เลือกหัวข้องานวิจัยอย่างไรดี
เลือกหัวข้องานวิจัยอย่างไรดีหลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อปัญหา ผู้วิจัยควรทราบหลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อวิจัย เพื่อที่จะเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยที่ดีและเหมาะสม เกณฑ์ในการคัดเลือกมีดังต่อไปนี้เลือกจากความสนใจของตนเอง 1,2 เป็นที่ตั้ง ไม่ว่าหัวข้อที่จะทำการวิจัยมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด และกำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปหรือไม่ หากผู้ที่จะทำวิจัยไม่มีความสนใจในหัวข้อนั้นๆ ก็ไม่ควรที่จะทำวิจัยหัวข้อนั้น เพราะงานวิจัยจำนวนมากไม่สามารถลุล่วงไปได้ด้วยดีด้วยเหตุผลเดียวคือ ผู้วิจัยไม่มีความสนใจอย่างแท้จริง ความสนใจในเรื่องที่จะทำวิจัยมีความสำคัญมาก เพราะเป็นแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ผู้วิจัยเกิดการติดตามค้นคว้า เพื่อให้โครงการวิจัยได้บรรลุเป้าหมาย ไม่เบื่อหน่ายต่อการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น2เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถของตนเอง1,2 การวิจัยเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในด้านต่างๆ เช่น การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ความสามารถในการให้รหัสข้อมูล ความสามรถในการเลือกใช้สถิติวิเคราะห์ และความสามารถในการตีความหมายข้อมูลและอ่านผลที่ได้จาการวิเคราะห์ความสามารถในด้านต่างๆที่กล่าวมา ไม่ได้หมายความว่าจะต้องอยู่ในตัวบุคคลเพียงคนเดียว แต่ผู้วิจัยจะต้องมีความสามารถในการระดมบุคคลที่มีความสามารถต่างๆให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยในบทบาทและสถานภาพต่างๆ เช่น เป็นผู้ร่วมวิจัย หรือเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้งานวิจัยนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี2เลือกปัญหาที่มีคุณค่า1 ทั้งนี้ปัญหาที่ต้องการทำวิจัย ควรเป็นการเพิ่มพูนให้เป็นความรู้ใหม่ และเสริมทฤษฎี อีกทั้งเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติงานต่อไปคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา งบประมาณและกำลังแรงงานของตน1 ในการทำวิจัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม จะต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียเวลา และกำลังแรงงาน ดังนั้นในการตัดสินใจว่าจะทำการวิจัยในหัวข้อใดจะต้องคำนึงถึงว่า หัวข้อนั้น มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด ทั้งในตัวของมันเองและเมื่อเปรียบเทียบกับหัวข้ออื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะต้องเสนอขอรับทุนจากผู้อื่นด้วย 2คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยในการทำวิจัย เช่น ปัญหานั้นจะได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใด, มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ หรือผู้วิจัยต้องสร้างขึ้นเอง, ปัญหานั้นมีแหล่งค้นคว้าหรือไม่
กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework )
กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework ) หมายถึง แนวคิดของผู้วิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปร ตาม ที่ใช้ศึกษาในการวิจัยครั้งนั้น ๆ โดยมีที่มาจากการทบทวนเอกสารวรรณกรรม แนวคิดทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเขียนเป็นแผนภาพเชื่อมโยงเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่ศึกษาในงานวิจัย ประโยชน์ของกรอบความคิดในการวิจัย ช่วยชี้ให้เห็นทิศทางของการวิจัยและประเภทของตัวแปรต้นตัวแปรตาม ช่วยชี้ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม บอกแนวทางในการออกแบบการวิจัย บอกแนวทางการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย บอกแนวทางการเลือกใช้เครื่องมือในการวิจัย บอกแนวทางการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล บอกกรอบการแปรผลและอภิปรายผลการวิจัย
การเขียนบทความเชิงวิชาการ
การเขียนบทความเชิงวิชาการ ส่วนที่ 4เนื้อเรื่อง (Body) วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการ2.1. วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการมีอยู่หลายประเด็นด้วยกัน ส่วนใหญ่แล้วจะต้องการให้ ผู้อ่านได้รับ ความรู้ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น แนวทางปฏิบัติวิธีการแก้ปัญหาข้อคิด แรงบันดาลใจ ข้อแนะนา ข้อเสนอแนะ ในการเขียนบทความวิชาการแต่ละครั้งผู้เขียนควรจะก าหนดวัตถุประสงค์ของการเขียนให้ชัดเจน ว่าต้องการให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากบทความในด้านใด เพราะในการเขียนบทความทางวิชาการถึงแม้จะ เป็นเรื่องเดียวกันแต่อาจมีวิธีการนาเสนอแตกต่างๆกัน หากผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการเขียนต่างกัน ในการ ก าหนดวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการนั้น ผู้เขียนจะต้องตอบคาถามตามหลัก 5 W 1 H ก่อนที่จะ ทาการเขียนบทความวิชาการเพื่อเป็นแนวในการก าหนดทิศทางของการเขียนและรูปแบบวิธีการนาเสนอ เนื้อหาในบทความวิชาการดังกล่าว2.1.1. โดย 5 W 1H ประกอบด้วย2.1.1.1. Who “จะเขียนให้ใครอ่าน”2.1.1.2. When “เวลาที่จะนาบทความลงเผยแพร่คือเมื่อใด”2.1.1.3. Why “จะนา เสนอเรื่องนี้ทาไม”2.1.1.4. How “จะนาเสนอเรื่องนี้อย่างไร” ความหมายของบทความวิชาการ3.1. บทความวิชาการ (academic article) เป็นข้อเขียนเชิงสาระที่ผู้เขียนตั้งใจหยิบยกประเด็นใด ประเด็นหนึ่ง หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในแวดวงวิชาการ วิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หรือวิพากษ์ […]
108 การสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษา
108 การสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษาการทำงานวิจัยแต่ละครั้งนักศึกษาที่เป็นผู้วิจัยมือใหม่อาจจะมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับอาจารย์ที่ปรึกษา และควรจะทำอย่างไรเพื่อให้พูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาได้อย่างเข้าใจตรงกันและมีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ในบทความนี้มีคำตอบ ต้องคิดเสมอว่าไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิดสิ่งที่ควรเริ่มทำเป็นอย่างแรกในการทำงานวิจัยคือ การศึกษาระเบียบวิธีการทำวิจัยต่างของสถาบันการศึกษาที่เราทำการศึกษาอยู่ เพื่อให้ทราบขอบเขตของการทำวิจัยว่าเป็นอย่างไร และจัดเตรียมเนื้อหาข้อมูลต่างๆ สำหรับเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย เพื่อขอคำแนะนำในขอบเขตงาน หรือขอคำแนะนำในประเด็นที่ผู้วิจัยอาจจะยังเข้าใจไม่ชัดเจนเพียงพอ ในการขอความรู้หรือประสบการณ์จากอาจารย์ที่ปรึกษานั้น ผู้วิจัยไม่ควรที่จะนำอคติหรือทัศนคติของตนเองมาเป็นที่ตั้ง เพื่อที่จะโต้เถียงหรือยืนยันว่าความคิดของตนเองนั้นถูกต้อง เพราะนั่นอาจจะทำให้ท่านไม่ได้รับความรู้จากอาจารย์ที่ปรึกษาในการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ต้องเชื่อมั่นในตัวอาจารย์ปรึกษาวิจัยเพราะท่านมีประสบการณ์มากกว่าอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านกว่าจะมาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยได้นั้น จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน และมีประสบการณ์มากกว่าตัวท่านที่ทำงานวิจัยเป็นเล่มแรกอย่างแน่นอน ดังนั้นท่านควรทำความเข้าใจว่าอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านนั้นมีคุณสมบัติทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิเพียงพอที่จะให้คำแนะนำแก่ท่าน เพื่อให้ท่านนั้นนำไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยของท่านให้ดียิ่งขึ้นซึ่งสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาเป็นอย่างแรกคือตัวของท่านเอง เพราะงานวิจัยจะออกมาดีมากแค่ไหน อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการพัฒนาตนเองของท่าน เนื่องจากการทำงานวิจัยแต่ละครั้ง จะเป็นสิ่งที่พัฒนาองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวของท่าน ให้นำไปพัฒนาต่อยอดและบูรณาการความรู้ของสาขาวิชาที่ท่านทำการศึกษาวิจัย และเป็นการพัฒนาตนเองด้วยเช่นกัน ควรปรึกษากับที่อาจารย์ปรึกษา 2 คนขึ้นไปในการทำวิจัยแต่ละครั้งนั้นไม่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาวิจัยเพียงท่านเดียว เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาบางท่านนั้นอาจจะมีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกับผู้วิจัย และท่านไม่จำเป็นที่จะต้องเอาความคิดเห็นของตนเองเป็นที่ตั้ง เพื่อโต้เถียงกับอาจารย์ที่ปรึกษาจนอาจจะก่อให้เกิดความผิดใจกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับผู้วิจัยได้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้สามารถทำได้โดยให้ท่านปรึกษากับอาจารย์ในภาควิชาหรือสาขาวิชาเดียวกันอีกท่านเพื่อหาที่ปรึกษาวิจัยอีกท่านหนึ่ง ที่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับความคิดเห็นของท่าน และนำคำพูดของที่ปรึกษาท่านดังกล่าว มาทำให้คำพูดของท่านนั้นมีน้ำหนักมากขึ้นเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาหลักของท่านเข้าใจ ว่าคำแนะนำของท่านนั้นอาจจะมีสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือมีความคิดเห็นที่สามารถตีความได้หลายแบบโดยมากแล้วอาจารย์ที่ปรึกษาหลักมักจะยึดความคิดเห็นของตนเองเป็นที่ตั้ง เพราะว่าท่านมีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยเกี่ยวเรื่องนั้นๆ และอาจจะยึดแนวทางการทำวิจัยดังกล่าวว่าสิ่งนั้นถูกต้องแต่ท่านที่เป็นผู้วิจัยนั้นอาจจะทราบข้อมูลมาอีกแบบหนึ่ง จึงเกิดความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่อาจารย์แนะนำ วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดนั้นคือการประนีประนอม โดยนำคำแนะนำจากอาจารย์อีกท่านมาเพิ่มน้ำหนักในความเห็นของท่าน ก็จะทำให้สถานการณ์นั้นดีขึ้นจนสามารถทำงานวิจัยให้สำเร็จลุล่วงไปได้จากสิ่งที่กล่าวไปทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้โดยดี หากท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับงานวิจัยของท่านได้ ก็ถือว่าท่านทำงานวิจัยนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว
การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (Supervisor)
การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและวิทยานิพนธ์รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์20 ธ.ค. 2553 08:00 น. การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา (Supervisor) ทั้งที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ (Project) และการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ (Master’s Project) วิทยานิพนธ์ (Thesis) และดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) เป็นงานที่มีความซับซ้อนและต้องใช้ความรู้ความสามารถมากกว่าการสอนในรายวิชา ต่าง ๆ การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยนอกจากมีความสามารถในการทำวิจัยอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอ ต้องสามารถที่จะทำให้นักศึกษาที่ทำวิจัยมีทักษะในการทำวิจัยได้อย่างถูกต้อง ด้วยกล่าวคือ นอกจากจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการวิจัยแล้วยังต้องสามารถให้คำปรึกษาช่วย แก้ปัญหาการวิจัยให้กับนักศึกษาได้ด้วย การทำโครงการ (Project) (สถานศึกษาบางแห่งเรียกว่า โครงงาน) ส่วนมากเป็นการศึกษาระดับปริญญาตรีที่นักศึกษาต้องทำก่อนสำเร็จการศึกษา สำหรับสารนิพนธ์นั้นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโทที่เลือกแผนการเรียนแบบไม่ ต้องทำวิทยานิพนธ์ (อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด) และวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโทที่เลือกแผนการเรียนที่ทำ วิทยานิพนธ์ ส่วนดุษฎีนิพนธ์นั้นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก อย่างไรก็ตามการทำงานของนักศึกษาทุกระดับชั้นอยู่บนพื้นฐานเดียวกันคือ ใช้กระบวนการวิจัยหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการดำเนินการ ในบทความนี้จะเน้นประสิทธิภาพของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หรือปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งหลักการและกระบวนการนั้นมีความสอดคล้องและสามารถนำไปใช้กับการเป็น อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ (Project) หรือโครงงานในระดับปริญญาตรีได้เช่นกัน การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเป็นการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษามีบทบาทหน้าที่ด้านการวิจัยควบคู่ไปกับการเรียนการสอน ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของการมีสถาบันอุดมศึกษา ระบบการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือ Ph.D. ซึ่งมีการศึกษาวิจัยชั้นสูงนั้นเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษหลัง ปี ค.ศ. […]