การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย ปริญญาโท นิติศาสตร์

การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย ปริญญาโท นิติศาสตร์
สิ่งหนึ่งที่คนเรียนกฎหมายในระดับปริญญาโทจะต้องเจอก็คือ “วิทยานิพนธ์” ที่เรียกติดปากกันว่า ทีสิส (thesis/dissertation) ซึ่งเจ้าวิทยานิพนธ์นี่เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจบ ป.โท นิติศาสตร์ จะจบไม่จบก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จและสอบป้องกันผ่านหรือไม่ ทว่า งานยากแรก ๆ ของการทำวิทยานิพนธ์ก็คือ จะไปหาหัวข้อวิทยานิพนธ์จากไหนกันล่ะ

ถ้าเราเข้าใจจุดตัดที่แตกต่างระหว่างการเรียนกฎหมายปริญญาตรีกับปริญญาโทได้ เราจะเริ่มพอเข้าใจว่าควรจะงมหาหัวข้อวิทยานิพนธ์จากไหน ในชั้นปริญญาตรี ความต้องการสำคัญก็คือ นิสิตนักศึกษาที่มาเรียนคณะนิติศาสตร์ต้องรู้และเข้าใจตัวบทกฎหมาย วิธีคิดทางกฎหมาย รวมไปถึงสามารถนำกฎหมายมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้ แต่ในระดับปริญญาโท มันเป็นเรื่องของการทำวิจัยศึกษาค้นคว้าเชิงลึกลงไปว่า ทำไมกฎหมายถึงเป็นแบบนี้ (ทำไมกฎหมายไม่เป็นแบบนั้นแทน) เรื่องนี้มีทฤษฎีสำคัญเบื้องหลังอะไร และเราสามารถชี้ไปถึงปัญหา ศึกษา ค้นคว้า หาข้อสรุป หรือให้ข้อเสนอแนะอะไรกับวงการนิติศาสตร์ได้ไหม

๑. การหาหัวข้อจากการพิจารณากฎหมายหลายมุมมอง
การได้มาของหัวข้อวิทยานิพนธ์ด้วยการขบคิดปัญหากฎหมายหลายมุมมอง ตัวผมเองเรียกว่า การคิดสองชั้น คือ รู้ตัวบทนั้น แต่ตั้งข้อสงสัยขบคิดว่าตัวบทนี้มันดีหรือยัง มันมีปัญหากฎหมาย หรือปัญหาการปรับใช้ในข้อเท็จจริงบ้างไหม การได้มาในแนวนี้มักจะเกิดจากการอ่านตำรากฎหมายหรือบทความกฎหมาย เพราะบางเล่มนั้น อาจารย์ผู้เขียนก็หย่อนประเด็นทิ้งไว้ ว่าในวงการนิติศาสตร์ยังไม่ได้ข้อสรุป หรือประเด็นตรงนี้น่าสนใจ หรืออาจจะมาจากการเรียนในห้องที่อาจารย์ผู้สอนกล่าวถึงประเด็นปัญหา ถ้ายังไม่มีใครทำ เราก็นำไปต่อยอดได้

ลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพดีกว่า เรื่องการบรรลุนิติภาวะเมื่อสมรสแล้วของผู้เยาว์ ถ้าเป็นชั้นปริญญาตรี เราแค่รู้และปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้ว่าในเรื่องการสมรสนั้น ผู้เยาว์ (คนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี) ก็สามารถสมรสได้ ถ้าการสมรสนั้นได้ทำตามกฎหมาย (มาตรา 1448) คือ เมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว หรือมีเหตุอันสมควรที่ศาลอนุญาตให้สมรสก่อนอายุ 17 ปี และผู้เยาว์ก็จะบรรลุนิติภาวะทันทีเมื่อทำการสมรส (มาตรา 20)

ความคิดชั้นแรกก็คือ การที่กฎหมายกำหนดให้ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ ก็เพราะเหตุที่ว่าถ้าผู้เยาว์สมรสแล้ว ผู้เยาว์จะต้องหาเลี้ยงครอบครัว รวมไปถึงหากมีลูกก็จะต้องเลี้ยงดูลูก การคงไว้ซึ่งสถานะผู้เยาว์ จะทำให้ผู้เยาว์ใช้ชีวิตครอบครัวลำบากมาก เพราะต้องกลับไปขอความยินยอมจากพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนจะไปทำอะไร จะไปซื้อนมลูกก็ต้องกลับไปหาปู่ย่าตายายของหลาน แบบนี้ก็คงไม่โอเค

หากแต่ถ้าเราเริ่มสงสัยคิดไปอีกนิด แล้วสมมติผู้เยาว์หย่ากันในเดือนหรือปีถัดมา ผู้เยาว์ไม่มีลูกระหว่างสมรสด้วย คำถามคือ สถานะความเป็นผู้เยาว์จะกลับมาหาผู้เยาว์ไหม? หรือผู้เยาว์สมรสไปแล้ว บรรลุนิติภาวะไปแล้ว ก็บรรลุไปเลย วันวานมันคืนย้อนมาไม่ได้ ในหัวเราอาจจะมีข้อโต้แย้งว่า ที่กฎหมายในภาพรวมบอกคนเราจะบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปี แสดงว่าต่ำกว่า 20 ปี ในสายตากฎหมายก็ควรจะต้องได้รับการปกป้องในฐานะที่เป็นผู้เยาว์ใช่ไหม กรณีนี้ผู้เยาว์กลับมาโสดอีกครั้ง และอายุก็ยังไม่เกิน 20 ปี ทำไมผู้เยาว์ไม่ควรได้สถานะผู้เยาว์กลับคืนมาล่ะ

นี่ล่ะครับ ประเด็นนี้น่าจะพัฒนาไปเป็นวิทยานิพนธ์ได้ เพราะเราสามารถวางโครงร่างวิทยานิพนธ์ได้ล่ะ เริ่มจากประเด็นปัญหาว่า ผู้เยาว์ที่สมรสแล้ว ผลทางกฎหมายปัจจุบันคือผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ แต่หากผู้เยาว์หย่าโดยที่ยังอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ สถานะผู้เยาว์จะกลับมาหรือไม่ สิ่งที่เราจะต้องทำต่อคือ เราจะศึกษาด้วยวิธีไหน

เอาโดยทั่วไป วิทยานิพนธ์กฎหมายจำนวนมากในไทยมักจะใช้วิธีเปรียบเทียบกฎหมาย (comparative method) เราอาจเลือกประเทศที่ใช้เปรียบเทียบกฎหมาย เช่น กฎหมายฝรั่งเศส กฎหมายอังกฤษ กฎหมายเยอรมัน กฎหมายญี่ปุ่น ฯลฯ เพื่อดูว่าปัญหานี้ในต่างประเทศเขามีประสบการณ์อย่างไร แล้วกลับมาศึกษากฎหมายไทยว่า ในไทยมีใครพูดหรือเขียนอะไรเกี่ยวกับปัญหานี้บ้าง

เราจะต้องศึกษาทบทวนพัฒนาการทางความคิดของเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการสมรสของผู้เยาว์ไปเรื่อย ๆ ทั้งไทยและต่างประเทศ (literature review) โดยอาจเริ่มจากศึกษาย้อนไปสมัยโรมันก่อนก็ได้ แล้วมาศึกษาความคิดทฤษฎีทางกฎหมายในปัจจุบัน โครงของวิทยานิพนธ์ในลักษณะนี้อาจแบ่งเป็น 6 บท เช่น บทนำ บททฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวข้อง บทกฎหมายต่างประเทศ บทกฎหมายไทย บทวิเคราะห์ บทสรุปและเสนอแนะ

นอกจากนี้ การศึกษาโดยใช้วิธีเปรียบเทียบกฎหมายก็ควรจะศึกษาทั้งความเหมือน ความแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย ที่มา เหตุผลของความแตกต่าง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการแตกต่าง ความเป็นไปได้ (รวมทั้งความเป็นไปไม่ได้) ในการนำมาปรับใช้ในกฎหมายไทย ฯลฯ

พอเขียนโครงเสร็จแล้ว เราก็ลองค้นคว้าดูสักพักแล้วไปหาที่ปรึกษาซึ่งเป็นอาจารย์ที่คิดว่าเขาสนใจในประเด็นนี้ มีความรู้ดีในเรื่องนี้ ยอมรับเป็นที่ปรึกษาของเรา

ส่วนวิธีการได้มาของหัวข้อวิทยานิพนธ์อื่น ๆ ยังมีอีกมากมายครับ เช่น

๒. การติดตามข่าวสารในชีวิตประจำวัน
บางทีประเด็นกฎหมายที่นำมาเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ก็มาจากการอ่านและขบคิดประเด็นข่าว เพราะกฎหมายมักจะไล่ตามโลกไม่ทัน หากเราติดตามข่าวสารบ่อย ๆ มักจะพบว่า ในยุคปัจจุบัน มันจะมีข้อเท็จจริงใหม่ที่กฎหมายเก่าอาจปรับใช้ไม่ถึง หรือจริง ๆ ก็อาจปรับใช้ได้ แต่จะปรับใช้ในแนวทางไหน พวกนี้ก็เอามาทำวิทยานิพนธ์ได้ เช่น ประเด็นเรื่องลิงหยิบกล้องมาถ่าย selfie แล้วมีการต่อสู้กันว่า ใครจะได้ลิขสิทธิ์ของรูประหว่างลิงกับคนที่เป็นเจ้าของกล้อง

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ผมเคยช่วยพี่ในรุ่นคิดหัวข้อหนึ่งได้เพราะข่าวเรื่องภาพยนตร์ที่นำคนที่เสียชีวิตไปแล้วมาทำการตัดต่อกราฟฟิกหรือทำ CG จนนักแสดงที่เสียชีวิตไปแล้ว มาโลดแล่นในภาพยนตร์อีกครั้งเสมือนยังมีชีวิตอยู่ มันก็เลยน่าสนใจอยู่ว่า ใครได้ประโยชน์จากการปลุกคนตายมาใช้ สิทธิของคนที่ตายไปแล้วในเรื่องนี้ควรจะคุ้มครองอย่างไร เขาจะปลุกมาเล่นหนังแบบไหนก็ได้หรือเปล่า คนตายลุกขึ้นมาโต้แย้งไม่ได้ ซึ่งล่าสุดหลังจากที่พี่คนนี้เขาสนใจและเอาไปทำวิทยานิพนธ์ค้นคว้าต่ออย่างดี พี่เขาก็ได้จบปริญญาโทด้วยวิทยานิพนธ์ในหัวข้อนี้ไปแล้วครับ

ทั้งนี้ยังมีประเด็นปัญหาใหม่ ๆ ที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเงินสมัยใหม่อย่างสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Vehicles) พวกนี้เอามาจับกับกฎหมายพื้นฐานอย่างกฎหมายสัญญา ละเมิด ทรัพย์สิน ก็น่าจะมีประเด็นพอสมควรครับ

๓. เรื่องในชีวิตประจำวัน
การใช้ชีวิตในแต่ละวันก็อาจนำมาซึ่งหัวข้อวิทยานิพนธ์ไม่รู้ตัว เช่น การที่คุณนั่ง Grab บ่อย ๆ ถ้าลองคิดดี ๆ มันน่าสนใจว่า ความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบริษัท Grab คนขับ Grab และคนโดยสารเป็นไปตามกฎหมายไหนบ้าง แต่หัวข้อแบบนี้ต้องไว เพราะมักจะมีคนนำไปทำวิจัยอย่างรวดเร็ว โดยส่วนตัว ผมว่าการใช้บริการพวกธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ พวกกิจการสตาร์ทอัพ หรือธุรกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) แนว ๆ Airbnb Uber อะไรพวกนี้ก็มีประเด็นที่น่าสนใจ

พูดถึงการได้มาเช่นนี้ บางทีหัวข้อมันมาจากอารมณ์ เช่น เพราะเหตุแห่งความโมโห คุณอาจจะโมโห เซ็ง ๆ ที่ต้องจ่ายค่าบริการ (Service Charge) ให้กับร้านอาหาร โดยที่ร้านนั้นบริการไม่ดี คุณก็อาจจะเอามาขบคิดว่า ความเป็นมาของการจ่ายเงินเพื่อบริการแบบนี้มันตั้งอยู่บนฐานอะไรของกฎหมาย แล้วก็ค้นคว้าต่อ

๔. จากสื่อสังคมออนไลน์
การติดตามหน้า Facebook อาจารย์กฎหมาย วิธีนี้มาในโลกสมัยใหม่มาก หากคุณมีเพื่อนเป็นอาจารย์ใน Facebook ของคุณ บางทีก็จะพบว่า อาจารย์แจกหัวข้อวิทยานิพนธ์กันโต้ง ๆ ไปเลย ตาดีได้ตาร้ายเสีย เก่งไม่กลัว กลัวช้า ข้อดีของการได้หัวข้อวิธีนี้ คือ ส่วนมากอาจารย์คนนั้นมีโอกาสที่จะยินดีรับเราเป็นที่ปรึกษาด้วย เพราะหัวข้อมันน่าสนใจในสายตาของอาจารย์ และจริง ๆ ถ้าอาจารย์ได้โพสแล้ว แสดงว่าอาจารย์คนนั้นน่าจะมีอารมณ์ร่วมในหัวข้อนั้นอยู่ (ฮ่า ๆ)

๕. หัวข้อที่ตกทอดมาจากบัณฑิตรุ่นก่อนหน้า
เราอาจหาหัวข้อวิทยานิพนธ์จากการคุยกับคนที่จบไปแล้วที่พึ่งทำวิทยานิพนธ์เสร็จ อันนี้ก็น่าสนใจ จากการคุยกับหลาย ๆ คน เมื่อเราได้ทำวิทยานิพนธ์จนใกล้เสร็จ เราจะเริ่มเห็นว่า มันมีประเด็นกฎหมายอะไรอีกมากที่เกี่ยวพันกันกับหัวข้อที่ทำ แต่เนื่องด้วยขอบเขตมันไม่เกี่ยวข้อง หรือมันไกลเกินไป หรือมันไม่ใช่ประเด็นหลักก็เลยไม่ต้องเขียน แต่ทำแล้วมันเห็นแน่ ๆ ว่ามีปัญหา ถ้าไปถาม เราอาจจะได้ประเด็นหัวข้อพวกนี้กลับมาทำวิทยานิพนธ์ต่อ

เพื่อนผมคนหนึ่งได้หัวข้อวิทยานิพนธ์จากรุ่นก่อนเรื่องวิธีพิจารณาความแพ่งแบบแบ่งกลุ่ม (Class Action) เพราะคนก่อนพบว่ามีหัวข้อย่อยภายใต้หัวข้อที่เธอเขียน แต่มันใหญ่มาก ๆ จนต้องตัดทิ้ง จึงมาเสนอให้ป.โทรุ่นถัดมา ว่ามีใครสนใจทำต่อบ้าง ซึ่งหัวข้อนี้ก็ได้ถูกค้นคว้าจนสำเร็จไปแล้วเช่นกัน

สิ่งหนึ่งที่พบได้บ่อย ๆ คือบางทีคนเขียนวิทยานิพนธ์อาจจะเขียนเก็บไว้ในบทสุดท้ายของวิทยานิพนธ์ส่วนของข้อเสนอแนะว่า มันยังมีประเด็น ๆ นี้ที่น่าสนใจนะ ลองไปเปิดดูเล่น ๆ ก็อาจจะเจอครับ

สุดท้ายนี้ ผมขอเสนอแนะเรื่องหัวข้อวิทยานิพนธ์อีกอันก็คือ (ถ้าเป็นไปได้) การทำวิทยานิพนธ์นั้น ถ้าเราชอบอะไร อยากรู้อยากหาคำตอบในเรื่องที่เรากะตือรือร้นหรือสนใจได้ ระหว่างทำเราก็จะมีแรงฮึดที่จะทำมันได้เรื่อย ๆ (บางครั้งถึงขั้นสนุกดี) ถ้าหาหัวข้อที่เราชอบและสนุกกับมัน การทำวิทยานิพนธ์จะโล่งขึ้นอีกเยอะ

อีกอย่างก็คือ ถ้าได้หัวข้อแล้ว รีบเช็คก่อนเลยว่าคนทำหรือยัง คือบางหัวข้อมันเป็นวิทยานิพนธ์ได้ และแน่นอนว่า เพราะมันเป็นวิทยานิพนธ์ได้ มันก็เลยเป็นไปแล้ว มีคนทำไปแล้ว (ฮ่า) หลังจากเห็นว่าไม่ซ้ำ ให้รีบหาที่ปรึกษา รีบเขียนโครง รีบทำแต่เนิ่น ๆ จะดีมาก สตาร์ทไวจะได้ไม่ต้องเจอการบีบคั้นเรื่องเวลาที่แสนจะเครียดครับ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

เทคนิคการเขียน Essay ให้ดีเยี่ยม!

เทคนิคการเขียน Essay ให้ดีเยี่ยม!

การเขียน Essay ที่ดีไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าคุณมีแผนที่ชัดเจนและเทคนิคที่เหมาะสม ลองทำตามเคล็ดลับง่าย ๆ เหล่านี้ เพื่อทำให้ Essay ของคุณดึงดูดความสนใจและมีความสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ 🌟 1. เริ่มต้นด้วย Thesis Statement ที่ชัดเจน 🎯กำหนดประเด็นหลักที่คุณต้องการสื่อ และตั้งคำถามที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าบทความของคุณมีจุดประสงค์อะไร ทำให้การเขียนมีทิศทางและสอดคล้องกัน 2. วางโครงสร้างและจัดระเบียบหัวข้อ 🗂️แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วน ๆ เช่น บทนำ

วิจัยเผย ‘วาซาบิ’ อาจช่วย ‘ผู้สูงอายุ’ ให้ความจำดีขึ้นได้

วิจัยเผย ‘วาซาบิ’ อาจช่วย ‘ผู้สูงอายุ’ ให้ความจำดีขึ้นได้

เป็นที่รู้กันในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่า “วาซาบิ” (wasabi) ดีต่อสมอง แต่ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับพืชชนิดนี้กับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สุ่มเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมมากที่สุด ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นจึงได้ทำการวิจัยและค้นคว้าในเรื่องดังกล่าว การศึกษาซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients โดยให้กลุ่มอาสาสมัครผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งรับประทานวาซาบิแบบเม็ดทุกวัน และอีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาหลอกทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากใน “วาซาบิ” มีส่วนผสมที่ชื่อว่า 6 เมทิลซัลฟินิล เฮกซิล ไอโซไทโอไซยาเนต (6 methylsulfinyl hexyl isothiocyanate:

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ในยุคที่เทคโนโลยีและการเชื่อมต่อออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัว ธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน การเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลช่วยป้องกันเราจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ 🛡️📱 ⚠️ เหตุผลที่ความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความสำคัญ: 💡 เคล็ดลับง่ายๆ ในการเสริมความปลอดภัย: การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพื่อปกป้องข้อมูลและรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัล 🌟🔐 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️

ปวดหัวกับงานวิจัยทำไงดี ?

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ในยุคดิจิทัลสำคัญอย่างไร?

ให้เราช่วยคุณสิ 👍 เรามีทีมงาน และพร้อมบริการ วิจัย  วิทยานิพนธ์  สารนิพนธ์ ค้นคว้าอิสระ (IS) / เก็บข้อมูลแบบสอบถาม Online-Offline / บทความวิจัย  / วิชาการ แผนธุรกิจ การตลาด / ทำผลงาน  เลื่อนขั้น ตีพิมพ์  และอื่น ๆ  🗣