เรียน ป. โท จะเลือก แผน ก หรือ แผน ข ดี?
เรียน ป. โท จะเลือก แผน ก หรือ แผน ข ดี? การศึกษาในระดับปริญญาโทนั้น ยังมีหลายๆ คนสงสัยในการเลือกเรียนระหว่างแผน ก กับ แผน ข ซึ่งไม่เข้าใจว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และแผนไหนจะตรงกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการของเรา ดังนั้นเราขอนำความเห็นจากหลายๆ แหล่งมาประมวลมาให้อ่านกัน ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางให้ได้ตัดสินใจกันและหวังว่าคงมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจไม่มากก็น้อย และสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องตอบโจทย์ตัวเองให้ได้ก่อนว่า “เราจะเรียนต่อในระดับปริญญาโททำไม? เรียนเพื่อไปทำอะไร?” แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์) และ แผน ข (การค้นคว้าอิสระ)หลักสูตรในแผน ก เป็นหลักสูตรที่มีการทำงานวิจัยเป็น “วิทยานิพนธ์” (12 หน่วยกิต)โดยมุ่งเน้นทักษะการทำวิจัยเต็มรูป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ และเพื่อเตรียมตัวสำหรับการศึกษาต่อ ในระดับสูงขึ้นหรือปริญญาเอก (ดร.) ในโอกาสต่อไป โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์ในฐาน TCI ฐาน 2 ขึ้นไป จึงจะสามารถจบการศึกษาได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิชาการ อาจารย์ หรืออาจเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ (เป็นการเรียนเชิงลึก) เหมาะกับผู้ที่ชอบการค้นคว้าทำวิจัยหลักสูตรในแผน ข […]
ภาพรวมหลักสูตร
** การรับสมัครนิสิตใหม่ (ช่วงมกราคม – เมษายนของทุกปี) ** e-book หลักสูตร ภาพรวมหลักสูตร หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2512 โดยรับสมัครผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญานิติศาสตรบัณฑิตเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต ทั้งนี้ หลักสูตรฯ ได้มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งประกอบไปด้วย 4 สาขาวิชากฎหมายหลัก อันได้แก่ กฎหมายเอกชนและธุรกิจ กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กฎหมายมหาชน และกฎหมายระหว่างประเทศ ในแต่ละปีการศึกษา หลักสูตรฯ จะเปิดรับสมัครและทำการคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิเข้าศึกษาประมาณปีละ 100 คน ทั้งนี้มีผู้ที่สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตจากทั่วประเทศให้ความสนใจและสมัครเข้าศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานแล้วทั้งในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน รวมถึงนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาจึงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้และมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร เพื่อให้การศึกษาในระดับมหาบัณฑิตมีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป หลักสูตรฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของคัดเลือกอาจารย์และผู้ทรงวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งในทางวิชาการและทางปฏิบัติเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์และความรู้สูงสุดจากคณาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ วิทยากร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและเป็นที่ยอมรับในวงการนิติศาสตร์ อาทิเช่น อดีตประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง อดีตอัยการสูงสุด รวมถึงที่ปรึกษากฎหมายระดับแนวหน้าของประเทศจากสำนักงานกฎหมายที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ ปัจจุบัน […]
ฉันเสียน้ำตาเพราะทำวิทยานิพนธ์ : เมื่อความยากในการศึกษาทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น
ฉันเสียน้ำตาเพราะทำวิทยานิพนธ์ : เมื่อความยากในการศึกษาทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นPosted On 23 May 2019 Thanyawat IppoodomADVERTISEMENT หัวข้อจะผ่านไหม? คำถามวิจัยเป็นยังไงบ้าง? อาจารย์ที่ปรึกษาจะโอเครึเปล่า? คำถามเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำกับชีวิตการทำวิทยานิพนธ์ ‘วิทยานิพนธ์’ ดูเหมือนจะเป็นหมุดหมายสำคัญของชีวิตนักศึกษาปริญญาตรีถึงปริญญาเอก เพราะกระบวนการวิจัยคือสิ่งทดสอบทั้งสภาพร่างกายคือความอึด ถึก ทน และวัดกำลังใจกันว่า เราจะสามารถฝ่าฝืนความยากที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ หลายคนก็เดินต่อไปได้ ขณะที่อีกจำนวนไม่น้อยต้องเสียน้ำตา เพราะความยากลำบากและความรู้สึกกดดันที่เกิดขึ้น จากเปิดเล่มถึงปิดเล่ม เมื่อฉันเสียน้ำตาให้กับวิทยานิพนธ์“เราร้องไห้หนักสุดตอนก่อนสอบเปิดเล่ม มันคือความกลัว ความไม่มั่นใจ เราไม่รู้ว่าจะไปรอดแค่ไหน เพราะถ้าไม่ผ่านจริงๆ เราก็อาจจะต้องกลับไปเริ่มใหม่ทั้งหมด คืนก่อนสอบก็ทำพรีเซนเทชั่นไปน้ำตาก็ไหลไป” นิสิตปริญญาโทคณะนิเทศศาสตร์ เล่าให้เราฟัง เรื่องราวความกดดันจาก ‘การสอบเปิดเล่ม’ คล้ายๆ กันก็เกิดขึ้นกับนักศึกษาปริญญาโทที่กำลังทำวิทยานิพนธ์วิชาประวัติศาสตร์ การสอบเปิดเล่ม หรือที่เรียกกันว่า สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ คือขั้นตอนที่นักศึกษาต้องนำชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ หัวข้อวิจัย ประเด็นที่ต้องการศึกษา รวมถึงทฤษฏีหรือบททบทวนวรรณกรรมไปเสนอกับอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เปรียบเหมือนโครงสร้างพื้นฐานของวิทยานิพนธ์เลยก็ว่าได้ ถ้าโครงสร้างดีก็ไปต่อได้ดี แต่ถ้าโครงสร้างไม่มั่นคง ก็อาจจะต้องปรับแก้ไขกันให้สมบูรณ์มากที่สุด “สอบเปิดเล่มคืออะไรที่เครียดมากนะ เพราะถึงแม้เราจะคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษามาระดับหนึ่งแล้ว แต่เราก็ไม่รู้ว่าวันสอบมันจะเกิดอะไรขึ้นอยู่ดี อาจารย์ที่เป็นคณะกรรมการนอกก็เข้ามาร่วมสอบด้วย มันก็เลยเครียดไปใหญ่ ตอนก่อนสอบก็น้ำตาปริ่มๆ แหละเพราะกดดัน […]