จากการศึกษาของ Dipayan Biswas หัวหน้าทีมวิจัยได้ศึกษาผลกระทบของการดื่มกาแฟก่อนเข้าไปซื้อของว่า มันส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของที่มีมากขึ้นจริงหรือไม่ เนื่องจากสารโดปามีนที่ส่งผลให้มนุษย์ควบคุมตัวเองได้น้อยลง ซึ่งนั่นยังหมายถึง เราอาจเลือกหยิบของไปเรื่อยโดยไม่ได้คิดนั่นเอง โดยบิสวาสได้ทำการทดสอบโดยให้ ผู้ที่ต้องการซื้อของ 300 คน เลือกเครื่องดื่มฟรี 2 ชนิด คือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และไม่มีคาเฟอีน แล้วหลังจากทำการซื้อของเสร็จ ผู้วิจัยจะตรวจสอบใบเสร็จของทุกคนเพื่อดูปริมาณในการซื้อของ
.
ผลการวิจัยออกมาว่า ผู้ที่ดื่มคาเฟอีนใช้เงินจำนวนมากและมีปริมาณในการซื้อสินค้ามากกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้ที่ดื่มคาเฟอีนมีแนวโน้มที่จะซื้อของในหมวดที่ไม่จำเป็นมากกว่า เช่น เทียนไขหรือน้ำหอม แต่ในการซื้อของในหมวดที่จำเป็น การใช้จ่ายระหว่างคนสองกลุ่มแทบไม่ต่างกัน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการซื้อของที่ร้านค้าหรือซื้อของออนไลน์ ผลลัพธ์ในการวิจัยก็ออกมาในรูปแบบเดียวกัน ถ้าหากเราสังเกตดีๆ นี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ในการตลาดที่หลักแหลม เพราะพวกเขาตั้งใจให้ร้านกาแฟตั้งอยู่บริเวณทางเข้าของห้างสรรพสินค้าอยู่เสมอ เพื่อหวังว่ากาแฟอาจจะช่วยกระตุ้นประสิทธิภาพในการขายได้ดียิ่งขึ้น ถ้าหากเราสังเกตดีๆ นี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ในการตลาดที่หลักแหลม เพราะพวกเขาตั้งใจให้ร้านกาแฟตั้งอยู่บริเวณทางเข้าของห้างสรรพสินค้าอยู่เสมอ เพื่อหวังว่ากาแฟอาจจะช่วยกระตุ้นประสิทธิภาพในการขายได้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าในการซื้อของของเรา เราก็ต่างมีสิ่งที่ตั้งใจและวางแผนมาแล้วว่าเราจะเลือกซื้ออะไรกลับไปบ้าง แต่บางครั้งเราอาจจะหยิบของที่ไม่จำเป็นติดไม้ติดมือกลับไปด้วย
.
นี่แหละคืออิทธิพลของการที่เราดื่มกาแฟก่อนไปซื้อของ ในฐานะของผู้บริโภคด้วยกัน การเก็บคาเฟอีนไว้ดื่มหลังซื้อของเสร็จน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีและประหยัดกว่า และหวังว่าข้อมูลงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ หากคุณสนใจหรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องของงานวิจัยนี้สามารถสอบถามกับทาง Thesis Thailand เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยที่พร้อมซัพพอร์ตคุณ
.
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจากเว็บ https://www.brandthink.me/content/shopping