การวิจัยเชิงปริมาณ

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงโดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณจะพยายามออกแบบวิธีการวิจัย ให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษา ต้องจัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์และประมวลข้อสรุป เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด

การวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ การอธิบายเน้นการนำเสนอเชิงตัวเลขทางสถิติ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีหรือสร้างทฤษฎี และให้ความหมายในเชิงวิชาการมากกว่าการศึกษาแง่มุมของชาวบ้าน ขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย

fdh.png
  1. การเลือกหัวข้อเรื่องการวิจัย (Research Topic)ในขั้นตอนแรกผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าจะวิจัยเรื่องอะไร แล้วกำหนดเป็นหัวเรื่องที่จะวิจัย
  2. การกำหนดปัญหาในการวิจัย (Formulating the Research Problem)เป็นการตั้งปัญหาในเรื่องที่ต้องการวิจัย เพื่อหาคำตอบ หรือเป็นการแจกแจงวัตถุประสงค์ของการศึกษา  โดยต้องกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน  และเป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้
  3. สำรวจทบทวนวรรณกรรม (Extensive Literature Survey)เป็นการทบทวนเอกสารแนวคิดทางทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่ต้องการศึกษาเพื่อหาแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และสำรวจให้แน่ใจว่าไม่วิจัยซ้ำกับผู้อื่น ทั้งนี้การวิจัยควรเน้นการเสริมสร้างให้เกิดความรู้ใหม่ 
  4. การตั้งสมมุติฐานการวิจัย (Formulating Hypothesis)คาดคะเนแนวคิดเพื่อตอบคำถามของปัญหาในการวิจัย หาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่จะศึกษาไว้ก่อน จากนั้นจึงเก็บข้อมูลเพื่อมาพิสูจน์สมมุติ
  5. การออกแบบการวิจัย (Research Design)เป็นการวางแผนกำหนดวิธีการในการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาในการวิจัย เช่นการเก็บข้อมูล การเลือกเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการวิจัยบุคลากรและงบประมาณที่จะใช้
  6. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)เป็นการวางแผนว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร จะใช้ข้อมูลปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ และถ้าเป็นข้อมูลทุติยภูมิควรจะเก็บอย่างไร การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลทุติยภูมิจะใช้ข้อมูลจากแหล่งใด
  7. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะนำมาบรรณาธิการความถูกต้อง (การตรวจสอบความถูกต้อง) และความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อน จึงทำการประเมินผลและวิเคราะห์ผลที่ได้และพิสูจน์กับสมมติบานที่ตั้งไว้
  8. การจัดทำรายงานผลและเผยแพร่ (Research Report)เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยต้องเขียนรายงานเพื่อให้ผู้อื่นทราบถึงกิจกรรมที่ดำเนินในขั้นตอนต่างๆและสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานตามรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัย และเขียนด้วยความซื่อสัตย์ในสิ่งที่ค้นพบ

การตั้งสมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณจะเหมาะสมกับการทดสอบทฤษฎีด้วยวิธีการแบบอุปนัย (Deductive) แนวปฎิฐานนิยมเป็นหลักการทดสอบความแม่นตรงของข้อมูล (Validity) ความเชื่อถือได้ของข้อมูล (Reliability) ใช้การเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมากด้วยแบบสอบถาม คำถามในแบบสอบถามจึงจำเป็นต้องมีความชัดเจน

ที่มา : ขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

การเรียนและสมาธิ เป็นของคู่กัน

การเรียนและสมาธิ เป็นของคู่กัน

✨เนื่องจากสมาธิเป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนและการศึกษา เพื่อให้เราสามารถเน้นความสำคัญและให้ความร่วมมือในกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ———————- 👉 และนี่คือข้อแนะนำเกี่ยวกับสมาธิและการเรียนที่เรานำมาฝากเพื่อนๆค่ะ : 1. การเพิ่มสมาธิ: สมาธิสามารถเพิ่มความจำของเรา การทำสมาธิส่งผลให้เรามีความตั้งใจในการเรียนและสามารถรับรู้ข้อมูลได้ดีกว่า 2. การลดความรู้สึกเครียด: การมีสมาธิสามารถช่วยลดความรู้สึกเครียดที่เกิดจากการเรียนหรือการสอบ เมื่อเราสามารถรักษาสมาธิในขณะที่เรียน จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับแรงกดดันและความยากลำบากในการเรียนได้ดีขึ้น 3. การเพิ่มความตั้งใจ: สมาธิช่วยให้เรามีความตั้งใจในการเรียน รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการสมาธิช่วยให้เราสามารถใช้เวลาและทรัพยากรในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ตัวเองมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ 4. การเพิ่มความระมัดระวัง: สมาธิช่วยให้เรามีความระมัดระวังในการเรียน สามารถตระหนักถึงสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้ ช่วยให้เราสามารถจับต้องและเข้าใจข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

เคล็ดลับการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

เคล็ดลับการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในศิลปะหรือการออกแบบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาอย่างมีนวัตกรรมในหลายๆ ด้านของชีวิต 🌟 นี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ! การเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ภายในคืนเดียว แต่เป็นกระบวนการที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 💡 ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ คุณจะสามารถปลดล็อกศักยภาของความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณและสนุกกับการสร้างสรรค์ในทุกด้านของชีวิต! – – – – – – – – – – – – – – –

เทคนิคในการเริ่มเขียนวิจัย

เทคนิคในการเริ่มเขียนวิจัย

🍄 อาจจะมีเพื่อนบางคนใช้เวลาในการทำวิจัยนานมาก ตั้งแต่การเริ่มต้นทำ ระยะเวลาระหว่างทำ กว่าจะแก้ไข กว่าจะสอบผ่าน เรามาเตรียมตัวตั้งแต่ขั้นตอนในการ “เริ่มต้นเขียนวิจัย” กันดีกว่า เพราะการเริ่มต้นนั้นยากที่สุดเสมอ พอเราได้เริ่มแล้วขั้นตอนต่อ ๆ ไปจะเริ่มตามมาเอง! 💙 พูดคุย / ระดมสมองเพื่อหาไอเดีย เริ่มต้นด้วยการลองพูดคุยกับเพื่อน ๆ ว่ากำลังสนใจที่จะทำในหัวข้อไหน ประเด็นสำคัญที่ต้องเน้นในส่วนเนื้อหา การเก็บรวบรวมข้อมูล ผลลัพธ์ที่คาดหวัง เหตุผลที่ต้องการศึกษาในปัญหานี้ เพื่อเป็นการแชร์ไอเดีย

ทำงานวิจัยไม่ทัน!!!!

ทำงานวิจัยไม่ทัน!!!!

😵‍😓 “ทำงานประจำควบคู่เรียนต่อ” “งานวิจัยมีแก้ไขเยอะมาก” “ทำวิจัยไม่เป็น ไม่รู้จะใช้วิธีการไหน” คุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือเปล่าคะ❓ . ถ้าใช่! คุณมาถูกทางแล้วล่ะ 😊 ะเรามีบริการเกี่ยวกับวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ IS ทำแบบสอบถาม Assignment และอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมที่จะช่วยเหลืองานวิจัยของคุณ . ⏰อย่าปล่อยให้เวลาทำงานเหลือน้อย ติดปัญหาในส่วนไหนทักแชทสอบถามเราเลย ด้วยประสบการณ์การทำงานหลายหมื่นชิ้น และทีมงานหลากหลายสาขาวิชา