน ส่งผลให้ธุรกิจรับจ้างเขียนงานยิ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และกลายเป็นธุรกิจที่แพร่หลายในเวลาต่อมา รู้จักกันในชื่อ ‘Essay Mill’ หรือโรงงานผลิตข้อเขียน

ขั้นตอนการให้บริการก็แสนง่าย เพียงแค่เดินเข้าไปบอกว่าต้องการงานเขียนหัวข้ออะไร ความยาวเท่าไหร่ กำหนดเวลาที่ต้องส่ง พร้อมตกลงค่าใช้จ่าย ทีมงานคุณภาพก็พร้อม ‘เขียนงานตามสั่ง’ ให้ได้ทันที และนับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 90s เป็นต้นมา ธุรกิจนี้ก็เริ่มเข้าถึงผู้คนได้สะดวกและกว้างขวางขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์

ทว่าในทางกลับกัน ก็ทำให้ถูกจับตาและเพ่งเล็งจากองค์กรด้านการศึกษา ว่าเข้าข่ายการกระทำที่ ‘ทุจริต’ หรือไม่

แม้จะไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย แต่ในทางศีลธรรม นี่ย่อมไม่ใช่ธุรกิจที่ ‘สะอาด’ อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้บรรดา ‘Essay Mill’ สามารถดำเนินการได้อย่างถูกกฎหมาย ก็คือการกำหนดเงื่อนไขว่าลิขสิทธิ์ในงานเขียนทั้งหมดนั้นเป็นของบริษัท ส่วนลูกค้าที่เป็นคนจ้าง จะมีกรรมสิทธิ์ในตัวงานแบบจำกัดเท่านั้น และไม่สามารถนำไปตัดต่อหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต

อย่างไรก็ดี ในหลายๆ รัฐมีความพยายามที่จะตั้งกฎหมายของตัวเองขึ้นมาเพื่อจัดการกับปัญหานี้ เพราะพวกเขามองว่านี่คือการฉ้อฉลทางวิชาการ (academic fraud) ทว่าเหล่าบริษัททั้งหลายก็ยังคงหาทางหนีทีไล่กันได้แบบไม่จนมุม

หนึ่งในบริษัทที่ถูกกล่าวหา ถึงกับขึ้นประกาศตอบโต้บนเว็บไซต์ว่า “บริการของเราก็เหมือนกับการเข้าห้องสมุด เราเพียงแต่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ ผู้หยิบยื่นวัตถุดิบอะไรก็ตามที่จะทำให้คุณได้เกรดที่ดี และทำหน้าที่จัดการงานของคุณให้ลุล่วง ตามที่คุณได้วางแนวทางไว้”

จนถึงทุกวันนี้ การถกเถียงถึงความชอบธรรมของธุรกิจนี้ ยังไม่เป็นที่สิ้นสุด โดยฝ่ายที่สนับสนุนนั้นมองว่าธุรกิจนี้จริงๆ แล้วก็เป็นเหมือนไกด์นำทาง บ้างก็บอกว่าเป็นเหมือนคนตรวจภาษา โดยเฉพาะนักศึกษาที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ที่มักจะใช้บริการบริษัทเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการ ‘ขัดเกลาภาษา’ ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ส่วนฝั่งที่ไม่เห็นด้วยนั้น มองว่านี่เป็น ‘การลอกเลียนวรรณกรรม’ (Plagiarism) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวบ่อนทำลายแวดวงการศึกษา

นอกจากอเมริกา หลายประเทศก็มีธุรกิจที่ว่านี้ที่สามารถเปิดให้บริการอย่างถูกกฎหมายเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะดำเนินการในรูปแบบที่แนบเนียน ด้วยเงื่อนไขและคำอธิบายที่แตกต่างกันไป

สำหรับประเทศไทยเราก็มีบริษัทหรือคนที่รับงานประเภทนี้เช่นกัน แต่อาจไม่โจ่งแจ้งหรือแพร่หลายอย่างในอเมริกา

ยิ่งในช่วงหลายปีมานี้ มีข่าวคนดังในแวดวงวิชาการหลายคน ถูกขุดค้นประวัติการทุจริตทางการศึกษา นำผลงานของคนอื่นมาดัดแปลง ลอกเลียน ชนิดที่เรียกว่า ‘เหมือน’ จะน่าตกใจ ส่งผลให้ถูกลงโทษ ถอดถอนปริญญา ยิ่งกว่านั้นคือการเสื่อมเสียชื่อเสียง ทำให้การรับจ้างเขียนงานในลักษณะนี้มีความเสี่ยงมากขึ้น

อย่างไรก็ดี จากการสืบเสาะข้อมูลเกี่ยวกับคนที่เคยทำและเคยใช้บริการประเภทนี้ เราพบว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย

เริ่มจาก ‘ประเภท’ ของงาน งานส่วนใหญ่ที่บริษัทหรือผู้รับทำวิทยานิพนธ์ทำนั้น จะเน้นไปที่งาน ‘ภาษาอังกฤษ’ ของนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยเหตุผลหลักๆ ก็มาจากการที่ลูกค้า หรือนักศึกษาที่มาจ้างนั้น ไม่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาษาอังกฤษให้ถูกหลักวิชาการ

พูดง่ายๆ ว่า ถ้าอยาก ‘ผ่าน’ ก็ต้องจ้างให้คนช่วย ตั้งแต่การเขียนเป็นภาษาไทยแล้วเอามาให้ช่วยแปล ไปจนถึงช่วยเขียน และบางครั้งก็ต้องมีการ ‘ติว’ เพื่อให้สามารถนำเสนอและตอบคำถามอาจารย์ได้อย่างราบรื่น

ค่าใช้จ่ายนั้นเริ่มตั้งแต่หลักหมื่นต้นๆ ไปจนถึงหลักแสน ขึ้นอยู่กับความยากง่าย และรายละเอียดของงาน ส่วนกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการกันเยอะ (และแทบจะเป็นเรื่องปกติ) คือกลุ่มของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนที่มีฐานะดี และใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนเป็นหลัก

นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่ง ถึงกับระบายความในใจลงในบล็อคส่วนตัวว่าเพื่อนๆ ในมหาลัยจำนวนไม่น้อย มองว่านี่เป็นเรื่องปกติที่ ‘ใครๆ ก็ทำกัน’ ส่วนคนที่ไม่ทำ หลายครั้งก็มักถูกเหน็บแนมทำนองว่า ‘ไม่ไฮโซ’ เสียอย่างนั้น…

อีกประเด็นที่น่าสนใจ คือการนำเสนอจุดขายของบริษัทต่างๆ ซึ่งมักการันตีความเสี่ยงว่าจะไม่โดนจับ ไม่ว่าเป็นการช่วยติวเข้มก่อนนำเสนอ การใช้โปรแกรมตรวจสอบคำซ้ำ หรือกระทั่งการย้ำว่าเป็นงานที่เขียนใหม่ทั้งหมด

บริษัทหนึ่งที่รับทำเฉพาะงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มีการรับประกันอย่างชัดเจนว่าจะไม่มีเนื้อหาที่ลอกเลียนแบบ หรือ ‘Plagiarised content’ 100% เพราะงานจะได้รับการสแกนโดย ‘Turn it in’ โปรแกรมที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกใช้ในการตรวจหาข้อความซ้ำในวิทยานิพนธ์และงานวิจัยต่างๆ

ในขณะที่การตรวจสอบการลอกเลียนวิทยานิพนธ์ ยังปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะ และถูกมองในฐานะของการกระทำความผิดเชิงวิชาการ

แต่กับการตรวจสอบ ‘การรับทำวิทยานิพนธ์’ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่คนในแวดวงการศึกษาไทยยังไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก ซึ่งถ้ามองในแง่ของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา หรือกระทั่งใบปริญญา ที่คนๆ นั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือ ‘อ้างเครดิต’ ในหน้าที่การงานได้ ผลเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นย่อมไม่ต่างกัน

และอาจร้ายแรงยิ่งขึ้น–หากคนเหล่านั้นได้เข้ามามีบทบาทเป็นผู้บริหารองค์กรใหญ่ๆ หรือทำหน้าที่สำคัญในระดับประเทศ

อ่านเพิ่มเติม

– บทความ ‘Cheating Goes Global as Essay Mills Multiply’ ของ Thomas Bartlett จาก The Chronicle of Higher Education, March 20, 2009

– บทความ ‘Essay mills — a coarse lesson on cheating’ ของ Dan Ariely จาก Los Angeles Times, June 17, 2012

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

เทคนิคการเขียน Essay ให้ดีเยี่ยม!

เทคนิคการเขียน Essay ให้ดีเยี่ยม!

การเขียน Essay ที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าคุณมีแผนที่ชัดเจนและเทคนิคที่เหมาะสม ลองทำตามเคล็ดลับง่าย ๆ เหล่านี้ เพื่อทำให้ Essay ของคุณดึงดูดความสนใจและมีความสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ 🌟 1. เริ่มต้นด้วย Thesis Statement ที่ชัดเจน 🎯กำหนดประเด็นหลักที่คุณต้องการสื่อ และตั้งคำถามที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าบทความของคุณมีจุดประสงค์อะไร ทำให้การเขียนมีทิศทางและสอดคล้องกัน 2. วางโครงสร้างและจัดระเบียบหัวข้อ 🗂️แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ เช่น บทนำ

วิจัยเผย ‘วาซาบิ’ อาจช่วย ‘ผู้สูงอายุ’ ให้ความจำดีขึ้นได้

วิจัยเผย ‘วาซาบิ’ อาจช่วย ‘ผู้สูงอายุ’ ให้ความจำดีขึ้นได้

เป็นที่รู้กันในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่า “วาซาบิ” (wasabi) ดีต่อสมอง แต่ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับพืชชนิดนี้กับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมมากที่สุด ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นจึงได้ทำการวิจัยและค้นคว้าในเรื่องดังกล่าว การศึกษาซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients โดยให้กลุ่มอาสาสมัครผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งรับประทานวาซาบิแบบเม็ดทุกวัน และอีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอกทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากใน “วาซาบิ” มีส่วนผสมที่ชื่อว่า 6 เมทิลซัลฟินิล เฮกซิล ไอโซไทโอไซยาเนต (6 methylsulfinyl hexyl isothiocyanate:

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ในยุคที่เทคโนโลยีและการเชื่อมต่อออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัว ธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน การเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลช่วยป้องกันเราจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ 🛡️📱 ⚠️ เหตุผลที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความสำคัญ: 💡 เคล็ดลับง่ายๆ ในการเสริมความปลอดภัย: การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพื่อปกป้องข้อมูลและรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัล 🌟🔐 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️

ปวดหัวกับงานวิจัยทำไงดี ?

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ให้เราช่วยคุณสิ 👍 เรามีทีมงาน และพร้อมบริการ วิจัย  วิทยานิพนธ์  สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ (IS) / เก็บข้อมูลแบบสอบถาม Online-Offline / บทความวิจัย  / วิชาการ แผนธุรกิจ การตลาด / ทำผลงาน  เลื่อนขั้น ตีพิมพ์  และอื่น ๆ  🗣