6 ประโยชน์ที่ได้จากการว่าจ้างทำวิจัย
“หากจ้างทำงานวิจัย แล้วผู้วิจัยจะได้ประโยชน์อะไรจากงานวิจัย?” เป็นข้อคำถามที่ผู้วิจัย หรือผู้เรียนหลายๆ ท่าน กำลังลังเลว่า ถ้าหากตัดสินใจว่าจ้างบริษัททำงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ หรืองานดุษฎีนิพนธ์ นั้น ผู้วิจัยหรือผู้เรียนจะได้อะไรจากการว่าจ้างทำงานวิจัยบ้าง… ซึ่งในบทความต่อไปนี้ ทางเรามี 6 ประโยชน์ที่ได้ จากการว่าจ้างทำวิจัย มาแนะนำให้คุณเป็นแนวทางเพื่อใช้ในการตัดสินใจ สำหรับการว่าจ้างทำงานวิจัยดังนี้ 1. ช่วยลดต้นทุนการทำงานวิจัย เนื่องด้วย บริษัทรับทำวิจัยนั้นมีทีมงานที่มีความชำนาญเป็นมืออาชีพ รวมถึงเครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณ วิเคราะห์แปลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่เที่ยงตรง มีแหล่งฐานข้อมูลที่ใช้ในการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และด้วยประสบการณ์ในด้านการทำงานวิจัย ทำให้สามารถวางแผนในการคำนวณประเมินค่าใช้จ่ายสำหรับการทำงานวิจัยได้อย่างรัดกุม ช่วยลดภาระในการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการทำงานวิจัย ช่วยในการกำหนดต้นทุน หรืองบประมาณที่ต้องการใช้ในการทำงานวิจัยได้อย่างชัดเจน ในส่วนรายจ่ายที่ยิบย่อยต่างๆ รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกิดจากความผิดพลาดจากการทำงานวิจัยของคุณให้น้อยที่สุด 2. มีที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแลงานวิจัย เพราะการทำงานวิจัยเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และมีความซับซ้อนมาก มันจะดีแค่ไหนหากคุณมีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ด้านการทำวิจัย คอยให้คำปรึกษาในการทำงานวิจัยให้กับคุณ ช่วยให้คุณทำงานวิจัยเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด และมีความถูกต้องตามหลักการวิจัย ฉะนั้นในการว่าจ้างบริษัทรับทำงานวิจัยนั้น คุณจะได้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานวิจัย เริ่มตั้งแต่การช่วยเขียนโครงร่างงานวิจัย สืบค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับตัวแปรที่ท่านทำการศึกษา ค้นหาแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง หรือวิเคราะห์เครื่องมือที่ต้องใช้สำหรับการทำงานวิจัย เป็นต้น มีการวางแผนการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ ตามหลักวิชาการและระเบียบวิธีวิจัย มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ และงานเสร็จทันตามกำหนดเวลา 3. ช่วยในการจัดสรรและบริหารเวลา ในการว่าจ้างทำงานวิจัยจะช่วยให้คุณสามารถบริหารเวลาและประหยัดเวลาในการทำงานวิจัยได้ดีขึ้น […]
3 สิ่งที่ต้องรู้เพื่อทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จ
การทํางานวิทยานิพนธ์แต่ละครั้ง สิ่งจําเป็นที่ผู้วิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ต้องคำนึงเป็นสิ่งสำคัญ มี 3 ปัจจัย คือ 1. ควรเลือกหัวข้อเรื่องงานวิทยานิพนธ์ที่ตนเองถนัด หัวข้อเรื่องงานวิทยานิพนธ์ เป็นสิ่งที่ต้องเริ่มพิจารณาเป็นอันดับแรก เนื่องจาก การเลือกสิ่งที่ตัวเองถนัดหรือสนใจนั้น จะทำให้ผู้วิจัยสามารถทำการค้นคว้าบนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจของตนเองได้เป็นอย่างดี แต่… มีหลายครั้งหรือหลายกรณีที่ผู้วิทยานิพนธ์ได้ทำหัวข้อเรื่องวิทยานิพนธ์ที่ตนเองไม่ถนัด สาเหตุมาจากอาจารย์ที่ปรึกษาคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้ เพราะสิ่งที่อาจารย์ที่ปรึกษาคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้ กับสิ่งที่ตนเองสนใจนั้น ไม่สอดคล้อง หรือว่ามีความคิดเห็นไม่ตรงกัน จีงอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของงานวิทยานิพนธ์ได้ ฉะนั้น หากจะทํางานวิทยานิพนธ์ให้สําเร็จ จําเป็นที่จะต้องมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจและตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์จากความต้องการของตนเองเป็นหลักก่อน 2. ควรเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับตนเอง หัวข้อที่สอง คือ ต้องเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับตนเอง สามารถพูดคุย ให้คำแนะนํา สามารถจัดสรรแบ่งเวลาให้กับผู้วิทยานิพนธ์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก อาจารย์ที่ปรึกษางานวิทยานิพนธ์แต่ละท่านนั้น จะมีความถนัดแตกต่างกัน… ดังนั้น การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาจึงมีความสําคัญเป็นอย่างมากในการทำงานวิทยานิพนธ์ หากสามารถเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่สามารถให้คําแนะนําหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ตนเอง มีความถนัดในสำหรับการให้คำปรึกษาแนะนำถึงหัวข้อประเด็นที่ตนเองสนใจดังกล่าวได้มากน้อยเพียงไร จะสามารถทําให้งานวิทยานิพนธ์สําเร็จลุล่วงไปได้โดยง่าย 3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาหัวข้อวิทยานิพนธ์ ประเด็นที่สามคือ ต้องทําการศึกษา “ตัวแปร” หัวข้อวิทยานิพนธ์ โดยการศึกษาจากงานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่จะทําการศึกษา เนื่องจาก การศึกษาตัวแปรจากตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์ ทฤษฎีแนวคิด หรือตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์จากต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํามาสนับสนุนกับงานวิทยานิพนธ์ที่ตนเองสนใจ ซึ่ง […]