3 ขั้นตอน วิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย

ในบทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย บอกเล่าถึงลำดับขั้นตอนในการทำงาน และปัญหาเบื้องต้นที่อาจจะพบเจอในระหว่างทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัยให้เข้าใจง่ายขึ้น

“รวบรวม, จำแนก, วิเคราะห์” ลำดับขั้นตอนทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย

1. รวบรวม โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากการออกไปลงพื้นที่เพื่อทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ได้กำหนดคุณลักษณะไว้ให้ทำแบบสอบถามงานวิจัย และนำมาทำการตรวจสอบว่ากลุ่มประชากรได้ทำการตอบคำถามครบถ้วนหรือ จำนวนประชากรได้ทำการตอบคำถามครบตามจำนวนที่กำหนดไว้หรือไม่ 

เพราะถ้าหากตอบคำถามแบบสอบถามงานวิจัยไม่ครอบถ้วนและไม่ตรงตามจำนวนประชากรที่กำหนดจะส่งผลทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลคาดเคลื่อน ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และไม่สามารถตอบคำถามที่ตั้งสมมติฐานไว้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

2. จำแนก เมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเป็นขั้นตอนของการคีย์ข้อมูลลงในโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS เพื่อทำการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการตอบคำถามในแบบสอบถามงานวิจัย โดยการกำหนดการตั้งค่ารหัสข้อมูลที่ใช้ในการแทนผลต่างๆ ออกมาในรูปแบบสถิติที่ทำการวิเคราะห์ในการทำงานวิจัยนั้นๆ 

3. วิเคราะห์ ทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัยออกมาในรูปแบบข้อมูลทางสถิติตามที่กำหนดไว้ในเนื้อหางานวิจัย โดยทำการแปรผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และทำความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำการเรียบเรียงเนื้อหาที่จะใช้นำเสนองานวิจัย และใช้ตอบคำถามในการทำงานวิจัย

2 ปัญหา 1 ข้อจำกัด ที่มักส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย

1. ข้อมูลที่ทำการสอบถามได้ไม่ครบถ้วน เป็นปัญหาที่พบประจำในการสำรวจแบบสอบถามงานวิจัย สาเหตุหลักๆ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการตอบคำถามในแบบสอบถามงานวิจัยไม่ชัดเจน ไม่สามารถสื่อความหมายให้เห็นถึงวัตถุประสงค์การนำไปใช้ ทำให้กลุ่มประชากรตัวอย่างไม่ยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัว และไม่ยินยอมที่จะตอบแบบสอบถาม ทำให้ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและถูกต้องตามความเป็นจริง 

2. รายละเอียดคำถามกำกวม ไม่ชัดเจน ปัญหาที่สองเกิดจากคำถามที่ระบุในแบบสอบถามงานวิจัยเป็นคำถามที่ค่อนข้างกำกวม มีรูปประโยคที่วกวนหรืออาจใช้คำที่ไม่ถูกต้อง สะกดผิดไม่ตรงตามหลักภาษา ทำให้ผู้ตอบคำถามเกิดความสับสน ไม่เข้าใจความหมายของคำถามนั้น และอาจเป็นคำถามที่มีรายเอียดไม่ชัดเจนทำให้สื่อความหมายไปอีกทางซึ่งเป็นข้อควรระวัง เพราะอาจก่อให้เกิดอคติกับผู้ตอบคำถามได้

3. ระยะเวลากระชั้นชิด เป็นข้อจำกัดที่มีผลกระทบมากที่สุด เพราะในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตาม มักจะมี “เวลา” เป็นเครื่องกำหนดทั้งสิ้น ในการทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัก็เช่นกัน ซึ่งขั้นตอนในการวิเคราะห์มีรายเอียดที่ค่อนข้างซับซ้อน 

ยิ่งมีระยะเวลากำหนดที่กระชั้นชิดมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามงานวิจัยนั้นๆ มีผลการวิเคราะห์ที่ไม่แม่นยำ ทำให้การตอบคำถามแบบสอบถามงานวิจัยในวัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัยเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรจะเป็น

ไม่ว่าในการทำงานใดๆ ก็ตามเราจะต้องมีการวางแผนและกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดความกดดันในการทำงานให้มากที่สุด เผื่อเวลาในการใช้ทำการตรวจสอบงาน และจะต้องใส่ใจในทุกรายละเอียดในงานทีทำ ณ ขณะนั้นเสมอ เพราะต่อให้มีความรู้และเชี่ยวชาญมากเพียงใดเราก็ไม่ควรประมาท

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต