9 ปัญหายอดฮิตที่พบได้จากการทำงานวิจัย

จากประสบการณ์การทำงานวิจัย เป็นที่ปรึกษาในการทำงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ หรืองานดุษฎีนิพนธ์ให้แก่ลูกค้าหลายๆ ท่าน เราได้พบปัญหาในการทำงานที่ทำให้ผู้เรียนหรือผู้วิจัยๆ หลายๆ ท่านนั้นเกิดปัญหา

ซึ่งในบทความนี้ ทางเราได้สรุปปัญหาที่พบเจอแบบสั้นๆ ไว้ 9 ข้อดังต่อไปนี้

1. ชื่อเรื่องการวิจัยไม่ชัดเจน

ชื่อเรื่องวิจัยนั้นเป็นปัญหาอันดับแรกที่ทำให้ผู้วิจัยหลายๆ คนปวดหัว เพราะส่วนใหญ่คือ ชื่อเรื่องไม่สอดคล้องกับประเด็นปัญหาวิจัย หรือชื่อเรื่องแคบเกิน ไม่ชัดเจน ซึ่งไม่ครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นต้น

2. ความเป็นมาและความสำคัญไม่ชัดเจน

การเขียนความเป็นมาและความสำคัญ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ กล่าวถึงภาพรวมทั่วๆไปของหัวข้อวิจัย แต่ขาดเหตุผลในการสนับสนุนข้อมูลที่ชัดเจนว่า “เพราะอะไรถึงศึกษาวิจัยหัวข้อนี้?”

โดยเฉพาะสถานที่หรือพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อนั้นๆ ในส่วนนี้สถานที่หรือพื้นที่ในการศึกษาวิจัย ไม่ได้มีปัญหา แต่เป็นตัวผู้วิจัยเองที่สนใจอยากจะทำการศึกษา อาจด้วยเพราะเป็นรูปแบบที่ผู้วิจัยถนัด

แต่กลับทำให้เกิดปัญหา คือ ทำให้การเขียนความเป็นมาและความสำคัญออกมาในภาพรวมๆ ทั่วไปแต่กลับไม่ได้กล่าวถึงสถานที่หรือพื้นที่ที่ต้องการศึกษาวิจัยว่า เพราะอะไรถึงจะต้องทำการศึกษาในสถานที่หรือพื้นที่นั้นๆ

3. วัตถุประสงค์กับสมมติฐานการวิจัยไม่สอดคล้องกัน

วัตถุประสงค์นั้นเป็นแนวทางหรือเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้ ส่วน สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ของสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในบริบทของการทำงานวิจัยที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ ความสัมพันธ์ กับ ความแตกต่าง

4. เขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับไม่ถูกต้อง

ซึ่งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผู้วิจัยส่วนใหญ่มักจะนำเอาวัตถุประสงค์การวิจัยมาเขียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะการเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจริงๆ แล้วควรจะเขียนว่า ผลการวิจัยที่ได้นั้นจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร หรือเกิดประโยชน์อย่างไรมากกว่า

5. กรอบแนวคิดการวิจัยไม่ชัดเจน

ปัญหาในส่วนนี้เกิดจาก การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอ หรือไม่มีคุณภาพมากพอ นำเอางานวิจัยของคนอื่นมาใช้โดยไม่ได้ศึกษาเรื่องนั้นดีพอ จึงทำให้กรอบแนวคิดและตัวแปรที่ศึกษาไม่ชัดเจน ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมในการทำวิจัย ที่ทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่ชัดเจน หรือไม่เกิดประโยชน์ในการวิจัยอย่างแท้จริง

6. การทบทวนเอกสารและงานวิจัยไม่ดีพอ

เกิดจากศึกษาเอกสารน้อย ไม่ลึก และกว้างพอที่จะทำวิจัย ทำให้กรอบแนวคิด ตัวแปรที่ศึกษา และนิยามคำศัพท์ไม่ชัดเจน ตลอดจนส่งผลต่อการสร้างเครื่องมือการวิจัยทำให้ไม่มีคุณภาพ

โดยเฉพาะ การใช้วิธีคัดลอก นำงานวิจัยมาของคนอื่น โดยที่ไม่ศึกษาทำความเข้าใจเรื่องให้ดีพอ ทำให้ “การกำหนดประชากรและตัวอย่างไม่ถูกต้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไม่มีคุณภาพ การเก็บข้อมูลไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และ การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ถูกต้องตามหลักการ” ที่สำคัญส่งผลต่อปัญหาการโจรกรรมทางปัญญาและการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามมาด้วย

7. การนำเสนอข้อมูลหรือผลการวิจัยไม่เหมาะสม

ในการนำเสนอผลการวิจัยควรนำเสนอผลการวิจัยให้ครอบคลุม ตรงตามวัตถุประสงค์ หรือสมมติฐานการวิจัย สามารถอ่านค่าแปลผลผลการวิจัยได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการนำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นใน รูปแบบตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ

8. การอภิปรายผล การเขียนข้อเสนอแนะการวิจัยไม่ชัดเจน

การอภิปรายผลนั้นควรอภิปรายให้เป็นเหตุเป็นผลที่ชัดเจน ไม่ควรนำสาระในการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ ในการ ในส่วนของข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ได้เสนอแนะจากผลการวิจัยที่ทำ แต่ควรจะเสนอแนะจากที่ผู้วิจัยคิดโดยไม่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัยที่ได้

9. การเขียนอ้างอิง บรรณานุกรมไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ก่อนการลงมือทำงานวิจัย คุณควรศึกษารูปแบบของเล่มงานวิจัยของสถาบันที่คุณทำการศึกษาก่อนว่า มีรูปแบบการเขียนเป็นอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการแก้ไขงานที่ยิบย่อย โดยเฉพาะ การเขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อหา วิธีการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมไม่ถูกต้องหรือไม่ครบ เขียนรายงานไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มที่สถาบันกำหนด ซึ่งเกิดข้อผิดพลาดได้บ่อยมาก

และนี่คือ 9 ปัญหายอดฮิตที่พบได้จากการทำงานวิจัย หวังว่าบทความนี้จะสามารถช่วยให้ผู้วิจัยได้ตระหนักถึงปัญหาและข้อบกพร่องในการทำวิจัย อีกทั้งพร้อมเป็นแนวทางแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหา เพื่อให้การทำงานวิจัยมีคุณภาพ

แต่ถ้าหากคุณเป็นผู้วิจัยวิจัยมือใหม่ ควรศึกษาระเบียบวิธีวิจัยให้ดีก่อนที่จะลงมือทำ เพราะมีทักษะน้อยหรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยดีพอจึงทำให้การทำงานล้าช้า ฉะนั้นคุณควรปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์เพื่อช่วยให้การทำวิจัยประสบผลสำเร็จได้อย่างสวยงาม

“นึกถึงงานวิจัย นึกถึง Researcher Thailand 🥰”

Credit: https://bit.ly/3oivUtZ

#เรียนวิจัย #รับติวสอบ #รับปรึกษางานวิจัย #ทำdissertation #ทำthesis #ทำวิทยานิพนธ์ #ทำวิทยานิพนธ์ปตรี #ทำวิทยานิพนธ์ปโท #ทำวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนโปรแกรมSPSS #รับทำงานวิจัย #ที่ปรึกษางานวิจัย #รับทำดุษฎีนิพนธ์ #รับติววิทยานิพนธ์ #รับติวธีสิส #รับติวสารนิพนธ์ #รับติววิจัย #รับติวงานวิจัย #รับสอนวิทยานิพนธ์ #รับสอนธีสิส #รับสอนสารนิพนธ์ #รับสอนวิจัย #รับสอนงานวิจัย #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ #รับปรึกษาธีสิส #รับปรึกษาสารนิพนธ์ #รับปรึกษาวิจัย #รับปรึกษางานวิจัย #รับติววิทยานิพนธ์ปตรี #รับติววิทยานิพนธ์ปโท #รับติววิทยานิพนธ์ปเอก #รับสอนวิทยานิพนธ์ปตรี #รับสอนวิทยานิพนธ์ปโท #รับสอนวิทยานิพนธ์ปเอก #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปตรี #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปโท #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนทำวิจัย ##รับสอนดุษฎีนิพนธ์ #รับติวดุษฎีนิพนธ์ #รับปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ #ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ปรึกษาวิจัย #ปรึกษางานวิจัย #ทำวิจัยปโท #phdthesis #หัวข้อวิทยานิพนธ์ #รับทำdissertation #บริษัทรับทำวิจัย #รับเขียนบทความวิชาการ #thesiswriter #spssราคา #ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ทำวิจัยพยาบาล #รับปรึกษาวิจัย #ราคารับทำงานวิจัย

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต