เทคนิคในการหาหัวข้อวิจัยและการตั้งชื่อเรื่องวิจัย

ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหา รวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้ชัดเจน เข้าใจง่ายไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ****ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้สั้น โดยใช้คำที่เฉพาะเจาะจง หรือสื่อความหมายเฉพาะเรื่อง และควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย กะทัดรัด แต่ชื่อเรื่องก็ไม่ควรจะสั้นเกินไปจนทำให้ขาดความหมายทางวิชาการ ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้ตรงกับประเด็นของปัญหา เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วจะได้ทราบว่าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอะไรได้ทันที อย่างตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ทำให้ผู้อ่านตีความได้หลายทิศทาง และอย่าพยายามทำให้ผู้อ่านเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากเกินความเป็นจริง ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยโดยการใช้คำที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัย ซึ่งจะทำให้ชื่อเรื่องชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น เช่น3.1 การวิจัยเชิงสำรวจ มักใช้คำว่า การสำรวจ หรือการศึกษาในชื่อเรื่องวิจัยหรืออาจระบุตัวแปรเลยก็ได้ เช่น การศึกษาการใช้สารเคมีของชาวอีสานหรือการสำรวจการใช้สารเคมีของชาวอีสาน หรือการใช้สารเคมีของชาวอีสานเป็นต้น3.2 การวิจัยเชิงศึกษาเปรียบเทียบ การตั้งชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้มักจะใช้คำว่า การศึกษา เปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ นำหน้า เช่นการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนในเขตและนอกเขตเทศบาล ของจังหวัดมหาสารคาม3.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยประเภทนี้จะใช้คำว่า การศึกษาความสัมพันธ์ หรือความสัมพันธ์ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับพ่อแม่และการปรับตัวของวัยรุ่น เป็นต้น3.4 การวิจัยเชิงการศึกษาพัฒนาการ การวิจัยประเภทนี้มักใช้คำว่าการศึกษาพัฒนาการหรือพัฒนาการ นำหน้าชื่อเรื่องวิจัย เช่น การศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนของเด็กก่อนวัยเรียนในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม3.5 การวิจัยเชิงทดลอง การตั้งชื่อเรื่องวิจัยประเภทนี้อาจตั้งชื่อได้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการทดลอง เช่น อาจใช้คำว่า การทดลอง การวิเคราะห์การสังเคราะห์ การศึกษา […]

เทคนิคการเขียนวิทยานิพนธ์ตอนที่ 2: ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology

เทคนิคการเขียนวิทยานิพนธ์ตอนที่ 2: ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodologyบทที่ว่าด้วยระเบียบวิจัยนั้นมักจะสร้างความเบื่อหน่ายให้หลายๆ คนที่ไม่รู้ว่า จะเขียนอย่างไรไม่ให้เป็นการลอกเลียนแบบหรือ Plagiarism ควรจะต้องเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ควรจะเขียนมากน้อยขนาดไหนจากประสบการณ์ของผมแล้วบท Methodology ควรมีลักษณะดังนี้ครับ เขียนเสมือนหนึ่งว่าเรากำลังเล่าให้ผู้อ่านฟังว่าเราทำวิจัย(วิทยานิพนธ์)นี้อย่างไรจุดประสงค์อย่างหนึ่งของบท Methodology ก็คือ ผู้อ่านสามารถทำวิจัยแบบที่เราทำซ้ำได้อีกครั้ง (Replication) ดังนั้นข้อมูลที่เราจะเขียนลงไปในบทนี้ควรจะมีรายละเอียดที่เพียงพอให้ผู้อ่านสามารถทำได้ดังกล่าว อย่างไรก็ตามเราอาจจะไม่ต้องเขียนไปทุกรายละเอียดแต่เล่าในเชิงขั้นตอนว่าทำอะไรอย่างไรบ้าง เช่น สัมภาษณ์โดยวิธีการใด ตัวต่อตัว หรือ ผ่านโทรศัพท์ หรือผ่าน Skype มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีไหน จำนวนตัวอย่างใช้วิธีใดคำนวณหรือเลือกและสุ่มโดยบังเอิญ หรือ โดยเฉพาะเจาะจงตามความสะดวกหรือการเข้าถึงข้อมูล หากการสัมภาษณ์ใช้แบบสอบถามก็ควรจะมีการแนบแบบสอบถามหรือรายชื่อหัวข้อที่ถามในกรณีที่เป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งเปิดกึ่งปิด โดยควรแนบไว้ที่ภาคผนวก (Appendices) มากกว่าแนบไปในตัวบท เขียนเสมือนหนึ่งว่าเรากำลังอธิบายว่าเราตัดสินใจเลือกและออกแบบกระบวนการต่างๆ ในการทำวิจัยอย่างไรในข้อนี้เป็นการแสดงว่าระเบียบวิธีวิจัยของเรานั้นมีความถูกต้องและเหมาะสมตามหลัก มีแนวทางการเขียนดังนี้2.1 การเลือกระเบียบวิธีวิจัยให้เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับคำถามวิจัยที่ใช้ ไม่ใช่โดยเหตุผลอื่นๆ เช่น เราคำนวณเก่งหรือไม่เก่ง หรือแม้จะอ้างว่ายังไม่มีใครใช้วิธีนี้ในการวิจัยเรื่องนั้นๆ ซึ่งแม้บางทีจะพอรับได้แต่ก็ไม่ถูกต้องตลอดไป ตัวอย่างการเลือกวิธีการวิจัยที่เหมาะสมเช่นก. คำถามวิจัยเริ่มต้นด้วยคำว่า ทำไม… จึงต้องการรายละเอียดที่จะอธิบายสาเหตุดังกล่าวประกอบกับยังไม่มีแนวทางจากงานวิจัยในอดีตมากนักจึงใช้การสัมภาษณ์แบบปลายเปิดแบบเชิงลึก หรือข. คำถามวิจัยเริ่มด้วยคำว่า อะไร… เท่าไหร่ ต้องการคำตอบในเชิงปริมาณครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ จึงใช้การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม2.2 การเลือกวิธีการวิจัยอาจจะอ้างอิงจากงานวิจัยในอดีตที่ใกล้เคียงกันเช่นจำนวนตัวอย่างที่เหมาะสม หรือหัวข้อคำถาม […]

นักวิจัยจำเป็นต้องมีความรู้เรื่อง การเขียนโครงการวิจัย การออกแบบการวิจัย และการเขียนรายงานการวิจัย ดังรายละเอียด

การเขียนโครงการวิจัย โครงการวิจัยหรือโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) มีความสำคัญในการวิจัย เป็นการกำหนดแผนว่าจะทำวิจัย ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้– ชื่อเรื่อง การตั้งชื่อควรใช้ภาษาง่าย ๆ และใช้ประโยคที่ได้ใจความสมบูรณ์ชัดเจน– ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เขียนในลักษณะของความเรียงโดยบรรยายที่มาของปัญหาที่ต้องการจะทำวิจัยนั้น และมีแรงจูงใจอย่างไรบ้างที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ทำการวิจัยต้องการจะวิจัยปัญหานี้ รวมทั้งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับด้วย– วัตถุประสงค์ของการวิจัย เขียนระบุให้ชัดเจนเป็นข้อ ๆ ว่า ผู้วิจัยต้องการทราบอะไร– สมมติฐานในการวิจัย (ถ้ามี)– ขอบเขตการวิจัย เป็นการกำหนดขอบเขตของปัญหาที่ทำการวิจัยว่ากว้างหรือแคบเพียงใด โดยทั่วไปมักกำหนดขอบเขตในเรื่องเวลา สถานที่และกลุ่มตัวอย่าง– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับการวิจัย เป็นการบอกว่างานวิจัยจะให้ประโยชน์ในแง่ใด เช่น แง่การบริหาร การวางแผน การนำผลการวิจัยไปใช้ ควรระบุเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน– นิยามศัพท์หรือคำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย เป็นการเขียนความหมายเฉพาะในการวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นมา ไม่ได้เป็นความหมายในพจนานุกรมแต่อย่างใด– เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เขียนเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในลักษณะผสมผสาน-วิธีดำเนินการวิจัย กล่าวถึงการวิจัยโดยสรุปครอบคลุม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล– บรรณานุกรม

4เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นการจัดระเบียบแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของหลักฐาน หรือข้อมูลที่ได้ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อหาคำตอบตามความมุ่งหมาย และตามสมมติฐานที่ได้กำหนดไว้ การวิเคราะห์ข้อมูลนี้เป็นขั้นการทำงานที่ต่อเนื่องมาจากการวัด การนับ และจัดเรียงลำดับข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำเอาวิธีการทางสถิติมาวิเคราะห์หาค่าตัวแปรหรือหาลักษณะของตัวแปร ผู้วิจัยจะต้องวางแผนและเตรียมการณ์ล่วงหน้าตั้งแต่เริ่มทำการวิจัยโดยมีข้อแนะนำในการวิเคราะห์ดังนี้ กลับไปอ่านจุดมุ่งหมายหรือข้อความที่เป็นปัญหาจนแจ่มแจ้งก่อน ดูแต่ละหัวข้อปัญหาว่าต้องการข้อมูลประเภทใด และจะใช้วิธีการสถิติอะไร สถิติเหล่านั้นหาได้หรือไม่จากข้อมูล เพื่อไปแก้ปัญหาจากจุดมุ่งหมายแต่ละข้อ เลือกข้อมูลที่ได้มา นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ แบ่งตามเนื้อหาของปัญหาแต่ละข้อ คำนวณค่าสถิติให้ตรงตามหัวข้อปัญหาที่จะตอบ พยายามแปลความหมายของข้อมูลเป็นระยะ ๆ ไป พยายามนึกถึงรูปร่างของตารางที่จะเสนอ ลักษณะควรย่อ สั้น แต่บรรยายความได้มาก ถ้าข้อมูลจัดเสนอเป็นกราฟชนิดต่าง ๆ ก็ต้องหาวิธีการทำให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด อย่าให้ซับซ้อนอย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้อมูลใด ๆ มักไม่พ้นการใช้วิธีการทางสถิติ ดังนั้น ในการวิเคราะห์ข้อมูล ควรมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้ขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล1. จัดหรือแยกประเภทข้อมูลที่จะศึกษาออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกและง่ายต่อการที่จะนำไปวิเคราะห์ต่อไป รวบรวมและจดบันทึกข้อมูลลงในกระดาษที่ได้เตรียมไว้ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลและระดับของข้อมูลที่นำมาศึกษาและสามารถตอบคำถามตามจุดมุ่งหมายการวิจัยที่ตั้งไว้ เสนอผลการวิเคราะห์ที่ได้ โดยพยายามเสนอให้มีความแจ่มชัดและเข้าใจง่าย ซึ่งนิยมเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป้าหมายหลักในการดำเนินการวิจัย คือ การศึกษาหาข้อสรุปเกี่ยวกับคุณลักษณะของประชากร การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ โดยหลักการควรศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากประชากร […]