รับทำวิจัย

การทำวิจัยคือ…………

คุณพจน์ สะเพียรชัย

กล่าวว่า “การวิจัยคือวิธีแก้ปัญหาที่มีระบบแบบแผนเชื่อถือได้ เพื่อให้เกิดความรู้ที่เชื่อถือได้”

คุณอนันต์ ศรีโสภา

กล่าวว่า “การวิจัยเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการ               ทดสอบสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำไปพยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อควบคุมสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ คงที่”

คุณเบส (Best) ให้ความหมายไว้ว่า “การวิจัยเป็นแบบแผนหรือกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นปรนัย มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ มีการจดบันทึกรายงาน และสรุปผลเป็นกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีขึ้น เพื่อนำไปอธิบาย ทำนาย หรือควบคุมปรากฎการณ์ต่าง ๆ”

คุณเคอร์ลิงเจอร์ (Kerlinger) ให้ความหมายว่า “เป็นการใช้ข้อมูลในการตรวจสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ  ปรากฎการณ์ธรรมชาติ โดยมีการควบคุมอย่างเป็นระบบสม่ำเสมอ

ในที่ประชุม Pan Pacific Science Congress ค.ศ.1961 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แยกความหมายของ RESEARCH ไว้ดังนี้

R – Recruitment and Relationship หมายถึง การฝึกคนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้มีความรู้และปฏิบัติงานร่วมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน

E – Education and Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และสมรรถภาพสูงในการวิจัย

S – Sciences and Stimulation เป็นศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์เพื่อค้นคว้าหาความจริงและผู้วิจัยจะต้องมีพลังกระตุ้นให้เกิดความริเริ่ม กระตือรือร้นที่จะวิจัยต่อไป

E – Evaluation and Environment ผู้วิจัยจะต้องรู้จักการประเมินผลดูว่างานวิจัยที่ทำอยู่มีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่ และต้องรู้ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัย

A – Aim and Attitude มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอนและมีเจตคติที่ดีต่อผลของการวิจัย

R – Result ผลของการวิจัยที่ได้มาจะเป็นทางบวกหรือลบก็ตาม จะต้องยอมรับผลของการวิจัยนั้น เพราะเป็นผลที่ได้มาจากการค้นคว้าอย่างระบบและเชื่อถือได้

C – Curiosity ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและขวนขวายในงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม

H – Horizon เมื่อผลการวิจัยปรากฏขึ้นแล้ว ย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้ เหมือนกับเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่าง ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง ซึ่งก็คือผลของการวิจัยจะต้องก่อให้เกิดสันติสุขแก่สังคม

การวิจัยมีกี่ประเภท

                   การจำแนกประเภทของการวิจัยสามารถจัดทำได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับผู้จำแนกว่าจะอาศัยเกณฑ์หรือหลักการใดในการจำแนก  ซึ่งแนวทางในการจัดจำแนกตามเกณฑ์ต่างๆ มีดังนี้ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2535: 17-21)

                   1. ประเภทของการวิจัยแบ่งตามประโยชน์ของการนำผลไปใช้  แบ่งตามเกณฑ์นี้จะมี 3 ประเภท   ได้แก่

1.1     การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ (basic or pure research) การวิจัยแบบนี้เป็นการทำวิจัยเพื่อขยายขอบเขตของความรู้ให้กว้างขวางออกไป  เป็นการสร้างทฤษฎีและแนวความคิดใหม่ๆ เสริมสร้างวิชาการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น การวิเคราะห์มุ่งหาสารอาหารในกล้วย  โดยมุ่งหาว่ากล้วยประกอบด้วยสารอาหารอะไรบ้างเท่านั้น  การวิจัยแบบนี้   มักจะใช้เวลานาน และใช้ประโยชน์ได้ต่อเมื่อไปวิจัยต่อ

1.2     การวิจัยประยุกต์ (applied research) การวิจัยแบบนี้มุ่งนำผลไปใช้เพื่อปรับปรุงสภาพของสังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น เช่น จากผลการวิจัยพื้นฐานพบว่า การสอนด้วยวิธีการใช้สไลด์ประกอบจะทำให้นักเรียนสนใจการเรียนและจำได้นาน ครูก็ลองนำผลการวิจัยนี้ไปทดลองและหาประสิทธิภาพของการสอนดูว่าทำให้นักเรียนสนใจมากขึ้น และนักเรียนจำเรื่องราวที่สอนได้นานจริงหรือไม่  ถ้าปรากฏว่ามีประสิทธิภาพก็จะทำให้ครูนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนต่อไป

1.3     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research)  การวิจัยแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะใหม่ๆ หรือวิธีการใหม่ๆ  และนำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานโดยตรง  เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ  ในการทำงาน  โดยหวังที่จะปรับปรุง แก้ไขสภาพการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม  การวิจัยแบบนี้แท้จริงเป็นการวิจัยประยุกต์ลักษณะหนึ่ง  แต่ต่างกับการวิจัยประยุกต์ทั่วไปตรงที่การวิจัยเชิงปฏิบัติการจะศึกษาเฉพาะที่ เฉพาะหน่วยงาน  ผลการวิจัยนำไปใช้สรุปอ้างอิงไปยังกลุ่มอื่นหรือ     ประชากรไม่ได้

                   2. ประเภทของการวิจัย    แบ่งตามวัตถุประสงค์และวิธีการเสนอข้อมูล  การวิจัยที่แบ่งตามเกณฑ์นี้อาจแบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ

                          2.1 การวิจัยขั้นสำรวจ (exploratory research) เป็นการวิจัยที่ต้องการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อหาข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นเท่านั้น ไม่มีการตั้งสมมติฐาน และไม่มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลในลักษณะตัวแปรที่แตกต่างกัน

                          2.2 การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) เป็นการวิจัยที่ต้องการหาคำตอบว่าอะไรและอย่างไรมากกว่าที่ต้องการหาคำตอบว่าทำไม รวมทั้งไม่มีการคาดคะเนปรากฏการณ์ในอนาคตแต่อย่างไร  การวิเคราะห์ข้อมูลอาจจะมีการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรที่ศึกษาด้วย

                          2.3 การวิจัยเชิงอรรถาธิบาย (explanatory research)  เป็นการวิจัยที่พยายามชี้หรืออธิบายให้เห็นว่าตัวแปรใดมีความสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกับตัวแปรใดบ้าง และความสัมพันธ์นั้นมีลักษณะอย่างไร เป็นเหตุผลของกันและกันหรือไม่

                          2.4 การวิจัยเชิงคาดคะเน (predictive research)  เป็นการวิจัยที่พยายามชี้ให้เห็นหรือคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา

                          2.5 การวิจัยเชิงวินิจฉัย (diagnostic research)  เป็นการวิจัยเพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น  จะได้นำไปแก้ไขป้องกันได้ถูกต้อง

                3. ประเภทของการวิจัย   แบ่งตามความสามารถในการควบคุมตัวแปร  การวิจัยที่แบ่งตามเกณฑ์นี้อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

                         3.1 การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)  เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยจัดสร้างสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ขึ้นมาทดลอง  โดยพยายามควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ต้องการให้มีผลกับการวิจัยนั้นออกไป  แล้วสังเกตหรือวัดผลการทดลองออกมา

                          3.2 การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (quasi experimental research)  เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถสร้างสถานการณ์ และเงื่อนไขเพื่อใช้ในการทดลองได้บ้างเป็นบางประเด็นและสามารถควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ต้องการให้มีผลกับการวิจัยนั้นได้เพียงบางตัวเนื่องจากไม่สามารถสุ่มตัวอย่างให้เท่ากันได้

                          3.3 การวิจัยเชิงธรรมชาติ (naturalistic research) เป็นการวิจัยที่ไม่มีการจัดสร้างสถานการณ์หรือเงื่อนไขใดๆ เลย ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ผู้วิจัยไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อการวิจัยที่ได้นั้นเลย

                   4. ประเภทของการวิจัยแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัย  การวิจัยที่แบ่งตามเกณฑ์นี้จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

                          4.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (historical research)  เป็นการวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ในลักษณะของการศึกษาหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์  เพื่อสืบประวัติความเป็นมาเชิงวิชาการในสาขาวิชาการต่างๆ ทำความเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้น และหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน เพื่อใช้ทำนายเหตุการณ์ในอนาคต

                          4.2 การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research)  เป็นการวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีการบรรยายปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าคืออะไร และมีลักษณะอย่างไร ซึ่งมุ่งศึกษาหาข้อเท็จจริงและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนั้น รวมทั้งศึกษาหาความสัมพันธ์ของการปฏิบัติ  แนวคิดหรือเจตคติโดยเน้นถึงเรื่องราวในปัจจุบันเป็นสำคัญ

                          4.3 การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)  เป็นการศึกษาหาข้อเท็จจริงด้วยการทดลองภายใต้การควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องอย่างมีระเบียบแบบแผนและมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอนและสามารถกระทำซ้ำเพื่อพิสูจน์หรือทดสอบผลอีกได้

                   5. ประเภทของการวิจัย    แบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัยทั่วไป  การวิจัยอาจแบ่งตามระเบียบวิธีการวิจัยทั่วๆ ไป ซึ่งแบ่งเป็น 6 ประเภท    ดังนี้

                          5.1 การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)

                          5.2 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (historical research)

                          5.3 การวิจัยเชิงย้อนรอย (expost facto research) เป็นการวิจัยที่ศึกษาจากผลไปหาเหตุ ซึ่งทั้งผลและเหตุเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว วิธีการศึกษาจะเริ่มจากกำหนดผลหรือตัวแปรตามก่อนแล้วค่อยค้นหาสาเหตุ  ซึ่งเป็นตัวแปรอิสระที่ทำให้เกิดผล ตัวแปรตามนั้น เช่น การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไปประกอบอาชีพในประเทศตะวันออกกลางของชายไทย  ผลที่เกิดขึ้นก็คือการไปประกอบอาชีพในประเทศตะวันออกกลางของชายไทย  ซึ่งเดินทางไปแล้ว  จากนั้นตามไปศึกษาว่าทำไมเขาจึงต้องเดินทางไปทำงานยังประเทศตะวันออกกลาง มีเหตุหรือมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เขาไป

                          5.4 การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่มีอยู่ว่าเป็นอย่างไร  มีอะไรเกิดขึ้นบ้างแล้วบรรยายสถานภาพที่ปรากฏอยู่ มีอยู่นั้นให้ทราบและอาจจะเปรียบเทียบกับสถานภาพที่มีอยู่ ปรากฏอยู่ในลักษณะต่างๆ หรือเงื่อนไขต่างกันและจะเปรียบเทียบกับสถานภาพที่เป็นมาตรฐานก็ได้  โดยไม่สนใจว่า ทำไมจึงมีสถานภาพปรากฏอยู่ มีอยู่อย่างนั้น

                          5.5 การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา (ethnographic research)  เป็นการวิจัยที่มุ่งอธิบายสภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรวมๆ ว่ามีความเป็นมาและพัฒนาการไปอย่างไร            มีลักษณะคล้ายกับการวิจัยเชิงคุณลักษณะดังกล่าวแล้ว

                               5.6 การวิจัยเชิงประเมินผล (evaluative research)  เป็นการวิจัยที่มุ่งพิจารณากำหนดคุณค่าหรือระดับความสำเร็จของกิจกรรม และเสนอแนะสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่อไป ปกติการวิจัยเชิงประเมินผลจะมุ่งหาคำตอบของปัญหาหลัก 3 ประการ คือ

                                5.6.1 โครงการนั้นประสบผลสำเร็จเพียงใด

                                5.6.2 โครงการนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด

                                5.6.3 กิจกรรมที่ทำตามโครงการนั้นควรจะทำต่อไปหรือไม่

                   6 ประเภทของการวิจัยแบ่งตามลักษณะของข้อมูล  แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

                          6.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)  หมายถึงการวิจัยที่เน้น (ก) ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบและข้อสรุปต่างๆ ของเรื่องที่ทำการศึกษา และ (ข) ความใช้ได้กว้างขวางทั่วไปของข้อค้นพบ  (สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์,2540:24-25)

                        6.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)  เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นอธิบายปราฏการณ์ทางสังคมและความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อม โดยอาศัยมิติทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นหลักในการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์นั้น  

                   7. ประเภทของการวิจัย แบ่งตามสาขาวิชาการต่างๆ  ของสภาวิจัยแห่งชาติ  ซึ่งครอบคลุมกลุ่มวิชาการต่างๆ ดังนี้ (ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2540: 3)

                          7.1 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ    ฟิสิกส์  ดาราศาสตร์    วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและอวกาศ    ธรณีวิทยา     อุทกวิทยา     สมุทรศาสตร์    อุตุนิยมวิทยา ฟิสิกส์ของสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                          7.2 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์  แพทยศาสตร์ สา

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต