สถิติพื้นฐานที่ใช้ในงานวิจัย

สถิติมี 2 ประเภท คือ

1. สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปข้อมูลที่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่มีการอ้างอิงไปยังประชากร แต่เป็นการบรรยายลักษณะข้อมูลเท่านั้น เช่น การแจกแจงความถี่ (frequency distribution) การวัดแนวโน้มเข้าสู้ส่วนกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล ฯลฯ การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาจะอยู่ในรูปตาราง (table) และแผนภูมิ (Chart) ชนิดต่างๆ

2. สถิติอ้างอิง (Inferential statistics) หรือสถิติอนุมาน เป็นสถิติที่ใช้เพื่อนำผลสรุปที่คำนวณได้จากการสุ่มตัวอย่าง ไปอธิบายหรือสรุปลักษณะของประชากรทั้งหมด วิธีที่ใช้ในการสรุปอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรนั้น คือ การประมาณค่า (Estimation) และการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis testing) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (analysis of variance) การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์ (regression and correlation analysis)

สถิติอ้างอิงจำแนกเป็น 2 ชนิดคือ

แบบอ้างอิงพารามิเตอร์ (Parametric statistics) (ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test, z-test, ANOVA, regression analysis ตัวแปรที่ต้องการวัดเป็น interval scale กลุ่มตัวอย่างจะต้องมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ กลุ่มประชากรจะต้องมีความแปรปรวนเท่ากัน)

และแบบไม่อ้างอิงพารามิเตอร์ (Nonparametric statistics) (ใช้สถิติ chi-square, medium test, sign test กลุ่มตัวอย่างเป็น free distribution เป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ไม่ทราบลักษณะการแจกแจงของประชากรที่สนใจจะศึกษา)

พารามิเตอร์ หมายถึง ค่าที่ใช้อธิบายคุณลักษณะประชากร (Population) เช่น ค่าเฉลี่ยของประชากร (population mean)

ค่าสถิติ หมายถึง ค่าที่ได้จากตัวอย่าง (sample) เช่น ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง (sample mean)

ลักษณะข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัย

– ข้อมูลเชิงปริมาณ แบ่งเป็นข้อมูลต่อเนื่อง (continuous data) คือค่าที่มีจุดทศนิยมได้ และข้อมูลไม่ต่อเนื่อง (discrete data) คือค่าที่เป็นจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ

– ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติ เช่น เพศ ตำแหน่งหรือจำแนกตัวแปรตามระดับการวัด ได้แก่

– นามบัญญัติ (nominal scale) จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม เช่น 1=ชาย 2=หญิง ตัวเลขไม่สามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้

– เรียงอันดับ (ordinal scale) ใช้สำหรับจัดอันดับที่หรือตำแหน่งของสิ่งที่ต้องการวัด เช่น ระดับการศึกษา ผลการเรียน ความเก่ง ตัวเลขอันดับที่แตกต่างกันไม่สามารถบ่งบอกถึงปริมาณความแตกต่างได้ เช่น ไม่สามารถบอกได้ว่าเก่งกว่ากันเท่าไหร่ ตัวเลขสามารถนำมาบวกหรือลบกันได้

– อันตรภาค หรือระดับช่วง (interval scale) กำหนดค่าตัวเลขโดยมีช่วงห่างระหว่างตัวเลขเท่าๆ กัน สามารถนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกันได้ว่าว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน เพราะไม่มีศูนย์ที่แท้จริง เช่น คะแนนสอบ อุณหภูมิ (อุณหภูมิ 0 องศา มิได้หมายความว่าจะไม่มีความร้อน) ตัวเลขสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้

– อัตราส่วน (ratio scale) สามารถกำหนดค่าตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัด มีศูนย์แท้ เช่น น้ำหนัก ความสูง อายุ สามารถนำตัวเลขมาบวก ลบ คูณ หาร หรือหาอัตราส่วนกันได้ (เช่น ถนน 50 กิโลเมตร ยาวเป็น 2 เท่าของถนน 25 กิโลเมตร)

หรือจำแนกตามหน้าที่ ได้แก่ ตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น) และตัวแปรตาม ซึ่งเป็นตัวแปรที่ต้องการศึกษา นอกจากนั้นอาจมีตัวแปรที่ไม่ได้ต้องการศึกษาแต่ต้องควบคุม เช่น ตัวแปรภายนอก (ตัวแปรเกิน หรือตัวแปรแทรกซ้อน) และตัวแปรเชื่อมโยง (ตัวแปรสอดแทรก)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายข้อมูลเชิงปริมาณ

– การแจกแจงข้อมูล ความถี่ (Frequency distribution) ร้อยละ (percentage)

– วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) นำข้อมูลทั้งหมดมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนข้อมูล / มัธยฐาน (median) เป็นสถิติในการจัดอันดับข้อมูล เป็นค่าที่อยู่ตรงกลาง เมื่อนำค่าที่ได้จากการวัดที่นำมาเรียงลำดับจากมากไปน้อย หรือน้อยไปมาก / ฐานนิยม (mode) หรือคะแนนที่มีความถี่สูงที่สุด

– บอกตำแหน่งของข้อมูล ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ไทล์ (percentile) เดไซล์ (decide) ควอไทล์ (quartile)

– วัดการกระจายของข้อมูล ได้แก่ พิสัย (range) หรือค่าสูงสุด-ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (quartile deviation) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ความแปรปรวนของข้อมูล (variance)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายข้อมูลเชิงคุณภาพ

ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) สัดส่วน (proportion) อัตราส่วน (ratio) ฐานนิยม (mode)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณ

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้นของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman’s correlation coefficient)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเชิงคุณภาพ

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเครเมอร์วี (Cramer’s V)

– สร้างตารางไขว้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (crosstabulation table)

ที่มา : สถิติพื้นฐานที่ใช้ในงานวิจัย

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

เทคนิคการเขียน Essay ให้ดีเยี่ยม!

เทคนิคการเขียน Essay ให้ดีเยี่ยม!

การเขียน Essay ที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าคุณมีแผนที่ชัดเจนและเทคนิคที่เหมาะสม ลองทำตามเคล็ดลับง่าย ๆ เหล่านี้ เพื่อทำให้ Essay ของคุณดึงดูดความสนใจและมีความสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ 🌟 1. เริ่มต้นด้วย Thesis Statement ที่ชัดเจน 🎯กำหนดประเด็นหลักที่คุณต้องการสื่อ และตั้งคำถามที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าบทความของคุณมีจุดประสงค์อะไร ทำให้การเขียนมีทิศทางและสอดคล้องกัน 2. วางโครงสร้างและจัดระเบียบหัวข้อ 🗂️แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ เช่น บทนำ

วิจัยเผย ‘วาซาบิ’ อาจช่วย ‘ผู้สูงอายุ’ ให้ความจำดีขึ้นได้

วิจัยเผย ‘วาซาบิ’ อาจช่วย ‘ผู้สูงอายุ’ ให้ความจำดีขึ้นได้

เป็นที่รู้กันในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่า “วาซาบิ” (wasabi) ดีต่อสมอง แต่ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับพืชชนิดนี้กับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมมากที่สุด ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นจึงได้ทำการวิจัยและค้นคว้าในเรื่องดังกล่าว การศึกษาซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients โดยให้กลุ่มอาสาสมัครผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งรับประทานวาซาบิแบบเม็ดทุกวัน และอีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอกทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากใน “วาซาบิ” มีส่วนผสมที่ชื่อว่า 6 เมทิลซัลฟินิล เฮกซิล ไอโซไทโอไซยาเนต (6 methylsulfinyl hexyl isothiocyanate:

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ในยุคที่เทคโนโลยีและการเชื่อมต่อออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัว ธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน การเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลช่วยป้องกันเราจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ 🛡️📱 ⚠️ เหตุผลที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความสำคัญ: 💡 เคล็ดลับง่ายๆ ในการเสริมความปลอดภัย: การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพื่อปกป้องข้อมูลและรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัล 🌟🔐 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️

ปวดหัวกับงานวิจัยทำไงดี ?

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ให้เราช่วยคุณสิ 👍 เรามีทีมงาน และพร้อมบริการ วิจัย  วิทยานิพนธ์  สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ (IS) / เก็บข้อมูลแบบสอบถาม Online-Offline / บทความวิจัย  / วิชาการ แผนธุรกิจ การตลาด / ทำผลงาน  เลื่อนขั้น ตีพิมพ์  และอื่น ๆ  🗣