นักวิจัยหลายท่านมีปัญหาในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยเพื่อที่จะค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวิจัยของตนเอง
นักวิจัยหลายท่านมีปัญหาในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยเพื่อที่จะค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวิจัยของตนเอง ซึ่งในบทความนี้ มีเทคนิคในการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่าต้องทำแบบไหน อย่างไร เพื่อที่จะสำเร็จได้ง่ายและสามารถนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนั้นมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องสืบค้นจากตัวแปรที่ทำการศึกษาวิจัยการสืบค้นจากตัวแปรที่ทำการศึกษาวิจัยจะทำให้ท่านทราบว่าตัวแปรดังกล่าวนี้มีอยู่ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องชิ้นใดบ้าง เนื่องจากการกำหนดตัวแปรที่จะใช้ในการวิจัยนั้นมีอยู่ในกรอบแนวคิดการวิจัยอย่างชัดเจนอยู่แล้ว อาจารย์ที่ปรึกษา ปัญหาอาจารย์ที่ปรึกวิจัยปัญหางานวิจัยข้อผิดพลาดในการทำวิจัยกำหนดปัญหางานวิจัยการเลือกหัวข้องานวิจัยบริการรับทำวิจัยรับทำวิจัยการทำงานวิจัยงานวิจัยข้อมูลงานวิจัยจ้างทำวิจัย 5 บทรับทำวิทยานิพนธ์รับทำวิทยานิพนธ์ ราคาบริการรับทำวิจัย.com_การทำ Thesis (ธีสิส) การทำธีสิสการทำทีสิสการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องท่านเพียงแต่นำข้อมูลตัวแปรที่กำหนดไว้ในกรอบแนวคิดของการวิจัยของท่านมาสืบค้นทีละตัวแปรเพื่อที่จะให้ได้งานวิจัยแต่ละชิ้นงานที่สอดคล้องกันจนครบทุกตัวแปร เพื่อที่จะหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนการศึกษาวิจัยตัวแปรดังกล่าวได้อย่างเพียงพอ คำต้องกระชับและชัดเจนหลายครั้งที่มีการกำหนดชื่อตัวแปรที่ค่อนข้างยาวจึงทำให้เป็นปัญหาต่อการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการจะสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องท่านต้องคิดถึงประเด็นหลักหรือ Keyword ของตัวแปรดังกล่าว อาจารย์ที่ปรึกษา ปัญหาอาจารย์ที่ปรึกวิจัยปัญหางานวิจัยข้อผิดพลาดในการทำวิจัยกำหนดปัญหางานวิจัยการเลือกหัวข้องานวิจัยบริการรับทำวิจัยรับทำวิจัยการทำงานวิจัยงานวิจัยข้อมูลงานวิจัยจ้างทำวิจัย 5 บทรับทำวิทยานิพนธ์รับทำวิทยานิพนธ์ ราคาบริการรับทำวิจัย.com_การทำ Thesis (ธีสิส) การทำธีสิสการทำทีสิสการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเช่น “ความต้องการต่อการพัฒนา” สามารถสรุปได้สั้นๆ ก็คือ “ความต้องการพัฒนา” ฉะนั้นท่านต้องแยกเป็น 2 ตัวแปร หรือ 2 คำที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะนำไปใช้ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์จะปรากฏตาม Keyword (คำหลัก) ที่ท่านกำหนดในการสืบค้น ท่านต้องตีความให้ชัดเจนว่าตัวแปรที่ชื่อยาวนี้มี Keyword หลักคืออะไร อย่างตัวอย่างที่ยกไปข้างต้นคือ “ความต้องการต่อการพัฒนา”– Keyword หลัก คือ “ความต้องการ”– Keyword รอง คือ […]
หลักการเขียนโครงการวิจัย
หลักการเขียนโครงการวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนาโดยทั่วไปนั้นจะประกอบด้วยหัวข้อการวิจัยที่จะต้องเขียนเสนอดังต่อไปนี้ (ทิศนาแขมมณี, 2527) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในหัวข้อนี้เป็นการอธิบายถึงความเป็นมาและสาเหตุของปัญหาหรือความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าเป็นอย่างไรและความจำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาหรือทาวิจัยและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่สามารถแก้ปัญหาได้การเขียนควรนาเสนอปัญหาอย่างกระชับและตรงประเด็นโดยแสดงให้เห็นสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่คาดหวังให้เป็นการเขียนควรมีการอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ วัตถุประสงค์การวิจัยการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาให้เขียนเป็นข้อๆโดยมีหลักการเขียนดังนี้ 1) วัตถุประสงค์การวิจัยต้องแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยมุ่งพัฒนาหรือศึกษาอะไรซึ่งเป็นผลจากการดาเนินการไม่ใช่กระบวนการดาเนินการเช่น “เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์” แทนที่จะเขียนว่า“เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน” เป็นต้น 2) วัตถุประสงค์การวิจัยต้องสอดคล้องกับรูปแบบการวิจัยเช่นเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยว่า “เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน” แต่ในแบบแผนการวิจัยเป็นเพียงการวัดผลผู้เรียนในด้านต่างๆหลังเรียนเท่านั้นซึ่งในลักษณะนี้ควรเขียนว่า“ศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน …” เท่านั้น สมมติฐานการวิจัยเป็นการคาดเดาคาตอบล่วงหน้าที่เป็นไปตามเกณฑ์ของการพัฒนาที่เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการซึ่งผู้วิจัยต้องอาศัยการศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเช่นในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นยึดหลักการเรียนแบบรอบรู้คือผู้เรียนต้องมีผลการเรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ทั้งสองด้านในระดับร้อยละ 80 ขึ้นไปดังนั้นจึงตั้งสมมติฐานของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ80/80เป็นต้นหรือกำหนดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนต้องสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ0.05ตามหลักการของการใช้สถิติภาคอ้างอิงเป็นต้นและการกำหนดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดีซึ่งหมายถึงระดับค่าเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 หรือระดับ B ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์สากลซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นต้น กรอบแนวคิดในการวิจัยหมายถึงพื้นฐานทางทฤษฎีและหลักการที่ผู้วิจัยยึดถือและนำมาใช้ในการกำหนดลักษณะสำคัญของตัวแปรต้นและตัวแปรตามซึ่งนามาใช้เป็นแนวทางสาหรับการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยกรอบแนวคิดในการวิจัยจะต้องสรุปให้เห็นแนวคิดหรือหลักการที่แฝงอยู่ในนวัตกรรมและลักษณะสำคัญของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนามาใช้เป็นตัวแปรจัดกระทาและการกำหนดลักษณะสำคัญที่สังเกตได้วัดได้ของตัวแปรตามเพื่อนามาใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือการวัดผลการนาเสนอกรอบแนวคิดในการ วิจัยผู้วิจัยจึงต้องสังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อสรุปที่เป็นแนวคิดและหลักการสำคัญที่ใช้ในการดาเนินการวิจัยหากสรุปและนาเสนอเป็นแผนภาพได้ก็จะมีความชัดเจนแต่ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว ขอบเขตในการวิจัยสิ่งที่ควรกล่าวถึงได้แก่ 1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยกล่าวถึงลักษณะของประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยว่าเป็นใครมีจานวนเท่าใดมีลักษณะเป็นอย่างไรการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรนั้นมีวิธีการเลือกมาได้อย่างไรจานวนเท่าใด 2) ตัวแปรในการวิจัยได้แก่ตัวแปรต้นและตัวแปรตามตัวแปรต้นในที่นี้คือตัวแปรจัดกระทาการทดลองหรือการใช้นวัตกรรมและตัวแปรตามคือผลการเรียนรู้อันเป็นผลจากการจัดกระทาการทดลอง 3) เครื่องมือในการวิจัยหมายถึงเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวัดประเมินผลตัวแปรตามในส่วนนี้ควรกล่าวถึงลักษณะและประเภทของเครื่องมือที่ใช้จานวนของเครื่องมือกระบวนการหรือวิธีการในการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือเช่นในกรณีที่เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณภาพของเครื่องมือได้แก่ความตรงความเที่ยงความยากง่ายและอำนาจจำแนกของเครื่องมือเป็นต้น วิธีดำเนินการวิจัยเนื่องจากเป็นการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนดังนั้นในส่วนนี้ควรเขียนให้สอดคล้องกับกระบวนการของการออกแบบการเรียนการสอนโดยนาเสนอขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ผู้วิจัยควรนาเสนอขอบเขตของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการวิเคราะห์เช่นการวิเคราะห์หลักสูตรการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนและการวิเคราะห์สภาพและความต้องการของชุมชนเป็นต้นการนาเสนอวิธีการในการวิเคราะห์และเครื่องมือที่ใช้ตลอดจนกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญหรือแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนาเป็นขั้นที่ผู้วิจัยนาเสนอกระบวนการดาเนินการพัฒนาได้แก่การวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้การกำหนดและออกแบบสาระการเรียนรู้การกำหนดขั้นตอนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนการออกแบบและคัดเลือกสื่อการเรียนรู้การกำหนดวิธีการประเมินผลผู้เรียนเป็นต้นในองค์ประกอบการเรียนการสอนดังกล่าวมีวิธีดาเนินการให้ได้มาอย่างไรและมีกระบวนการที่จะตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เรียนอย่างไร ขั้นตอนที่ 3 การประเมินเป็นขั้นของการทดลองใช้นวัตกรรมกับผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่ม ตัวอย่างประชากรเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมซึ่งเป็นการประเมินความก้าวหน้าเพื่อนาผลมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรมก่อนนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรเพื่อประเมินผลสรุปโดยการวัดผลการเรียนรู้หลังเรียนการวัดความพึงพอใจของผู้เรียนความคิดเห็นของผู้ใช้นวัตกรรมและการสังเกตการใช้นวัตกรรมเพื่อนาข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจว่านวัตกรรมที่ออกแบบนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ในขั้นนี้ผู้วิจัยควรจะได้กล่าวถึงประเด็นที่สำคัญดังนี้ 1) การประเมินนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกนั้นมีกระบวนการในการ ดาเนินการอย่างไรการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญมีเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไรประเมินนวัตกรรมด้านใดใช้เกณฑ์ในการประเมินอย่างไรเป็นต้น 2) กระบวนการทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมโดยการทดสอบจากผู้เรียนนั้นทำอย่างไรเช่นการทดสอบแบบเดี่ยวแบบกลุ่มย่อยแบบกลุ่มใหญ่หรือภาคสนามทาอย่างไรใช้เกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร 3) แบบการวิจัยทดลองที่ใช้เป็นแผนงานในการทดลองและรวบรวมข้อมูลการวิจัย ในขั้นประเมินผลรวมนั้นเป็นแบบใด 4) […]
การเขียนรายงานการวิจัยแบบฉบับสมบูรณ์
การเขียนรายงานการวิจัยแบบฉบับสมบูรณ์Posted on 25/05/2013by สน สุวรรณการเขียนรายงานการวิจัยแบบฉบับสมบูรณ์การเขียนรายงานการวิจัยแบบฉบับสมบูรณ์ เป็นการเขียนรายงานอย่างละเอียด โดยทั่วไปจะยึดตามหลักสากลว่าควรประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง แต่ถ้าเป็นวิทยานิพนธ์ หรืองานการค้นคว้าอิสระ ผู้วิจัยจะต้องยึดระเบียบการเขียนของสถาบันนั้น ๆ เพื่อให้การเขียนมีรูปแบบตามที่แต่ละสถาบันกำหนดไว้เป็นหลักตามหลักสากลส่วนประกอบของรายงานการวิจัยแบบฉบับสมบูรณ์ มักจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้1. ส่วนนำ ประกอบด้วย1.1 ปกนอก1.2 ปกใน1.3 หน้าอนุมัติ1.4 คำนำ/กิตติกรรมประกาศ1.5 บทคัดย่อ1.6 สารบัญ สารบัญตาราง และสารบัญภาพประกอบ1.7 อักษรย่อและสัญลักษณ์2. ส่วนเนื้อความ2.1 บทที่ 1 บทนำ1) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา2) วัตถุประสงค์/ความมุ่งหมายในการวิจัย3) ขอบเขตของการวิจัย4) ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี)5) สมมติฐาน (ถ้ามี)6) นิยามศัพท์เฉพาะ7) ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย2.2 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง2.3 บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/ แหล่งข้อมูล2) เครื่องมือในการวิจัย3) การเก็บรวบรวมข้อมูล4) การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้2.4 บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล2.5 บทที่ […]