Abstract หมายถึง ข้อความที่สามารถบอก ส่วนประกอบพื้นฐานของงานได้อย่างถูกต้องและ รวดเร็ว ทำให้ผู้อ่านทราบความน่าสนใจของงานเพื่อ ตัดสินใจให้อ่านงานหลัก (Paper)
การเตรียมตัวก่อนเขียนบทคัดย่อ ก่อนการเขียนบทคัดย่อควรศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจกับงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของ ตนเองเพื่อหาประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ และดึงดูดให้ ผู้อ่านทั่วไปอยากอ่านรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
หลักการเขียนบทคัดย่อที่ดี
1.ควรคัดเฉพาะส่วนสำคัญ เป็นประเด็นที่ น่าสนใจ เน้นถ่ายทอดจุดเด่นของการศึกษา โดยงานวิจัยมีความชัดเจน สั้น กระทัดรัด
- จำนวนคำต้องอยู่ระหว่าง 200–250 คำ หรือประมาณ 1–1.5 หน้ากระดาษ A4
3 ไม่มีการตีความหรือวิพากษ์ วิจารณ์โดยใช้ ความคิดของตนเอง
4 ไม่ควรเขียนประโยคที่เข้าใจยาก และไม่ใช้ คำศัพท์เฉพาะท้องถิ่น
5 ไม่ใช้ตัวย่อหรือสัญลักษณ์โดยไม่จำเป็น เพราะอาจสร้างความไม่เข้าใจให้กับผู้อ่านได้
6.ไม่มีการอ้างอิงตัวเลข แผนภาพ ตาราง โครงสร้าง สูตรสถิติ หรือสมการใน บทคัดย่อ นอกจากจำเป็นต้องแสดงผลการ วิเคราะห์
7.ในการเขียนบทคัดย่ออาจมีหลายย่อหน้าได้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ผู้อ่านในแต่ละตอน - หลีกเลี่ยงการอ้างอิงงานวิจัยงานของผู้อื่นใน บทคัดย่อ
- ทำตามขั้นตอนตามโครงสร้างการเขียน บทคัดย่อ โดยต้องระมัดระวังให้มาก รวมถึงลักษณะแบบตัวอักษร ขนาด ตัวอักษร การก าหนดขอบหน้ากระดาษ เคร่งครัดต่อหลักการพิมพ์ และรูปแบบที่ เป็นที่ยอมรับ ควรระมัดระวังในการ ตรวจสอบการเขียนโดยอ่านหลายๆ รอบ จะเป็นการเพิ่มคุณภาพของบทคัดย่อให้เป็น ที่ยอมรับในการเสนองานวิจัย
ส่วนประกอบของบทคัดย่อ
1.วัตถุประสงค์หลัก และกรอบของการศึกษา
2 อธิบายถึงวิธีทำการวิจัย
3.สรุปผลจากการวิจัย - ระบุบทสรุปที่สำความสำคัญของบทสรุปมักจะมีการเขียนถึง 3 ครั้ง คือ ในบทคัดย่อ ในบทนำ และส่วนของ วิจารณ์ผล
- หัวข้อ
1 ควรครอบคลุมเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง - ควรครอบคลุมวัตถุประสงค์ของงานวิจัยได้ อย่างชัดเจน
3 ควรมีคำประมาณ 10–12 คำ
4 ควรสื่อความหมายถึงสิ่งที่ต้องการศึกษาได้ ชัดเจนมากกว่าให้ความสำคัญกับผลและ สรุปผลงานวิจัย
5 สื่อความหมายที่เข้าใจง่ายโดยไม่ควรใช้ ศัพท์ยาก หรือตัวย่อ
6 หัวข้อไม่ควรพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ - ชื่อผู้แต่ง
1 จะต้องเป็นผู้ที่ต้องดำเนินงานวิจัยนั้น
2 ชื่อผู้แต่งชื่อแรกต้องเป็นคนที่นำเสนอบทคัดย่อ และผู้แต่งทุกคนต้องอ่านและ ยอมรับบทคัดย่อนี้ก่อนส่งตีพิมพ์
ข้อแนะนำในการเขียนบทคัดย่อ - Why did you start? – Introduction เริ่มต้นบทน าควรสรุปเรื่องและที่มาของ ความสำคัญที่เกี่ยวข้องของงานวิจัยให้อยู่ในประโยคเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย มากที่สุด
2 Why did you try to do? – Aims and objectives การระบุวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจน และ ควรเป็นประโยคสั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมมติฐานของ งานที่ท าการศึกษา ในการศึกษาทางด้าน วิทยาศาสตร์ สิ่งที่สำคัญในงานวิจัยคือ “วิธีการ” พิสูจน์ว่าผลเป็นจริงมีความสำคัญมากกว่าแสดงผล ว่าเป็นจริงเพียงอย่างเดียว ซึ่งแม้ว่าจะมีความ แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยแต่ก็เป็นเรื่องสำคัญมาก และการยืนยันด้วยสมมติฐานจะพิสูจน์ได้ว่า งานวิจัยตรงตามวัตถุประสงค์ได้อย่างไร
3 What did you do? – Method วิธีการดำเนินงานควรกระชับ ไม่ควรใส่ รายละเอียดของการด าเนินงานให้มากเกินไป ใน ประโยคอาจเป็นการบอกวิธีการวิจัยที่ดีส าหรับ งานวิจัยชิ้นนี้ และต้องบอกชนิดของกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการวัดให้ชัดเจน
4 What did you find? – Results สิ่งสำคัญในการรายงานผลการวิจัยต้อง บอกถึงสิ่งที่เป็นข้อมูลจริง ไม่ใช่เพียงแค่ เปรียบเทียบว่าสิ่งใดดีกว่ากัน ต้องเลือกข้อมูลที่ สำคัญมากที่สุดที่จะสรุปอยู่ในงานวิจัย และอย่าลง ภาพหรือตารางในบทคัดย่อ
5 What does it mean? – Conclusions การสรุปเป็นการบอกสิ่งที่ต้องการศึกษาใน งานวิจัยนี้สำคัญอย่างไร โดยการสรุปจะอยู่บน พื้นฐานของเหตุและผล และมีข้อมูลประกอบการ สรุปงานวิจัย และหากงานวิจัยประเภทที่มีขอบเขต จำกัด เช่น กลุ่มตัวอย่าง วิธีการเฉพาะ หรือ เครื่องมือเฉพาะ การเขียนสรุปจะต้องไม่ออกนอก ขอบเขตนั้น