จากการศึกษาของทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาถึงพลวัตรของความสัมพันธ์ระยะยาว ผ่านวิธีคิดเชิงพื้นที่สัมพันธ์ (Spatial Proximity) และก็ค้นพบว่า เมื่อคู่รักหรือคู่แต่งงานนั้นมีความใกล้ชิดกัน อัตราการเต้นของหัวใจของพวกเขาจะประสานเข้าหากันในรูปแบบที่มีความซับซ้อน ตามแต่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ไบรอัน โอกอลสกี้ รองศาสตราจารย์จากแผนกการพัฒนามนุษย์และครอบครัวศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ระบุว่า นักวิจัยด้านความสัมพันธ์มักจะถามผู้คนว่าชีวิตเขาเป็นอย่างไรบ้าง และมักคิดว่าผู้คนเหล่านั้นจะสามารถจดจำหรือให้คำตอบได้อย่างลึกซึ้ง
แต่กับผู้คนที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันมานาน 30 – 40 ปี เมื่อถามถึงเรื่องเหล่านี้หรือพวกคำถามว่าพึงพอใจกับชีวิตคู่ขนาดไหน พวกเขามักจะหัวเราะใส่เสมอ เพราะพวกเขาคิดว่า การอยู่ด้วยกันด้วยระยะเวลาหลายสิบปีก็เป็นคำตอบที่เพียงพอแล้วว่าพวกเขาพอใจหรือผูกพันระหว่างกันขนาดไหน
.
“โอกอลสกี้” กล่าวว่า ก้าวแรกของเราคือการดูว่าความใกล้ชิดกับอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กันหรือไม่เมื่อเวลาผ่านไป โดยเราดูทั้งอัตราการเต้นของสามี ของภรรยา และอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อทั้งคู่อยู่ด้วยกันด้วยกัน โดยเรานั้นอยากรู้ว่าในแต่ละช่วงเวลา อัตราการเต้นของหัวใจนั้นเป็นอย่างไร สามารถบอกอะไรได้หรือไม่ และถ้าบอก จะบอกอะไรเราได้บ้าง ซึ่งกลายเป็นว่าอัตราการเต้นของหัวใจในช่วงต่างๆ สามารถนำมาใช้บอกหรือพยากรณ์อะไรบางอย่างได้จริงๆ”
การค้นพบนั้นก็คือ มีความสัมพันธ์แบบ “lead-lag” (ตัวนำ – ตัวตาม) ในการประสานกันของอัตราการเต้นของหัวใจ หรือก็คือในการปฏิสัมพันธ์กันของคู่รัก ถ้าใครเป็นคนนำการปฏิสัมพันธ์นั้นๆ ผู้ที่ตามก็จะมีอัตราการเต้นของหัวใจไปประสานกับผู้นำ “นี่จึงทำให้เราเห็นถึงความสมดุลระหว่างกันของคู่รัก เพราะเมื่อหนึ่งในคู่รักได้ทำการกระตุ้นคู่ของตน พวกเขาจะเริ่มมีอิทธิพลต่อกันทั้งเรื่องเชิงร่างกายและจิตใจ รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจ ตลอดทั้งวัน” โอกอลสกี้อธิบาย “เราพบได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและเรื่องทางร่างกายของคู่รักในสถานการณ์และบริบทที่ต่างกัน ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ไกล หรือใกล้กัน”
การค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญกับเรื่องของงานวิจัยเชิงความสัมพันธ์ ซึ่งปกติมักจะอิงอยู่กับบทสรุปที่วัดระหว่างคู่รักกับคู่รัก มากกว่าวัดด้วยคู่รักเอง
.
อย่างไรก็ตาม นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักจะส่งผลกันในเชิงอารมณ์และจิตใจแล้ว พวกเขายังมีอิทธิพลกันในทางร่างกายอีกด้วย ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ว่ากันอย่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าความสัมพันธ์ของคู่รักมีสุขภาพที่ดี สุขภาพของกายและใจก็จะดีไปด้วย “ถ้าเราต้องการที่จะรู้และเข้าใจรูปแบบเฉพาะตัวของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก เราต้องเริ่มที่สนใจในเรื่องกระบวนการเล็กๆ น้อยๆ ให้มากกว่านี้ ซึ่งเป็นรูปแบบเล็กๆ ที่สะสมตลอดทั้งวัน สิ่งนั้นแหละที่จะเป็นตัวบอกว่าธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่รักในแต่ละช่วงเวลานั้นจะเป็นไปอย่างไร” โอกอลสกี้ทิ้งท้าย และหวังว่าข้อมูลงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ หากคุณสนใจหรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องของงานวิจัยนี้สามารถสอบถามกับทาง Thesis Thailand เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยที่พร้อมซัพพอร์ตคุณ
.
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจากเว็บ https://www.thecoverage.info/news/content/2743