การคิดหัวข้อวิจัย แบบไม่ได้เริ่มต้นที่ทฤษฎี 100 % ทำได้หรือไม่

การคิดหัวข้อวิจัย แบบไม่ได้เริ่มต้นที่ทฤษฎี 100 % ทำได้หรือไม่
.
“From Theory-driven to Problem-driven or Data-driven Research”
.
วันนี้จะพักเรื่องเกี่ยวกับสถิติและกลับมาพูดกันถึงการวิจัยสักนิด โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิด Research Idea หรือ Research Question หลายครั้งเรามักติดกับดักความคิดที่ทำให้เราไม่สามารถทำวิจัยต่อได้ เพราะอ้างว่าหาหัวข้อการวิจัยไม่ได้ หรือหัวข้อการวิจัยไม่ดีพอเราจึงหยุดทำต่อไป
.
ต้องยอมรับว่าการหาไอเดียการวิจัยโดยอ้างอิงการ Challenge Assumption ของทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งต้องใช้เวลาและอาศัยการสเคราะห์ที่ลึกซึ้ง ในความจริงแล้วการคิดหัวข้อวิจัยอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นที่ทฤษฎีก่อนเสมอไป การเริ่มหัวข้อการวิจัยอาจเริ่มที่การวิเคราะห์ข้อมูลหรือปัญหาในการนำไปใช้ได้
.
นักวิชาการ/นักวิจัยสามารถเริ่มต้นคิดไอเดียการวิจัยได้โดยวิธีอื่นๆ ในที่นี่จะกล่าวถึง 2 วิธี คือ
.

  1. Data-driven Research คือ การหาหัวข้อการวิจัยโดยให้ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นตัวผลักดันและคิดหัวข้อวิจัย หัวใจของวิธีนี้ คือ การหาหัวข้อและไอเดียโดยให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นตัวเล่าเรื่อง สร้างแนวคิดวิจัยใหม่ในหัวข้อที่สนใจ อาจจะเป็นการทดสอบแนวคิดวิจัยใหม่ๆ ที่นักวิจัยยังไม่เคยทดสอบ เริ่มต้นการวิเคราะห์โดยข้อมูลที่มีอยู่ ทำการวิเคราะห์โดยปราศจากคำถามวิจัยใดใด ข้อมูลประเภท Big Data และ Data Analytics เหมาะที่จะทำการวิเคราะห์และค้นหาหัวข้อการวิจัยในมุมนี้
    .
    การวิจัยแบบ Data-driven research จะแตกต่างจาก Problem-drive research คือ จะเป็นการวิจัยที่ทำการเก็บข้อมูลหรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว (Big Data) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนที่ Specific problem จะถูกพัฒนาขึ้น บางครั้งอาจใช้การ Explore เช่นใช้ Cluster analysis แบ่งกลุ่มหรือดู Pattern ของข้อมูลแล้วพยายามอธิบาย
    .
  2. Problem-drive Research คือ การหาหัวข้อวิจัยโดยผลักดันจากปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติและพยายามหาคำตอบ และใช้แนวคิดการวิจัยจากแนวปฏิบัติมาพยายามปรับปรุงการทำงานที่กำลังทำอยู่ คิดคำถามวิจัยจาก Practical Problem เช่นจำทำอะไรที่แตกต่างจากเดิมเพื่อให้ดีขึ้น การทำแตกต่างจากเดิมต้องอาศัยกลไกใดบ้าง ออกแบบการวิจัยตามปัญหาที่ต้องการหาคำตอบ เป็นการทำวิจัยในเชิงปฏิบัติที่นำไปสู่แนวคิดหรือโมเดล
    .
    อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็น Data-driven หรือ Problem-driven Research ถ้าจะเป็นการวิจัยเชิงวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทักถอทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่ออธิบายหรือสร้าง Argument ของปรากฎการณ์หรือแนวคิดการวิจัยที่เกิดขึ้น ถ้าปราศจากส่วนสำคัญนี้ก็จะไม่เป็นงานวิจัยเชิงวิชาการที่สมบรูณ์ คำนี้สำคัญ คือคำว่า “Merging Theory to Practice”
    .
    (อย่าเข้าใจผิดว่า Problem หรือ Data-driven research คือการละเลยทฤษฎี)
    .
    ส่วนอีกแบบหนึ่ง คือ Theory-driven Research แบบนี้ คือ หลักทั่วไปของงานวิจัยเชิงวิชาการที่เริ่มต้นจากการ Challenge Assumption ของทฤษฎีที่มีอยู่ พยายามหาช่องว่างของการสร้าง argument จากทฤษฎีในปัจจุบัน แบบนี้จะสร้าง Contribution ทางทฤษฎีได้มาก อย่างไรก็ตามแบบนี้ก็ยังเป็นแบบที่ครบถ้วนในการทำวิจัยเชิงวิชาการ
    .
    สาเหตุของข้อเขียนวันนี้ สืบเนื่องจากมีอาจารย์หลายท่านมักถามว่าจะทำอย่างไรดีถ้าต้องทำวิจัยในเชิงปฏิบัติจะด้วยสาเหตุใดใดก็ตาม เช่น เข้าไปช่วยองค์การในการปรับปรุงการทำงานแก้ปัญหาเชิงปฏิบัติ และจะทำยังไงต่อถ้าอยากจะไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และขอตำแหน่งวิชาการ
    .
    คำตอบ คือ ไม่มีปัญหาและเป็นไปได้ ที่ให้ Problem หรือ Data -driven ก่อน แต่จะต้องมีส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนที่นำเอาทฤษฎีที่เหมาะสมมาอธิบายคำตอบที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลหรือ Practical problem ที่เกิดขึ้น
    .
    ปัจจุบันแนวทางการวิจัยขยับออกไปมากขึ้นสู่ Practical-based โดยเฉพาะในยุคของ Data Analytics
    .
    ลองอ่านบทความนี้ โดย Simchi-Levi (2013) ที่อ้างอิงถึงกันดู
    .
    .
    Ref:
    Simchi-Levi, D. (2013). Om forum—om research: From problem-driven to data-driven research. Manufacturing & Service Operations Management, 16(1), 2-10.

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

จัดตารางเรียน/ทำงานอย่างไรให้สมดุลชีวิตในปีใหม่

จัดตารางเรียน/ทำงานอย่างไรให้สมดุลชีวิตในปีใหม่

 ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่ดีในการปรับสมดุลชีวิตให้ลงตัว การจัดตารางเวลาให้เหมาะสมจะช่วยให้คุณทำงานหรือเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเวลาพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูพลังงานอย่างสมดุล 🗓️ วางแผนล่วงหน้าและตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน แบ่งเวลาให้ชัดเจนสำหรับการเรียน การทำงาน และเวลาส่วนตัว  ⏳ ใช้เทคนิค Time Blocking แบ่งเวลาออกเป็นช่วง ๆ เช่น 25-30 นาทีสำหรับการทำงาน/เรียน และพักสั้น ๆ 5 นาที เทคนิคนี้ช่วยให้คุณโฟกัสและลดความเหนื่อยล้า  💆‍♂️💆‍♀️

บทบาทของการวิจัยในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม

บทบาทของการวิจัยในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม

ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การวิจัยเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค หรือการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น 🌟 📊 ทำไมการวิจัยจึงสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์: 🚀 การนำการวิจัยสู่การปฏิบัติ: การวิจัยไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการค้นหาคำตอบ แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญสู่การสร้างนวัตกรรมและการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน ✨ 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand .

งานวิจัย เผย คนไทยส่วนใหญ่ มักคลายเครียดด้วยการกิน

งานวิจัย เผย คนไทยส่วนใหญ่ มักคลายเครียดด้วยการกิน

ผลการวิจัยล่าสุดเผยว่า คนไทยส่วนใหญ่มักเลือกการ “กิน” เป็นวิธีคลายเครียดหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารจานด่วน ขนมหวาน หรือเครื่องดื่มรสชาติอร่อย เพราะเมื่อเครียด อาหารก็กลายเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด 😋 🍕 1. อาหารจานด่วน คำตอบของความเครียดไม่ว่าจะเป็นพิซซ่า เบอร์เกอร์ หรือเฟรนช์ฟรายส์ อาหารจานด่วนเป็นที่นิยมในหมู่คนที่ต้องการผ่อนคลายความเครียด ด้วยความสะดวกและรสชาติที่ตอบโจทย์ ทำให้หลายคนรู้สึกดีขึ้นทันที 🍰 2. ขนมหวาน ตัวช่วยผ่อนคลายใจของหวาน เช่น ช็อกโกแลต

การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance)

การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance)

การจัดการชีวิตให้มีความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสุขและความสำเร็จในระยะยาว ทั้งเรื่องการทำงานให้เต็มที่ และการใช้เวลาเพื่อตัวเองและครอบครัว 🌟 ✨ เคล็ดลับง่ายๆ ในการสร้างสมดุล: การสร้างสมดุลในชีวิตไม่ได้แค่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังช่วยให้คุณมีความสุขในทุกๆ วันอีกด้วย 💖😊 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand . #วิจัยตัวร้าย