วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากโรคทางกาย หรือความเครียดด้านจิตใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่บีบตัวและอ่อนกำลังลงชั่วคราว หัวใจด้านล่างซ้ายผิดปกติโป่งออกรูปร่างคล้ายไหจับปลาหมึกของญี่ปุ่น อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ โรคดังกล่าวถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในชื่อเรียกว่า Takotsubo Cardiomyopathy พบมากในหญิงวัยกลางคน มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากโรคทางกาย (Physical Stress) หรือความเครียดด้านจิตใจ (Mental Stress) ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจไม่บีบตัวและอ่อนกำลังลงชั่วคราว หัวใจด้านล่างซ้ายผิดปกติโป่งออกรูปร่างคล้ายไหจับปลาหมึกของญี่ปุ่น อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตได้ ดังนั้น กรณีที่เกิดความเครียดรุนแรงและมีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วยอาจต้องมีการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ และต้องรักษาภาวะเครียดที่เป็นปัจจัยกระตุ้นร่วมด้วย จากรายงานวารสารต่างประเทศส่วนใหญ่หัวใจจะกลับมาปกติ มีโอกาสเสียชีวิตน้อยประมาณ 1% โอกาสเป็นซ้ำได้ 2 – 5% และหวังว่าข้อมูลงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ หากคุณสนใจหรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องของงานวิจัยนี้สามารถสอบถามกับทาง […]