จาะธุรกิจ ‘รับทำวิทยานิพนธ์’ : ช่องโหว่การศึกษา ปริญญาแกมโกง ?

พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล  12 May 2017 หากจุดประสงค์ของการศึกษา คือการเพิ่มพูนปัญญาความรู้ คนที่สมาทานตนเป็น ‘นักศึกษา’ ไม่ว่าในระดับใดก็แล้วแต่ ย่อมต้องขวนขวายร่ำเรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ต่างๆ นานา เพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการหาเลี้ยงชีพต่อไป ทว่าเมื่อโลกของการศึกษา ถูกนำมาหลอมรวมเข้ากับคำว่าธุรกิจ จุดประสงค์ดั้งเดิมของมันจึงเบี้ยวบิด และเปิดโอกาสให้คนกระทำการทุจริตเพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘ผลการศึกษา’ (ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเกรด ใบปริญญา หรือคำนำหน้าทางวิชาการ) ที่สามารถนำไป ‘ใช้ประโยชน์’ ต่อได้ หนึ่งในธุรกิจที่เฟื่องฟูก็คือธุรกิจ ‘รับทำวิทยานิพนธ์’ ซึ่งหลายคนคงเคยเห็น หรืออาจเคยใช้บริการกันมาบ้าง หลายคนมองว่านี่คือ ‘รอยด่าง’ ทางการศึกษา แต่บางคนกลับมองมันในฐานะของ ‘ตัวช่วย’ ที่น่าแปลกคือในหลายประเทศ ธุรกิจประเภทนี้กลับถูกกฎหมายซะด้วย! ทั้งนี้ คำถามที่น่าคิดก็คือ ธุรกิจที่ว่านี้ควรเป็นสิ่งที่ ‘ยอมรับได้’ หรือไม่ ? ในอเมริกา ธุรกิจรับจ้างเขียนบทความหรือทำวิจัยเพื่อการศึกษานั้นมีมานานนับศตวรรษแล้ว เริ่มจากเหตุการณ์สามัญในหอพักนักศึกษา ซึ่งมีการ ‘แชร์การบ้าน’ กันในหมู่นักศึกษาไฮสคูล ก่อนที่นักศึกษาบางกลุ่มจะมองเห็นลู่ทางว่าแทนที่จะปล่อยให้แชร์หรือลอกกันแบบฟรีๆ ก็หารายได้จากมันเสียเลย วิธีการที่นักศึกษากลุ่มนี้ใช้ ก็คือการรับจ้างเขียนงานแบบเอนกประสงค์ ตั้งแต่รายงานชิ้นเล็กๆ ไปจนถึงงานวิจัยก่อนจบการศึกษา โดยมี ‘นักเขียนเงา’ […]

<strong>5 ทักษะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานวิจัย</strong><strong></strong>

บทความนี้เราจะพาคุณพบกับ 5 ทักษะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานวิจัยและที่สำคัญ ทักษะเหล่านี้ยังสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานอื่นๆ ของคุณได้เป็นอย่างดี 1. การอ่านช่วยสร้างสมาธิด้วย การอ่านนอกจากจะทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มขึ้นแล้ว จะช่วยพัฒนาสมาธิได้ดี ทำให้สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งต่างๆ ตรงหน้าได้นาน สิ่งที่เป็นที่ตามมาจะทำให้เป็นคนช่างสังเกต ใส่ใจรายละเอียด และสามารถจับประเด็นจากเรื่องที่อ่านได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถเชื่อมโยงประเด็นและเกาะติดกับประเด็นนั้นได้ *ทริคง่ายๆ ที่จะทำให้คุณอ่านและจับประเด็นได้ง่าย คือ เขียนสรุปประเด็นที่อ่านใส่โน้ตย่อไว้ จะเป็นการเตือนความจำ เมื่อคุณต้องการที่จะใช้ความรู้ที่ได้จากประเด็นเหล่านั้นได้ง่าย 2. รับฟังเพื่อกลั่นกรองข้อมูล  นอกจากการอ่านแล้ว การฟังเป็นทักษะที่ควรพัฒนา เพราะการฟังจะทำให้คุณได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าจากการสนทนาและการฟัง ทักษะการฟังที่ดี คือ ไม่ด่วนตัดสินตีความไปก่อนจนหว่าจะฟังจบ ไม่เอาความคิดเห็นตนเป็นที่ตั้งว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด คุณควรจะรับฟังเพื่อข้อมูลก่อนและค่อยๆ คิดวิเคราะห์ตาม 3. คิดต่าง มองต่าง “การพัฒนาทักษะในการคิด โดยการตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ จะทำให้คุณมองเห็นมุมมองในด้านต่างๆ  ผลักดันให้อยากรู้ อยากทดลอง จนเกิดความรู้ใหม่ๆ ให้แก่ตนเอง” สำหรับการเขียนทุกประเภททักษะการคิด จะช่วยให้งานของคุณถ่ายทอดผลงานที่มีความแตกต่าง ไม่ซ้ำใคร เพราะการที่คุณมีความคิดที่เป็นระบบ มีจินตนาการ และคิดนอกกรอบ สำหรับการทำงานวิจัยจะช่วยทำให้คุณสามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ล่วงหน้าได้ และมองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น สามารถเขียนเรียบเรียงงาน ถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างเป็นระเบียบ และเป็นขั้นตอน […]

<strong>10 เทรนด์ของโลกที่น่าจับตามองในปี 2022</strong><strong></strong>

อย่างที่รู้กันว่า.. ปี ค.ศ.2021 นี้ เป็นปีที่ทั่วโลกต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อก้าวผ่านวิกฤตโรคระบาด ในปี ค.ศ.2022 ที่กำลังจะถึง โลกก็จะยังต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นผลจากวิกฤตในปีนี้ อย่างเช่นวิถีการทำงานและการท่องเที่ยวแบบใหม่ ไปจนถึงเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นและอาจทำให้เจอกับสถานการณ์ที่ไม่เคยเจอมาก่อน อย่างการผงาดขึ้นของจีนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในบทความนี้ เราได้รวบรวม 10 เทรนด์ของโลกที่น่าจับตามองในปี 2022 1. ประชาธิปไตย vs เผด็จการ (Democracy vs Autocracy) ปีหน้าจะมีการเลือกตั้งมิดเทอมของอเมริกา และการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เราน่าจะได้เห็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญจากสองระบอบการเมืองจากสองขั้วมหาอำนาจของโลก ฝ่ายไหนจะสร้างความมั่นคง การเติบโต และนวัตกรรมได้มากกว่ากัน? ทั้งในด้านการค้าขาย การกำกับดูแลด้านเทคโนโลยี การพัฒนาวัคซีน ไปจนถึงเรื่องของสถานีอวกาศ 2. โรคระบาดใหญ่ที่กลายเป็นโรคประจำถิ่น (Pandemic to Endemic) ในปีหน้า เราจะได้พบกับยาต้านไวรัสชนิดใหม่ การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันที่พัฒนาขึ้น และวัคซีนอื่นๆ ที่กำลังพัฒนาตามมา สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ไวรัสจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตอีกต่อไป แต่มันจะยังคงก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงในประเทศกำลังพัฒนา เว้นแต่จะสามารถเพิ่มวัคซีนได้ และ COVID-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นอีกโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์แก่คนจน แต่ไม่ใช่คนรวย 3. เงินเฟ้อ […]

4 เทคนิคคิดหัวข้อ IS ตั้งยังไงให้ผ่านฉลุย

ในระดับการศึกษาปริญญาโทนอกจาการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะต้องจัดทำ คือ การค้นคว้าอิสระ หรือการทำ is (independent study) ซึ่งบทความนี้เราจะมาพูดถึงเทคนิคการตั้งหัวข้อ is อย่างไรถึงผ่านง่าย เป็นขั้นตอนง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง พบกับ 4 เทคนิคคิดหัวข้อ is ตั้งยังไงให้ผ่านฉลุย เทคนิคที่ 1 คิดหัวข้อจากปัญหาและความสงสัยในเรื่องที่ตนเองสนใจ การตั้งหัวข้อ is เริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมรอบตัว หรือมีสิ่งที่คุณสงสัยต้องการหาคำตอบของเรื่องนั้นๆ โดยเริ่มต้นจากตัวของผู้ที่จะทำนั่นเอง หัวข้อที่ดีต้องไม่ซ้ำกับเรื่องที่มีผู้ทำก่อนนี้แล้ว เนื่องจากจะไม่สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาของตนเองที่ต้องการรู้ได้ เทคนิคที่ 2 ชื่อเรื่องที่แปลกใหม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หัวข้อที่มีความแปลกใหม่และแตกต่างจากเรื่องที่เคยมีผู้ทำมาแล้ว มีโอกาสที่จะทำให้การเสนอหัวข้อ is ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาผ่านการขออนุมัติได้ง่ายขึ้น เพราะการตั้งหัวข้อแบบเดิมๆ ที่มีคนทำมาแล้วไม่สามารถดึงดูดความสนใจและเห็นความแตกต่างจึงทำให้มีโอกาสผ่านการอนุมัติได้ยาก เทคนิคที่ 3 หัวข้อเรื่องต้องมีความชัดเจนว่าต้องการค้นคว้าอะไร หัวข้อการทำ is จะต้องกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการค้นคว้าให้ชัดเจน เช่น ศึกษาอะไร มีกลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่างเท่าไหร่ ทำที่ไหน อย่างไร ระเบียบวิธีการศึกษาค้นคว้ามีว่าอย่างไรบ้าง เพราะชื่อหัวข้อเปรียบเสมือนแนวทางที่กำหนดแผนการในการทำงานที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น เพราะหากไม่มีแนวทางที่ดีและชัดเจน ในการลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้เกิดความสับสน ทำงานซ้ำซ้อนไปมา […]