เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง
ในโลกการทำงานยุคใหม่ ปัญหาที่หลาย ๆ คนต้องเจอคือการจัดระบบเวลาในชีวิตและการทำงาน เพราะมีปัจจัยเยอะมากที่พร้อมกินเวลาของเราไป ไม่ว่าจะเป็นรถติด รถไฟฟ้าเสีย ฝนตก น้ำท่วม และรวมถึงงานที่เข้ามากองรวมกันมากมาย ถึงแม้จะเคลียร์วันนี้ไปได้แล้ว แต่พรุ่งนี้ก็ได้รับงานมาเพิ่มอีก ปัญหาพวกนี้ทำให้ทั้งการทำงานและชีวิตวุ่นวาย จัดการได้ยาก ฉะนั่นวันนี้แอดจะมาแชร์เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง ซึ่งสามารถเริ่มได้จากการแบ่งงานเป็น 4 หมวดและจัดการให้เหมาะกับดังนี้ 1. งานสำคัญและเร่งด่วน : งานกลุ่มนี้จะเป็นงานที่ ถ้าไม่ดำเนินการก็จะมีปัญหาหรือเกิดวิกฤตขึ้น อาจเกิดผลกระทบมากมาย ไม่คุ้มที่จะรอไว้ก่อน ควรดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งคงตัดสินใจกันไม่ยาก เช่น งานวิทยานิพนธ์ที่ต้องส่งอาจารย์ 2. งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน : งานกลุ่มนี้มักจะถูกละเลยเพราะเป็นงานที่ไม่เร่งด่วน แต่มีความสำคัญเรื่องเป้าหมายและเป็นงานที่อยู่ ในแผนงานกลยุทธ์แต่เนื่องจากพอมีเวลา จึงไม่ค่อยมีใครหยิบมาทำเท่าไรนักพอเวลาผ่านไปจึงกลายเป็น งานสำคัญที่เร่งด่วนไปทุกที ดังนี้ งานประเภทนี้ควรได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องแล้วดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ให้ได้ เช่น งานด้านการพัฒนา งานที่เป็นแผนระยะกลางและระยะยาว หากปล่อยผ่านไปอาจลืมแล้วไม่ได้ทำ สุดท้ายจะส่งผลกระทบกับเป้าหมายได้ 3. งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน : คนส่วนใหญ่ถูกผลักดันให้ทำงานกลุ่มนี้มากที่สุดเพราะเป็นงานที่แทรกกับงานที่ทำตามแผนอยู่สาเหตุ ที่เกิดเหตุการณ์นี้เพราะเราไม่ค่อยมีแผนงานหรือไม่ค่อยไดทำตามแผนทำให้มีงานด่วนเข้ามาได้ เรื่อยๆ ดังนั้น เราควรปฏิเสธงานด่วนที่เข้ามาบ้าง ถ้าไม่ใช่งานวิกฤตเพื่อให้เราสามารถทำงานตามแผนที่วางไว้ได้ครบ งานประเภทนี้ เช่น การประชุมที่ไม่ได้นัดหมาย งานที่คนอื่นขอร้องให้ทำ […]
เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง
ในโลกการทำงานยุคใหม่ ปัญหาที่หลาย ๆ คนต้องเจอคือการจัดระบบเวลาในชีวิตและการทำงาน เพราะมีปัจจัยเยอะมากที่พร้อมกินเวลาของเราไป ไม่ว่าจะเป็นรถติด รถไฟฟ้าเสีย ฝนตก น้ำท่วม และรวมถึงงานที่เข้ามากองรวมกันมากมาย ถึงแม้จะเคลียร์วันนี้ไปได้แล้ว แต่พรุ่งนี้ก็ได้รับงานมาเพิ่มอีก ปัญหาพวกนี้ทำให้ทั้งการทำงานและชีวิตวุ่นวาย จัดการได้ยาก ฉะนั่นวันนี้แอดจะมาแชร์เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง ซึ่งสามารถเริ่มได้จากการแบ่งงานเป็น 4 หมวดและจัดการให้เหมาะกับดังนี้ 1. งานสำคัญและเร่งด่วน : งานกลุ่มนี้จะเป็นงานที่ ถ้าไม่ดำเนินการก็จะมีปัญหาหรือเกิดวิกฤตขึ้น อาจเกิดผลกระทบมากมาย ไม่คุ้มที่จะรอไว้ก่อน ควรดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งคงตัดสินใจกันไม่ยาก เช่น งานวิทยานิพนธ์ที่ต้องส่งอาจารย์ 2. งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน : งานกลุ่มนี้มักจะถูกละเลยเพราะเป็นงานที่ไม่เร่งด่วน แต่มีความสำคัญเรื่องเป้าหมายและเป็นงานที่อยู่ ในแผนงานกลยุทธ์แต่เนื่องจากพอมีเวลา จึงไม่ค่อยมีใครหยิบมาทำเท่าไรนักพอเวลาผ่านไปจึงกลายเป็น งานสำคัญที่เร่งด่วนไปทุกที ดังนี้ งานประเภทนี้ควรได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องแล้วดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ให้ได้ เช่น งานด้านการพัฒนา งานที่เป็นแผนระยะกลางและระยะยาว หากปล่อยผ่านไปอาจลืมแล้วไม่ได้ทำ สุดท้ายจะส่งผลกระทบกับเป้าหมายได้ 3. งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน : คนส่วนใหญ่ถูกผลักดันให้ทำงานกลุ่มนี้มากที่สุดเพราะเป็นงานที่แทรกกับงานที่ทำตามแผนอยู่สาเหตุ ที่เกิดเหตุการณ์นี้เพราะเราไม่ค่อยมีแผนงานหรือไม่ค่อยไดทำตามแผนทำให้มีงานด่วนเข้ามาได้ เรื่อยๆ ดังนั้น เราควรปฏิเสธงานด่วนที่เข้ามาบ้าง ถ้าไม่ใช่งานวิกฤตเพื่อให้เราสามารถทำงานตามแผนที่วางไว้ได้ครบ งานประเภทนี้ เช่น การประชุมที่ไม่ได้นัดหมาย งานที่คนอื่นขอร้องให้ทำ […]
6 เทคนิค วางแผนเขียนงานวิจัยให้สำเร็จ !
1. วางแผนเกี่ยวกับ ME ต้องรู้จักเราให้ดีพอ เพื่อที่จะวางแผนการเตรียมข้อมูลที่ตั้งใจไว้ ตั้งแต่ศึกษารายปีที่ 1 เพื่อที่เราจะได้เตรียมงานในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด และสิ่งที่สำคัญคือจะต้องปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อทุกอย่างเอื้ออำนวยไปพร้อมๆกันเราจะสามารถทำวิจัยได้ระดับดีมากค่ะ 2. การวางแผนการทำวิจัย เริ่มจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ต้องอ่านเอกสารที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับวิจัยที่ทำและเก็บรวบรวมให้ได้มากที่สุด แล้วจึงตัดออกภายหลังค่ะ จากนั้นสร้างเครื่องมือรวบรวมความคิดเห็นจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเพื่อใช้ในการสรุปการวิเคราะห์ข้อมูลจะสรุปโดยยึดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหลัก และสรุปให้ตรงประเด็น/ชัดเจนตามความเป็นจริงที่เราเก็บข้อมูลมาเลยค่ะ ในส่วนของการอภิปรายผลนั้น แนะนำเลยนะคะให้อภิปรายตามข้อค้นพบที่ได้ จากนั้นลงมือเขียน 3. การวางแผนเกี่ยวกับคน MAN หรืออาจารย์นั้นเองค่ะ บุคคลสำคัญในการทำงานงานวิจัยให้แล้วเสร็จโดยง่าย ซึ่งหลักในการเลือกพิจารณาจาก * ต้องมีความรู้ในงานบริหารโครงการวิจัย เพื่อดูภาพรวมให้เรา 5 บท * อาจารย์ในสาขา ที่มีความรู้ในเรื่องที่เราจะทำ อาจารย์จะดูให้ คือ บทที่ 1,2 และ5 * อาจารย์ที่เกี่ยวกับกระบวนการวิจัย หรือการประเมิน คือ อาจารย์จะดูบทที่ 3,4 ให้เราค่ะ * อาจารย์ทั้งหมดต้องทำงานกันเป็นทีม พูดภาษาเดียวกัน ไม่ตีกัน เท่านี้เราก็วางใจว่าเราจบได้แล้วค่ะ 4. Money การเตรียมเงินไว้สำหรับทำวิจัย 1. IS 15,000-30,000 บาท 2. Thesis 30,000-70,000 บาท 3. Dissertation 100,000 บาท ขึ้นไป จำนวนเงินที่บอกจะเป็นค่าถ่ายเอกสาร ค่าหนังสือ ค่าบทความ ค่าจ้างพิมพ์งานค่าเดินทาง ค่าจ้างเก็บข้อมูล ค่าวิเคราะห์ ค่าทำเล่ม ค่านำเสนอผลงานวิจัย และอื่น ๆ 5. การบริหารเวลาการทำวิจัย มีกลยุทธ์ที่สำคัญคือ มีการร่วมกันกับอาจารย์ที่ปรึกษาวางแผนตารางเวลานัดหมาย มีการค้นคว้าเอกสารตลอดเวลาที่ว่างโดยค้นคว้าเอกสารในห้องสมุดทุกวันแล้วจดบันทึกสรุปรายละเอียด มีการจัดสรรเวลาในการเขียนวิจัยอย่างต่อเนื่อง 6. MATERIALS การเตรียมเรื่องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วางแผนในการสืบค้น การสังเคราะห์ และการเขียนงานวิจัย ซึ่งประกอบด้วย การเขียนให้กระชับชัดเจน รัดกุม ถูกต้องตามหลักภาษาและอย่าเขียนให้เกิดข้อสงสัยมีการเชื่อมโยงต่อเนื่องกันทุกบท และนี่คือ 6 เทคนิค วางแผนเขียนงานวิจัยให้สำเร็จ ! เชื่อว่าหากเพื่อนๆ นำเทคนิคเหล่านี้ไปบ้าง จะทำให้คุณพิชิตงานวิจัยจนสำเร็จง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ หากติดปัญหาทำวิจัย วิทยานิพนธ์ขั้นตอนใดๆ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้เสมอนะคะ 🙂