การวิจัยแบบผสมผสาน

Screenshot 2563-04-13 at 23.13.58.png

Creswell, Plano, Clark, Gutman  and Hanson ให้ความหมายของการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research)  หมายถึง การวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลทั้งที่เป็นชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันหรือเป็นลำดับก่อนหลังก็ได้ โดยผู้วิจัยให้ความสำคัญกับข้อมูลเป็นอันดับแรกและเกี่ยวข้องกับการบูรณาการข้อมูล ณ จุดหนึ่งจุดใดในกระบวนการวิจัย

ความสำคัญของการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research)

                การวิจัยแบบผสมผสาน( Mixed Methods Research) มีความสำคัญตามแนวคิดของ Greene and others ; Trocim ; Creswell  ; Punch ; Viedero มี ดังนี้

1.             ผลการวิจัยจากวิธีการวิจัยแบบผสมผสานสามารถเสริมต่อกันโดยใช้ผลการวิจัยจากวิธีหนึ่ง

อธิบายขายความผลการวิจัยอีกวิธีหนึ่ง ช่วยให้การตอบคำถามการวิจัยได้ละเอียดชัดเจนมากกว่าการใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพเพียงรูปแบบเดียว

2.             การใช้ผลการวิจัยจากวิธีหนึ่งไปช่วยพัฒนาการวิจัยอีกวิธีหนึ่งหรือการใช้ผลการวิจัยวิธีหนึ่ง

ไปตั้งคำถามการวิจัยอีกวิธีหนึ่ง

3.             การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพต่างก็มีจุดเด่นในตนเอง สามารถนำจุดเด่นมาใช้

ในการแสวงหาความรู้ความจริงได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น

4.             การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพต่างก็มีจุดด้อยในตนเอง ผู้วิจัยสามารถนำจุดเด่น

ของการวิจัยเชิงปริมาณมาแก้ไขจุดด้อยของการวิจัยเชิงคูณภาพ ขณะเดียวกันอาจใช้จุดเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้แก้ไขจุดด้อยของการวิจัยเชิงปริมาณ

5.             สามารถนำผลผลิตจากการวิจัยแบบผสมผสานมาสร้างความรู้ความจริงที่สมบูรณ์สำหรับใช้

ในการปรับเปลี่ยนทฤษฎีหรือการปฏิบัติงาน

แบบแผนของการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research)

ในปัจจุบันมีแบบแผนการวิจัย  2 แบบแผน ดังนี้

แบบแผนที่ 1  การออกแบบการวิจัยเป็นลำดับ (Sequential Designs)  แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้

รูปแบบเชิงอธิบายเป็นลำดับ (Sequential Explanatory)

 การวิจัยรูปแบบนี้ผู้วิจัยจะแบ่งการวิจัยออกเป็นระยะ ๆ (Phases) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณก่อนในระยะที่หนึ่ง  แล้วดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เชิงคุณภาพในระยะที่สอง ผู้วิจัยจะให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงปริมาณมากกว่าเชิงคุณภาพ ซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพจะใช้เสริมหรือสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ การบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการตีความและการอภิปรายผล 

รูปแบบเชิงสำรวจเป็นลำดับ (Sequential Exploratory)

การวิจัยรูปแบบนี้ผู้วิจัยจะแบ่งการวิจัยออกเป็นระยะ ๆ (Phases) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพก่อนในระยะที่หนึ่ง  แล้วดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เชิงปริมาณในระยะที่สอง ผู้วิจัยจะให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ ซึ่งข้อมูลเชิงปริมาณจะใช้เสริมหรือสนับสนุนข้อมูลเชิงคุณภาพ การบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการตีความและการอภิปรายผล

รูปแบบเชิงปริวรรตเป็นลำดับ (Sequential Transformative) 

การวิจัยรูปแบบนี้ผู้วิจัยจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณก่อนในระยะที่หนึ่ง  แล้วดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพในระยะที่สอง ผู้วิจัยอาจจะให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ หรือข้อมูลเชิงปริมาณมากกว่าข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือให้ความสำคัญเท่า ๆ กัน ซึ่งข้อมูลจะใช้เสริมหรือสนับสนุนซึ่งกันและกัน  การบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการตีความและการอภิปรายผล

แบบแผนที่ 2  การออกแบบการวิจัยแบบเกิดพร้อมกัน (Concurrent Designs) แบ่งเป็น 3

รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบเชิงสามเส้าแบบเกิดพร้อมกัน (Concurrent Triangulation)  

การวิจัยรูปแบบนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมกัน ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับข้อมูลทั้งสองประเภทเท่ากัน การวิเคราะห์ข้อมูลอาจจะแยกกันและการบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการตีความข้อมูล  การตีความเป็นการอภิปรายว่าข้อมูลมาบรรจบกันมากน้อยเพียงใด การวิจัยประเภทนี้เหมาะที่ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้องหรือตรวจสอบผลการวิจัยที่ได้จากแต่ละวิธี

รูปแบบเชิงฝังตัวแบบเกิดพร้อมกัน (Concurrent Embedded) 

การวิจัยรูปแบบนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมกัน แต่ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับข้อมูลทั้งสองประเภทไม่เท่ากัน ข้อมูลที่ฝังตัวอยู่ข้างในจะมีความสำคัญน้อยกว่า ซึ่งข้อมูลที่ฝังตัวจะใช้เพื่อตอบคำถามการวิจัยที่ต่างออกไป การวิเคราะห์ข้อมูลมักเป็นการแปรรูปข้อมูล การบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล  การวิจัยประเภทนี้เหมาะที่ใช้เพื่อศึกษาหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่งในมุมกว้าง ๆ และในการศึกษากลุ่มหลายกลุ่มในงานวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ

รูปแบบเชิงปริวรรตแบบเกิดพร้อมกัน (concurrent Transformative) 

การวิจัยรูปแบบนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมกัน ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจให้ความสำคัญกับข้อมูลทั้งสองประเภทเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ การวิเคราะห์ข้อมูลมักเกิดแยกกัน การบูรณาการจะเกิดขึ้นในขั้นตอนของการตีความข้อมูล

ข้อจำกัดในการใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน

ในทางปฏิบัติ  พบว่าการวิจัยแบบผสานวิธีมีข้อพึงระวังและมีข้อจำกัดบางประการ  คือ วิธีการวิจัยเชิงปริมาณนั้นเป็นวิธีการที่เข้มงวด เป็นระบบและเป็นแบบแผน  ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นวิธีการที่แนบเนียน ละเอียดอ่อน และยืดหยุ่น เมื่อนำวิธีทั้งสองมาใช้ในการวิจัยเรื่องเดียวกันจะต้องใช้ให้เหมาะสม  อย่าปล่อยให้ความรู้สึกนึกคิดเชิงคุณภาพไปผ่อนคลายความเข้มงวดและความเป็นแบบแผนของวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ในขณะเดียวกันก็อย่าปล่อยให้ความรู้สึกนึกคิดเชิงปริมาณมีอิทธิพลทำให้วิธีการเชิงคุณภาพกลายเป็นการสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างฉาบฉวย  ซึ่งจะเป็นผลทำให้คุณภาพของงานวิจัยชิ้นนั้นลดลงนอกจากนี้ยังพบว่า งานวิจัยแบบผสานวิธีมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ  

1) นักวิจัยโดยเฉพาะหัวหน้าโครงการวิจัยต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการทำวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพคนที่ถูกต้องตามหลักวิธี  ไม่เช่นนั้นจะได้งานวิจัยที่ไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร  

2)ในการวิจัยแบบผสานวิธี  จะต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมากกว่าการทำวิจัยเชิงเดี่ยว  ดังนั้นโครงการที่ถูกจำกัดด้วยเวลาและงบประมาณจึงไม่สามารถใช้กลยุทธ์โดยวิธีผสานวิธีได้ ยกเว้นเป็นข้อมูลเสริมบางส่วน  

3)  อาจมีการใช้การวิจัยแบบผสานวิธีตามสมัยนิยม  โดยเป็นการใช้แบบผิดๆ ตามที่ตนเข้าใจหรือใช้โดยมักง่าย  เช่น นักวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบผิวเผิน หรือนักวิจัยเชิงคุณภาพคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตามหลักสถิติโดยไม่พิจารณาหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม  เป็นต้น

ทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพต่างมีความสำคัญ ต่างมีจุดเด่นและมีข้อจำกัดของตนเอง ถ้าได้นำมาเสริมกันจะช่วยเพิ่มจุดเด่นและลดจุดอ่อน เพิ่มความน่าเชื่อถือของการวิจัย และความครอบคลุมชัดเจนของผลการวิจัยยิ่งขึ้น จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า พัฒนาการของการใช้วิธีการวิจัยนั้นมีความซับซ้อนและใช้ระเบียบวิธีขั้นสูงยิ่งขึ้นมาจนถึงปัจจุบันวิธีการวิจัยได้เจริญก้าวหน้าไปมากจนกล่าวได้ว่า ในขณะนี้รูปแบบหลักของการวิจัยมี 3 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยแบบผสม (Mixed methods research) สิ่งที่มาผสมกันในแบบที่สามนี้ คือ การวิจัยผสม 2 รูปแบบแรกนั่นเอง ซึ่งการผสมของสองรูปแบบแรกนี้ อาจเป็นการผสมครึ่งต่อครึ่งหรือการผสมแบบมีรูปแบบหลักร่วมกับรูปแบบรอง

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

เทคนิคการเขียน Essay ให้ดีเยี่ยม!

เทคนิคการเขียน Essay ให้ดีเยี่ยม!

การเขียน Essay ที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าคุณมีแผนที่ชัดเจนและเทคนิคที่เหมาะสม ลองทำตามเคล็ดลับง่าย ๆ เหล่านี้ เพื่อทำให้ Essay ของคุณดึงดูดความสนใจและมีความสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ 🌟 1. เริ่มต้นด้วย Thesis Statement ที่ชัดเจน 🎯กำหนดประเด็นหลักที่คุณต้องการสื่อ และตั้งคำถามที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าบทความของคุณมีจุดประสงค์อะไร ทำให้การเขียนมีทิศทางและสอดคล้องกัน 2. วางโครงสร้างและจัดระเบียบหัวข้อ 🗂️แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ เช่น บทนำ

วิจัยเผย ‘วาซาบิ’ อาจช่วย ‘ผู้สูงอายุ’ ให้ความจำดีขึ้นได้

วิจัยเผย ‘วาซาบิ’ อาจช่วย ‘ผู้สูงอายุ’ ให้ความจำดีขึ้นได้

เป็นที่รู้กันในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่า “วาซาบิ” (wasabi) ดีต่อสมอง แต่ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับพืชชนิดนี้กับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมมากที่สุด ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นจึงได้ทำการวิจัยและค้นคว้าในเรื่องดังกล่าว การศึกษาซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients โดยให้กลุ่มอาสาสมัครผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งรับประทานวาซาบิแบบเม็ดทุกวัน และอีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอกทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากใน “วาซาบิ” มีส่วนผสมที่ชื่อว่า 6 เมทิลซัลฟินิล เฮกซิล ไอโซไทโอไซยาเนต (6 methylsulfinyl hexyl isothiocyanate:

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ในยุคที่เทคโนโลยีและการเชื่อมต่อออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัว ธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน การเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลช่วยป้องกันเราจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ 🛡️📱 ⚠️ เหตุผลที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความสำคัญ: 💡 เคล็ดลับง่ายๆ ในการเสริมความปลอดภัย: การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพื่อปกป้องข้อมูลและรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัล 🌟🔐 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️

ปวดหัวกับงานวิจัยทำไงดี ?

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ให้เราช่วยคุณสิ 👍 เรามีทีมงาน และพร้อมบริการ วิจัย  วิทยานิพนธ์  สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ (IS) / เก็บข้อมูลแบบสอบถาม Online-Offline / บทความวิจัย  / วิชาการ แผนธุรกิจ การตลาด / ทำผลงาน  เลื่อนขั้น ตีพิมพ์  และอื่น ๆ  🗣