ปิดงานวิจัย “พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง COVID-19” ของนักศึกษาปริญญาโทธรรมศาสตร์

ปิดงานวิจัย “พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง COVID-19” ของนักศึกษาปริญญาโทธรรมศาสตร์

นักศึกษาปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาพฤติกรรมคนในช่วง COVID-19 ชี้พฤติกรรมแต่ละ Gen มีความแตกต่างกัน บาง Gen อาจคล้ายกันในบางพฤติกรรม

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2564

     ย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2563 ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 เข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ประเทศถูกล็อกดาวน์ เศรษฐกิจหยุดชะงัก ซบเซา และภาคการศึกษาต้องปรับสู่การเรียนในรูปแบบ Online แน่นอนว่าทุกภาคส่วนล้วนได้รับผลกระทบ มีการปรับตัวกันอย่างกระทันหัน หลายคนบอกว่าเรากำลังก้าวสู่ยุคของ “New Normal” และปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวมกว่า 90 ล้านคน

     เราไม่อาจทราบได้ว่าสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จะสิ้นสุดลงเมื่อใด และในขณะที่เรากำลังต้องเผชิญกับโรคระบาดร้ายอยู่นั้น ผู้อ่านได้สังเกตหรือไม่ว่าเรามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อยในช่วงนี้

     เรามาดูงานวิจัยเรื่อง “การสำรวจพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง COVID-19” ของ นายพชร สุขวิบูลย์ นักศึกษาโครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจ (MBA) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.ศากุน บุญอิต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยได้ศึกษาพฤติกรรของ Generation Baby Boomers, Generation X, Generation Y, Generation Z และคนที่มีระดับความรู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ COVID-19 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า “พฤติกรรมของแต่ละ Generation ในแต่ละช่วงการระบาดของโรค COVID-19 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่แตกต่างกัน และระดับความรู้ก็ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ประชาชนจะเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันการติดโรค”

ทั้งนี้ งานวิจัยฯ ได้ศึกษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงทั้งหมด 3 ช่วง คือ

   1. ช่วงก่อนการระบาดของโรค COVID-19 (ก่อนวันที่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 คนแรกในประเทศไทย หรือก่อนวันที่ 13 มกราคม 2563)

   2. ช่วงระหว่างการระบาดของโรค COVID-19 (ตั้งแต่วันที่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 คนแรกในประเทศไทย ถึงวันที่ผ่อนคลายล็อกดาวน์ เฟส 5 หรือ วันที่ 13 มกราคม 2563 – 30 มิถุนายน 2563)

   3. ช่วงหลังการระบาดของโรค COVID-19 (หลังวันที่ผ่อนคลายล็อกดาวน์ เฟส 5 หรือ หลังวันที่ 30 มิถุนายน 2563)

และได้สำรวจพฤติกรรมทั้งหมด 19 พฤติกรรม ดังนี้

   1. ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อน-หลัง สัมผัสสิ่งต่าง ๆ

   2. สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ก่อนออกจากบ้านหรืออยู่ในที่สาธารณะ

   3. พยายามอยู่ห่างผู้ที่ไอ หรือจาม

   4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก หรือปาก หากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด

   5. ไอ หรือจาม ท่านจะใช้มือหรืออวัยวะส่วนอื่นเพื่อปิดปาก

   6. เป็นไข้ ไอ จาม หายใจติดขัด ท่านจะรีบไปพบแพทย์ทันที

   7. ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

   8. ออกไปข้างนอกเพื่อพบเจอและสังสรรค์กับเพื่อนหรือครอบครัว

   9. ทักทาย พูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวผ่าน Social Media เช่น Line Messenger

   10. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรืออาหารเสริมเพิ่มเติม เช่น ผัก ผลไม้ วิตามิน เป็นต้น

   11. ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

   12. เดินทางโดยใช้รถขนส่งสาธารณะ เช่น รถประจำทาง รถไฟฟ้า เป็นต้น

   13. ไปสถานที่ที่มีคนจำนวนมากกว่า 20 คน

   14. ไปสถานที่ปิด (Closed-space) ที่มีขนาดใหญ่ (ไม่รวมที่ทำงาน) เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือการแสดงคอนเสิร์ต เป็นต้น

   15. ไปสถานที่เปิด (Opened-space) ที่มีขนาดใหญ่ (ไม่รวมที่ทำงาน) เช่น สวนสาธารณะ เป็นต้น

   16. ใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ เช่น Grab Lineman และ Food panda เป็นต้น

   17. ซื้อของผ่านบริการช้อปปิ้งออนไลน์ เช่น Shopee Lazada และ Facebook live เป็นต้น

   18. ใช้ Social Media เช่น Facebook Instagram Tiktok และ Zoom เป็นต้น

   19. ซื้อของหรือสินค้าฟุ่มเฟื่อย เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า เป็นต้น

ผลการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง 241 คน ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ มีการปรับตัวในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน แบ่งได้ 3 แบบ คือ

     1.พฤติกรรมที่มีการปรับตัวชั่วคราว ได้แก่ ออกไปข้างนอกเพื่อพบเจอและสังสรรค์กับเพื่อนหรือครอบครัว ไปสถานที่เปิด (Opened-space) ที่มีขนาดใหญ่ ไปสถานที่ปิด (Closed-space) ที่มีขนาดใหญ่ ไปสถานที่ที่มีคนจำนวนมากกว่า 20 คน และเดินทางโดยใช้รถขนส่งสาธารณะ

โดยกลุ่มพฤติกรรมนี้มีลักษณะในการปรับตัวระยะสั้น จากช่วงก่อนการระบาด ไปช่วงระหว่างการระบาด เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดโรค แต่หลังจากนั้นพฤติกรรมจะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าช่วงก่อนการระบาด กับช่วงปัจจุบัน มีความถี่ในการทำพฤติกรรมเหล่านี้ไม่แตกต่างกัน

     2.พฤติกรรมที่ไม่มีการปรับตัว หรือปรับตัวเล็กน้อยถึงปานกลาง ได้แก่ ซื้อของหรือสินค้าฟุ่มเฟื่อย ใช้ Social Media ซื้อของผ่านบริการช้อปปิ้งออนไลน์ ใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรืออาหารเสริมเพิ่มเติม ทักทาย พูดคุยกับเพื่อนหรือครอบครัวผ่าน Social Media ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เป็นไข้ ไอ จาม หายใจติดขัด จะรีบไปพบแพทย์ทันที และเมื่อไอหรือจามจะใช้มือหรืออวัยวะส่วนอื่นเพื่อปิดปาก

     โดยกลุ่มพฤติกรรมนี้มีลักษณะในการปรับตัวเพื่อป้องกันโรคแบบทางอ้อม คือใช้เทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อลดการพบปะกับผู้อื่น หรือทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นเพื่อลดโอกาสการติดโรค ซึ่งหมายความว่า ช่วงก่อนการระบาด กับช่วงระหว่างการระบาด มีความถี่ในการทำพฤติกรรมเหล่านี้แตกต่างกันพอสมควร และส่งผลไปถึงช่วงปัจจุบันที่มีความถี่ในการทำพฤติกรรมเหล่านี้แตกต่างกับช่วงก่อนการระบาด ด้วย

     3.พฤติกรรมที่เป็นชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ได้แก่ ท่านหลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก หรือปาก หากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด พยายามอยู่ห่างผู้ที่ไอหรือจาม สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้านหรืออยู่ในที่สาธารณะ และล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อน-หลัง สัมผัสสิ่งต่าง ๆ

     โดยกลุ่มพฤติกรรมนี้มีลักษณะในการปรับตัวเพื่อป้องกันโรค โดยเป็นพฤติกรรมที่สามารถทำได้ง่าย ๆ และเป็นนโยบายที่ภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนรณรงค์ให้ปฏิบัติตาม ซึ่งหมายความว่าช่วงก่อนการระบาด กับช่วงระหว่างการระบาด ความถี่ในการทำพฤติกรรมเหล่านี้มีความแตกต่างกันอย่างมาก รวมถึงช่วงปัจจุบันที่มีความถี่ในการทำพฤติกรรมเหล่านี้แตกต่างกับช่วงก่อนการระบาด ไปอย่างมาก และมีความถี่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนการระบาด ด้วย

     ซึ่งในความแตกต่างของพฤติกรรมในแต่ละ Generation ยังพบว่า Generation Baby Boomers และ Generation X มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 คล้ายกันในหลาย ๆ พฤติกรรม เช่นเดียวกับ Generation Y และ Generation Z มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 คล้ายกันในหลาย ๆ พฤติกรรม

     แต่ทั้งนี้ ยังมีบางพฤติกรรมของ Generation Z ที่ปรับพฤติกรรมไม่เหมือน Generation อื่น ๆ คือ การออกไปสังสรรค์นอกบ้าน การไปสถานที่เปิดที่มีขนาดใหญ่ การไปสถานที่ปิดที่มีขนาดใหญ่ และการไปสถานที่ที่มีคนมากกว่า 20 คน ซึ่ง Generation Z มีความถี่ในการทำพฤติกรรมเหล่านี้ในช่วงหลังการระบาดของโรค COVID-19 มากกว่าช่วงระหว่างการระบาดของโรค COVID-19

     ส่วนความแตกต่างของระดับความรู้ ยังพบว่า มีพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างที่คนที่มีระดับความรู้ที่แตกต่างกันจะมีลักษณะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 คล้ายกัน โดยมีแค่ 2 พฤติกรรม คือ การออกไปสังสรรค์นอกบ้าน และการใช้รถขนส่งสาธารณะ ที่มีการปรับพฤติกรรมที่แตกต่างกัน

     ผู้สนใจสามารถนำข้อมูลจากผลการวิจัยมาใช้เพื่อสร้างหรือปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการป้องกัน และลดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในช่วงเวลาปัจจุบัน หรือที่อาจเกิดขึ้นมาในระลอกใหม่ รวมถึงนำไปวางแผนเพื่อป้องกันโรคระบาดอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้ได้ดียิ่งขึ้น ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจ (MBA) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ E-mail: mbatu@tbs.tu.ac.th หรือ E-mail: patchara.su1991@gmail.com (นายพชร สุขวิบูลย์)

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

วิจัยเผย : ความเครียดก่อโรคหัวใจสูงและเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

จากการศึกษาของงานวิจัยในวารสารวิชาการด้านโรคหัวใจของยุโรป ยูโรเปียน ฮาร์ท เจอร์นัล ผลการวิจัยระบุว่าคนอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมาซึ่งระบุว่างานของตัวเองเป็นงานที่เครียดมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ระบุว่างานที่ทำอยู่ไม่เครียดถึง 70% นอกจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งแสดงถึงความรู้สึกของกลุ่มตัวอย่างต่องานของพวกเขาแล้วนักวิจัยยังได้ทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และปริมาณฮอร์โมนความเครียดหรือ ฮอร์โมนชื่อคอร์ติซอล (cortisol)  จากตัวอย่างเลือดด้วยพบว่าความเครียดยังไปมีผลขัดขวางการขับฮอร์โมนของส่วนของระบบนิวโรเอนโดคริน (neuroendocrine system) จนทำให้ร่างกายมีการขับฮอร์เครียด หรือคอร์ติซอล ออกมาในตอนเช้าในระดับที่สูงกว่าปกติด้วย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความเครียด หรือ Broken Heart Syndrome พบมากในหญิงวัยกลางคน

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

งานวิจัยเผย : แม่เคยมีแฟนมาแล้วกี่คน ลูกก็จะมีแฟนจำนวนพอกันกับแม่

จากการศึกษาของ Ohio State University พบว่าแม่อาจส่งผ่านบุคลิกภาพหรือทักษะด้านความสัมพันธ์บางอย่างจากรุ่นสู่รุ่น โดย Dr.Claire Kamp Dush ผู้ริเริ่มการศึกษานี้กล่าวว่า แม่ๆ แต่ละคนมีลักษณะนิสัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการแต่งงานและความสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะนิสัยเหล่านั้น จะกลายเป็นมรดกส่งต่อถึงรุ่นลูก โดยอาจเป็นตัวกำหนดว่าลูกจะได้แต่งงานช้าหรือเร็ว และมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงหรือไม่  . ใครเคยคุยเรื่องความรักกับแม่บ้าง แล้วเคยนึกสงสัยรึเปล่า ว่าแม่ของเราเคยมีแฟนมาแล้วกี่คน? รู้ไหมว่าถ้าลองถามดูดีๆ อาจพบว่า จำนวนแฟนที่แม่เคยมี นั้นพอๆ

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

งานวิจัยเผย : ความสัมพันธ์ของคู่รักส่งผลต่อ ‘สุขภาพ’

จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต