เทคนิคการตั้งคำถามในแบบสอบถาม

IMG_2810.jpg

หากคุณเคยทำวิจัย คุณจะรู้ว่าการออกแบบสอบถามเป็นหนึ่งจากหลาย ๆ ส่วนที่ยาก และเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการวิจัยตลาด ซึ่งองค์ประกอบของแบบสอบถามจะแตกต่างกันไป ดังนั้นเมื่อคุณต้องสร้างแบบสอบถามอาจจะต้องลำบากไปสักนิด วันนี้เราจะมาลดความยากเหล่านั้นได้ด้วย 7 ขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยคุณเมื่อออกแบบสอบถาม
1. การพิจารณาหัวข้อของปัญหาที่ต้องการศึกษาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อให้ทราบว่าต้องการข้อมูลเกี่ยวข้องกับอะไร นอกขากนี้วัตถุประสงค์ของการวิจัยจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของข้อมูลได้ว่าจะต้องเก็บข้อมูลอะไรบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา
2. ศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยจะได้ตั้งคำถามรอบคอบยิ่งขึ้น และผู้ศึกษาวิจัยจะได้จับประเด็นสำคัญๆ ได้ครบทุกหัวข้อ 

3. ร่างแบบสอบถาม โดยเขียนข้อคำถามต่างๆ ให้สอดคล้องกับสิ่งต้องการศึกษาหาคำตอบและคาดด้วยว่าคำตอบเหล่านั้นจะสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพียงใด อาจใช้เป็นคำถามปลายปิดหรือปลายเปิดก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม จากนั้นเรียงลำดับคำถาม อาจเรียงตามหมวดหมู่ของคำถาม เช่น คำถามเกี่ยวกับทัศนคติ ข้อมูลสวนตัว หรือเรียงจากความยากง่าย เช่นให้เรียงจากข้อคำถามง่ายๆ ไปหายาก ถามข้อมูลทั่วๆไป แล้วต่อต่อด้วยคำถามที่ต้องการข้อมูลเจาะลึก เป็นต้น

4. ตรวจสอบและปรับปรุงร่างแบบสอบถาม เป็นการหาข้อบกพร่องของแบบสอบถาม อาจทำได้ 2 วิธี คือ

  • การตรวจสอบโดยผู้ศึกษาวิจัยเองอีกครั้ง เพื่อพิจารณาถึงถ้อยคำและประโยคว่าชัดเจนหรือไม่ และดูการจัดเรียงข้อคำถามว่าเหมาะสมหรือยัง
  • การตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อขอคำแนะนำและคำวิจารณ์สำหรับแนวทางในการปรับปรุงแบบสอบถามให้ความน่าเชื่อถือมากที่สุด รวมทั้งการพิจารณาเกี่ยวกับความเที่ยงตรง ของแบบสอบถามด้วย

5. การทดสอบแบบสอบถาม หรืออาจเรียกว่า pre-test เป็นการนำแบบสอบถามไปสอบถามกับกลุ่มประชากรเพียงบางส่วน (โดยทั่วไปประมาณ 20 ชุด) เพื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของข้อบกพร่องบางประการของผู้ตอบแบบสอบถาม และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปหาคุณภาพของแบบสอบถาม และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ไปหาคุณภาพของแบบสอบถาม เพื่อปรับปรุงแบบสอบถาม เพื่อปรับปรุงแบบสอบถามให้ดีขึ้น

 6. ปรับปรุงแบบสอบถามครั้งที่ 2 โดยพิจารณาจากผลที่ได้ในขั้นตอนที่ 5

7. สร้างแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ โดยการจัดวางคำชี้แจง เนื้อหาของคำถาม ตรวจสอบคำสะกด วรรคตอนย่อหน้า การจัดวางให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ชั้นสุดท้ายจัดพิมพ์และทำสำเนาพร้อมกับเก็บข้อมูลจากตัวอย่างจริง

การตั้งคำถามและการใช้ถ้อยคำเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องอาศัยศิลปะและความชำนาญ ประกอบด้วยเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่ช่วยให้การตั้งคำถามง่ายขึ้น

  • ใช้คำถามที่ชัดเจน สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และได้ใจความ ไม่ตีความหมายได้หลายแง่หลายด้าน
  • ไม่ควรใช้คำที่ตีความหมายได้แตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น คำว่า บ่อยๆ บางครั้งนานๆครั้ง ซึ่งแต่ละคนจะตีความหมายของความถี่แตกต่างกัน เช่น บางคนตีความหมายของคำว่าบ่อยว่า ทุกสัปดาห์ หรือบางคนตีความหมายว่า เดือนละครั้ง ก็ได้ 
  • ไม่ควรใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เช่น ห้ามไม่ให้
  • ระวังไม่ให้ตัวเลือกตอบน้อยเกินไป และควรให้มีตัวเลือกตอบที่คนส่วนใหญ่น่าจะเลือกตอบอยู่ด้วย
  • หลีกเลี่ยงคำที่ในรูปนามธรรม เนื่องจากแต่ละบุคคลตีความไม่เหมือนกัน เช่น เลว ดี มาก น้อย สวย รวย จน 
  • ระมัดระวังในการใช้บางคำที่เกิดขึ้นตามยุคสมัย หรือตามสื่อต่างๆ เช่น ดูด ชิวๆ แฉล้ม เป็นต้น รวมทั้งไม่ใช้คำสุภาพ ภาษาแสลง
  • ไม่ควรตั้งคำถามที่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง เช่น การขึ้นต้นข้อคำถามในลักษณะที่เห็นด้วย ถูกต้องหรือไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน

สิ่งที่สำคัญในการตั้งคำถามใดๆ ควรตั้งคำถามที่สามารถนำข้อมูลนั้นไปวิเคราะห์ ทางสถิติได้ง่ายอาจกำหนดให้มีคำถามปลายปิดมากกว่าคำถามปลายเปิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนั้นๆ

ที่มา : การตั้งคำถามในแบบสอบถาม

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

การเรียนและสมาธิ เป็นของคู่กัน

การเรียนและสมาธิ เป็นของคู่กัน

✨เนื่องจากสมาธิเป็นทักษะที่สำคัญในการเรียนและการศึกษา เพื่อให้เราสามารถเน้นความสำคัญและให้ความร่วมมือในกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ———————- 👉 และนี่คือข้อแนะนำเกี่ยวกับสมาธิและการเรียนที่เรานำมาฝากเพื่อนๆค่ะ : 1. การเพิ่มสมาธิ: สมาธิสามารถเพิ่มความจำของเรา การทำสมาธิส่งผลให้เรามีความตั้งใจในการเรียนและสามารถรับรู้ข้อมูลได้ดีกว่า 2. การลดความรู้สึกเครียด: การมีสมาธิสามารถช่วยลดความรู้สึกเครียดที่เกิดจากการเรียนหรือการสอบ เมื่อเราสามารถรักษาสมาธิในขณะที่เรียน จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับแรงกดดันและความยากลำบากในการเรียนได้ดีขึ้น 3. การเพิ่มความตั้งใจ: สมาธิช่วยให้เรามีความตั้งใจในการเรียน รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการสมาธิช่วยให้เราสามารถใช้เวลาและทรัพยากรในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ตัวเองมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ 4. การเพิ่มความระมัดระวัง: สมาธิช่วยให้เรามีความระมัดระวังในการเรียน สามารถตระหนักถึงสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้ ช่วยให้เราสามารถจับต้องและเข้าใจข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

เคล็ดลับการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

เคล็ดลับการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในศิลปะหรือการออกแบบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาอย่างมีนวัตกรรมในหลายๆ ด้านของชีวิต 🌟 นี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณ! การเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ภายในคืนเดียว แต่เป็นกระบวนการที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 💡 ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้ คุณจะสามารถปลดล็อกศักยภาของความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณและสนุกกับการสร้างสรรค์ในทุกด้านของชีวิต! – – – – – – – – – – – – – – –

เทคนิคในการเริ่มเขียนวิจัย

เทคนิคในการเริ่มเขียนวิจัย

🍄 อาจจะมีเพื่อนบางคนใช้เวลาในการทำวิจัยนานมาก ตั้งแต่การเริ่มต้นทำ ระยะเวลาระหว่างทำ กว่าจะแก้ไข กว่าจะสอบผ่าน เรามาเตรียมตัวตั้งแต่ขั้นตอนในการ “เริ่มต้นเขียนวิจัย” กันดีกว่า เพราะการเริ่มต้นนั้นยากที่สุดเสมอ พอเราได้เริ่มแล้วขั้นตอนต่อ ๆ ไปจะเริ่มตามมาเอง! 💙 พูดคุย / ระดมสมองเพื่อหาไอเดีย เริ่มต้นด้วยการลองพูดคุยกับเพื่อน ๆ ว่ากำลังสนใจที่จะทำในหัวข้อไหน ประเด็นสำคัญที่ต้องเน้นในส่วนเนื้อหา การเก็บรวบรวมข้อมูล ผลลัพธ์ที่คาดหวัง เหตุผลที่ต้องการศึกษาในปัญหานี้ เพื่อเป็นการแชร์ไอเดีย

ทำงานวิจัยไม่ทัน!!!!

ทำงานวิจัยไม่ทัน!!!!

😵‍😓 “ทำงานประจำควบคู่เรียนต่อ” “งานวิจัยมีแก้ไขเยอะมาก” “ทำวิจัยไม่เป็น ไม่รู้จะใช้วิธีการไหน” คุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือเปล่าคะ❓ . ถ้าใช่! คุณมาถูกทางแล้วล่ะ 😊 ะเรามีบริการเกี่ยวกับวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ IS ทำแบบสอบถาม Assignment และอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมที่จะช่วยเหลืองานวิจัยของคุณ . ⏰อย่าปล่อยให้เวลาทำงานเหลือน้อย ติดปัญหาในส่วนไหนทักแชทสอบถามเราเลย ด้วยประสบการณ์การทำงานหลายหมื่นชิ้น และทีมงานหลากหลายสาขาวิชา