คิดไอเดีย เจอโจทย์ยากแค่ไหนก็เอาอยู่ กับ เทคนิค Brainstorming !
ทันทีที่โลกออนไลน์เข้ามามีบทบาทกับรูปแบบการทำงานตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทุกอย่างรอบตัวก็เหมือนจะเดินหน้าเร็วขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว แน่นอนว่าส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นตามไปด้วย การเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกขึ้นทำให้ความเลื่อมล้ำด้านข้อมูลในตัวบุคคลหรือองค์กรไม่มีเหมือนในสมัยก่อน ยุคแห่งการแข่งขันด้วยข้อมูลจึงหมดไปและกลายเป็นการวัดฝีมือกันที่ความคิดสร้างสรรค์แทน ที่เห็นชัดๆ ก็คือกลุ่มเจ้าของธุรกิจที่ต้องสรรหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายแบบที่สามารถดึงดูดใจได้ในทันที และกลุ่มของพนักงานออฟฟิศที่ต้องแก้โจทย์ของงานที่ซับซ้อนมากขึ้นของบริษัท วิธีการค้นหาไอเดียเด็ดๆ ที่ใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งก็คือ การระดมสมอง หรือ Brainstorming นั่นเองค่ะ Brainstorming หรือ การผลิตความคิดเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่ม พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือการช่วยกันคิดหาทางออกหรือแก้ปัญหานั่นเอง แต่จะไม่เหมือนการนั่งรวมกลุ่มทั่วๆไปที่ต่างคนก็ต่างแสดงความคิดเห็นกันไปเรื่อยเปื่อย การ Brainstorming แบบที่สร้างสรรค์ผลงานได้จริงจึงต้องยึดหลักสำคัญ 2 ข้อ นั่นคือ เน้นปริมาณ และ ไม่ด่วนตัดสิน เหตุผลก็คือยิ่งเรามีปริมาณของไอเดียมากเท่าไรก็ยิ่งมองเห็นโอกาสในการแก้ปัญหาได้หลากหลายมากขึ้นเท่านั้น และการวิจารณ์หรือตัดสินว่าถูกหรือผิดในทันทีจะเป็นการปิดกั้นความเป็นอิสระทางความคิดทำให้การคิดนอกกรอบหยุดชะงักไป ขั้นตอนในการระดมสมองมีดังนี้ 1. ตีกรอบหรือกำหนดขอบเขตของปัญหาก่อนเสมอ เพื่อให้การระดมสมองไม่ฟุ้งจนออกนอกเรื่องไกลเกินไปจนใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย และชี้แจงให้ทุกคนเข้าใจถึงเป้าหมายสุดท้ายของการแก้ปัญหาครั้งนี้ว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องการ 2. เริ่มระดมสมองอย่างเต็มที่ โดยขั้นตอนนี้ควรกำหนดเวลาเอาไว้ด้วยเพื่อไม่ให้เกิดความยืดเยื้อ เช่น 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ทุกคนสามารถเสนอไอเดียได้อย่างอิสระเสรีอย่างน้อยคนละ 1 ไอเดีย โดยเขียนไอเดียลงในกระดาษโน้ตแบบมีกาวในตัวแผ่นเล็กๆ และที่สำคัญ ต้องไม่มีการ kill idea อันไหนเด็ดขาด! เพราะการทำแบบนั้นจะทำให้สมาชิกในทีมของคุณไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอะไรอีกเลย […]
สกัดลอกวิทยานิพนธ์! จุฬาฯขยายเวลาใช้“อักขราวิสุทธิ์(พลัส)”ฟรีอีก 5 ปี
จุฬาฯขยายเวลาความร่วมมือกับ 87 หน่วยงาน ให้ใช้โปรแกรม “อักขราวิสุทธิ์ (พลัส)”ฟรีอีก 5 ปี สกัดการคัดลอกวิทยานิพนธ์ที่เป็นปัญหาคุกคามอยู่ในแวดวงวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จำนวน 87 แห่ง ในการขยายเวลาข้อตกลงความร่วมมือการตรวจสอบการลอกเลียนแบบวรรณกรรม ให้ใช้โปรแกรม “อักขราวิสุทธิ์ (พลัส)” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ออกไปอีกเป็นเวลา 5 ปี จนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2570 โดย นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายทางวิชาการที่ใช้งานโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมแล้ว ยังเป็นการแสดงจุดยืน เจตนารมณ์ และความมุ่งมั่นของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจต่อการแก้ไขปัญหาการลอกเลียนวรรณกรรม ที่กำลังเป็นปัญหาคุกคามอยู่ในแวดวงวิชาการในปัจจุบัน และยังเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการปลูกฝังความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญของนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ ทั้งในแวดวงการศึกษาและวงวิชาการต่าง ๆ รวมถึงการร่วมมือกันส่งเสริมและผลักดันเพื่อสร้างและขยายฐานข้อมูลอ้างอิง เพื่อการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมของประเทศไทยให้มีความแข็งแกร่งและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกสถาบันการศึกษา […]