108 การสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษา

108 การสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษา
การทำงานวิจัยแต่ละครั้งนักศึกษาที่เป็นผู้วิจัยมือใหม่อาจจะมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับอาจารย์ที่ปรึกษา และควรจะทำอย่างไรเพื่อให้พูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาได้อย่างเข้าใจตรงกันและมีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ในบทความนี้มีคำตอบ

  1. ต้องคิดเสมอว่าไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด
    สิ่งที่ควรเริ่มทำเป็นอย่างแรกในการทำงานวิจัยคือ การศึกษาระเบียบวิธีการทำวิจัยต่างของสถาบันการศึกษาที่เราทำการศึกษาอยู่ เพื่อให้ทราบขอบเขตของการทำวิจัยว่าเป็นอย่างไร และจัดเตรียมเนื้อหาข้อมูลต่างๆ สำหรับเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย เพื่อขอคำแนะนำในขอบเขตงาน หรือขอคำแนะนำในประเด็นที่ผู้วิจัยอาจจะยังเข้าใจไม่ชัดเจนเพียงพอ

ในการขอความรู้หรือประสบการณ์จากอาจารย์ที่ปรึกษานั้น ผู้วิจัยไม่ควรที่จะนำอคติหรือทัศนคติของตนเองมาเป็นที่ตั้ง เพื่อที่จะโต้เถียงหรือยืนยันว่าความคิดของตนเองนั้นถูกต้อง เพราะนั่นอาจจะทำให้ท่านไม่ได้รับความรู้จากอาจารย์ที่ปรึกษาในการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น

  1. ต้องเชื่อมั่นในตัวอาจารย์ปรึกษาวิจัยเพราะท่านมีประสบการณ์มากกว่า
    อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านกว่าจะมาเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยได้นั้น จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน และมีประสบการณ์มากกว่าตัวท่านที่ทำงานวิจัยเป็นเล่มแรกอย่างแน่นอน

ดังนั้นท่านควรทำความเข้าใจว่าอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านนั้นมีคุณสมบัติทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิเพียงพอที่จะให้คำแนะนำแก่ท่าน เพื่อให้ท่านนั้นนำไปประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยของท่านให้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาเป็นอย่างแรกคือตัวของท่านเอง เพราะงานวิจัยจะออกมาดีมากแค่ไหน อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการพัฒนาตนเองของท่าน เนื่องจากการทำงานวิจัยแต่ละครั้ง จะเป็นสิ่งที่พัฒนาองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวของท่าน ให้นำไปพัฒนาต่อยอดและบูรณาการความรู้ของสาขาวิชาที่ท่านทำการศึกษาวิจัย และเป็นการพัฒนาตนเองด้วยเช่นกัน

  1. ควรปรึกษากับที่อาจารย์ปรึกษา 2 คนขึ้นไป
    ในการทำวิจัยแต่ละครั้งนั้นไม่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาวิจัยเพียงท่านเดียว เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาบางท่านนั้นอาจจะมีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกับผู้วิจัย และท่านไม่จำเป็นที่จะต้องเอาความคิดเห็นของตนเองเป็นที่ตั้ง เพื่อโต้เถียงกับอาจารย์ที่ปรึกษาจนอาจจะก่อให้เกิดความผิดใจกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับผู้วิจัยได้

การแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้สามารถทำได้โดยให้ท่านปรึกษากับอาจารย์ในภาควิชาหรือสาขาวิชาเดียวกันอีกท่านเพื่อหาที่ปรึกษาวิจัยอีกท่านหนึ่ง ที่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับความคิดเห็นของท่าน และนำคำพูดของที่ปรึกษาท่านดังกล่าว มาทำให้คำพูดของท่านนั้นมีน้ำหนักมากขึ้นเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาหลักของท่านเข้าใจ ว่าคำแนะนำของท่านนั้นอาจจะมีสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือมีความคิดเห็นที่สามารถตีความได้หลายแบบ
โดยมากแล้วอาจารย์ที่ปรึกษาหลักมักจะยึดความคิดเห็นของตนเองเป็นที่ตั้ง เพราะว่าท่านมีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยเกี่ยวเรื่องนั้นๆ และอาจจะยึดแนวทางการทำวิจัยดังกล่าวว่าสิ่งนั้นถูกต้อง
แต่ท่านที่เป็นผู้วิจัยนั้นอาจจะทราบข้อมูลมาอีกแบบหนึ่ง จึงเกิดความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่อาจารย์แนะนำ วิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดนั้นคือการประนีประนอม โดยนำคำแนะนำจากอาจารย์อีกท่านมาเพิ่มน้ำหนักในความเห็นของท่าน ก็จะทำให้สถานการณ์นั้นดีขึ้นจนสามารถทำงานวิจัยให้สำเร็จลุล่วงไปได้
จากสิ่งที่กล่าวไปทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงไปได้โดยดี หากท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับงานวิจัยของท่านได้ ก็ถือว่าท่านทำงานวิจัยนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ครึ่งหนึ่งแล้ว

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ Thesis Thailand ขอแนะนำการจัดตารางการอ่านหนังสือ ดังนี้ . 1. เลือกเวลาที่เหมาะสม เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก . 2.

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

จากการศึกษางานวิจัยของ The British Journal of Psychology ทำการทดลองด้วยการสำรวจความเห็นของกลุ่มคนอายุ 18 ถึง 28 ปี จำนวนกว่า 15,000 คน ผลวิจัยพบว่า คนฉลาดหรือคนที่มีไอคิวสูง ๆ ที่จำนวนของกลุ่มเพื่อนมีผลกระทบต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก และคนฉลาดมักมีความพึงพอใจต่ำกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า นั่นแปลว่ายิ่งคุณฉลาดเท่าไหร่ คุณจะยิ่งไม่ชอบเข้าสังคมเลย . พบอีกว่าคนที่มีไอคิวสูงนั้นมักจะไม่ใช้เวลาไปกับการเข้าสังคมหรือใช้เวลากับเพื่อนมากนัก

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

จากการศึกษาเรื่องงานวิจัยที่น่าสนใจของ ดร.มุยเรียนน์ ไอริช นักประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด จากสถาบันวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย กล่าวว่าที่ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชายอาจเป็นเพราะผู้หญิงมักต้องทำงานที่ใช้ความจำในด้านบางอย่างมากกว่าผู้ชาย เช่น การตามตารางนัดหมาย หรือการตรวจสิ่งของต่างๆ ว่าเก็บไว้ตรงไหน ทำให้เหมือนเป็นการฝึกฝนไปในตัว . อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา & Holistic Medicine กล่าวว่าโครงสร้างของสมองระหว่างผู้ชายและผู้หญิงจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศในช่วงตอนต้นของชีวิต โดยผู้หญิงจะมีสมองส่วน Hippocampus ทำหน้าที่เก็บความจำต่อเหตุการณ์ขนาดใหญ่กว่าผู้ชาย จึงเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้มากกว่าและยังรวมถึงการระลึกเหตุการณ์เก่าๆ ที่สะเทือนจิตใจได้ดีกว่าผู้ชาย และขณะเดียวกันผู้ชายมักจะเก็บความทรงจำในภาพรวมหรือเหตุการณ์สำคัญๆมากกว่า

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

จากการศึกษาจาก แดรี่เลวานี จอห์นสัน (Darylevuanie Johnson) นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการปรึกษาด้านจิตวิทยา กล่าวว่า คนที่ชอบเอาอกเอาใจผู้อื่นอยู่เสมอ หรือที่เรียกว่าเป็น People-Pleaser ที่ความพึงพอใจของคนอื่นมักจะมาก่อนของตัวเองเสมอ และคิดว่าตัวเองไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ กับใครเลย เพราะการถูกปฏิเสธ ถูกโกรธ ถูกบอกเลิก หรือไม่ได้รับการยอมรับ . นับว่าเป็นเรื่องที่เจ็บปวดสำหรับคนประเภทนี้ ซึ่งหลายครั้งมันอาจถึงขั้นที่จะต้องแลกหรือเสียสละเวลา พลังงาน ความฝัน ความต้องการส่วนตัวของตัวเอง เพื่อทำให้คนอื่นมีความสุขมากที่สุด ทำให้พวกเขามักจะ