จากการศึกษาโดย รศ.พญ.นฤชา จิรกาลวสาน กรรมการบริหารศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า การเปิดไฟนอนตอนกลางคืนว่า เป็นการขัดขวางการหลั่งของสารเมลาโทนินซึ่งหลั่งจากส่วนหนึ่งในสมอง มีความสำคัญต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้นผู้ที่เปิดไฟนอนหรือมีการพักผ่อนที่ไม่ดีอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคอ้วน โดยเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในช่วง 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน มีหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ และระบบต่างๆ ในร่างกาย
.
เช่น ระบบเมตาบอลิซึม ระบบประสาทอัตโนมัติ ความดัน ความจำ เมลาโทนินจะถูกยับยั้งโดยแสง ดังนั้นมีโอกาสที่การนอนเปิดไฟจะส่งผลให้เมลาโทนินถูกกด ส่งผลให้นอนไม่ดี และอาจทำให้เกิดโรคต่างๆได้ดังนั้นหากเมลาโทนินถูกขัดขวางการหลั่ง อาจส่งผลต่อระบบความจำ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะแรกส่วนหนึ่งพบว่ามีการลดลงของสารเมลาโทนิน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Internal Medicine ที่ศึกษาในผู้หญิงกว่า 4 หมื่นคน เรื่องการเปิดและปิดไฟนอนที่อาจส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว หลังจากการติดตามในระยะ 5 ปี พบว่าคนที่เปิดไฟนอนมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าคนที่ปิดไฟนอน โดยน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 5 กิโลกรัม ดังนั้นความสว่างจากการเปิดไฟนอนจึงมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว
.
ดังนั้น ควรปิดไฟให้สนิทก่อนนอน หลีกเลี่ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีแสง เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ ก่อนนอน 1 ชั่วโมง เพราะเป็นการกระตุ้นการตื่นตัวและเป็นการรบกวนการหลั่งสารเมลาโทนิน ถ้าหากมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดไฟนอน ควรเปิดเป็น Night Light หรือไฟหรี่ และหวังว่าข้อมูลงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ หากคุณสนใจหรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องของงานวิจัยนี้สามารถสอบถามกับทาง Thesis Thailand เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยที่พร้อมซัพพอร์ตคุณ
.
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจากเว็บ https://www.pptvhd36.com/health/care/3685