เทคนิคการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size)

ข้อควรรู้ ก่อนที่จะไปทำความรู้จักสูตรการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง การเรียนรู้คำศัพท์เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการหากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่

ประชากร (Population) คือ สมาชิกทุกหน่วยของสิ่งที่สนใจศึกษาวิจัย

กลุ่มตัวอย่าง (Sample) คือ ส่วนหนึ่งของประชากร ที่นำมาเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรทั้งหมด จึงต้องมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม  เพื่อให้สามารถอ้างอิง ไปยังประชากรได้อย่างน่าเชื่อถือ

การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) คือ กระบวนการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ที่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรทั้งหมดได้

ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัย  เนื่องจากกลุ่มตัวอย่าง หรือ Sample Size คือ ตัวแทนที่ดีของประชากรที่ทำการศึกษา

กลุ่มตัวอย่าง (Sample Group) หมายถึง บางส่วนของประชากร ที่ถูกเลือกสำหรับใช้เป็นตัวแทนของประชากรที่ทำการวิจัย  การใช้กลุ่มตัวอย่าง ที่มีขนาดเล็กมากเกินไป ย่อมทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของการแปลผลการวิจัยได้มาก  ในทางกลับกัน การใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ จะมีโอกาสให้เกิดความคลาดเคลื่อนน้อย

3 วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างมีด้วยกันหลากหลายวิธีด้วยกัน ในที่นี้จะเสนอการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการกำหนดเกณฑ์ การใช้สูตรคำนวณและการใช้ตารางสำเร็จรูป ซึ่งแต่ละวิธีสามารถอธิบายได้ต่อไปนี้

1. การกำหนดเกณฑ์

ในกรณีนี้ผู้วิจัยต้องทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนก่อนแล้ว ใช้เกณฑ์โดยกำหนดเป็นร้อยละของประชากรในการพิจารณาดังนี้ (ธีรวุฒิ เอกะกุล, 2543)

  • ถ้าขนาดประชากรเป็นหลักร้อย       ควรใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 25%
  • ถ้าขนาดประชากรเป็นหลักพัน       ควรใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 10%
  • ถ้าขนาดประชากรเป็นหลักหมื่น    ควรใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 5%
  • ถ้าขนาดประชากรเป็นหลักแสน     ควรใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 1%

2. การใช้ตารางสำเร็จรูป

การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป มีอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับ ความต้องการของผู้วิจัย ตารางสำเร็จรูปที่นิยมใช้กันในงานวิจัยเชิงสำรวจ ได้แก่ ตารางสำเร็จของทาโร ยามาเน่ และตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และเมอร์แกน เป็นต้น

ตารางที่ 1: ขนาดของกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % และความคลาดเคลื่อนต่างๆ

ตารางที่ 2: ขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน(ที่มา : Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan. 1970 อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล, 2543)

3. การใช้สูตรคำนวณ

3.1 กรณีทราบขนาดของประชากร จะนิยมใช้สูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane, 1973)

n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ

N = ขนาดของประชากร

e = ความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้

วิธีการคำนวณสูตรนี้ผู้วิจัยต้องทราบขนาดของประชากรที่ต้องการศึกษา (N) และกำหนดระดับความคลาดเคลื่อนที่ของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้ (e) เช่น ถ้าประชากรที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 2,000 หน่วย ยอมรับให้เกิดความคลาดเคลื่อนจากตัวอย่างได้ 5% ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการเท่ากับ

3.2 กรณีไม่ทราบขนาดของประชากร

 3.2.1 สูตรของคอแครน (Cochran, 1977 อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล, 2543) ใช้ในกรณีที่ไม่ทราบขนาดของประชากรที่แน่นอน แต่ทราบว่ามีจำนวนมากและต้องการประมาณค่าสัดส่วนของประชากร มี 2 กรณีคือ

  3.2.1.1 กรณีทราบค่าสัดส่วนของประชากร ใช้สูตร

  3.2.1.2 กรณีไม่ทราบค่าสัดส่วนของประชากร  ใช้สูตร

n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ

p = สัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากร

e = ระดับความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมให้เกิดขึ้นได้

Z = ค่า Z ที่ระดับความเชื่อมั่นหรือระดับนัยสำคัญ

– ถ้าระดับความเชื่อมั่น 95% หรือระดับนัยสำคัญ 0.05 มีค่า Z = 1.96

– ถ้าระดับความเชื่อมั่น 99% หรือระดับนัยสำคัญ 0.01 มีค่า Z = 2.58

ตัวอย่างการคำนวณ เช่น ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ 5% และสัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากร เท่ากับ 0.5 ขนาดของประชากรที่ต้องการเท่ากับ

Credit: https://bit.ly/3PNcg4s

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ Thesis Thailand ขอแนะนำการจัดตารางการอ่านหนังสือ ดังนี้ . 1. เลือกเวลาที่เหมาะสม เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก . 2.

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

จากการศึกษางานวิจัยของ The British Journal of Psychology ทำการทดลองด้วยการสำรวจความเห็นของกลุ่มคนอายุ 18 ถึง 28 ปี จำนวนกว่า 15,000 คน ผลวิจัยพบว่า คนฉลาดหรือคนที่มีไอคิวสูง ๆ ที่จำนวนของกลุ่มเพื่อนมีผลกระทบต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก และคนฉลาดมักมีความพึงพอใจต่ำกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า นั่นแปลว่ายิ่งคุณฉลาดเท่าไหร่ คุณจะยิ่งไม่ชอบเข้าสังคมเลย . พบอีกว่าคนที่มีไอคิวสูงนั้นมักจะไม่ใช้เวลาไปกับการเข้าสังคมหรือใช้เวลากับเพื่อนมากนัก

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

จากการศึกษาเรื่องงานวิจัยที่น่าสนใจของ ดร.มุยเรียนน์ ไอริช นักประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด จากสถาบันวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย กล่าวว่าที่ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชายอาจเป็นเพราะผู้หญิงมักต้องทำงานที่ใช้ความจำในด้านบางอย่างมากกว่าผู้ชาย เช่น การตามตารางนัดหมาย หรือการตรวจสิ่งของต่างๆ ว่าเก็บไว้ตรงไหน ทำให้เหมือนเป็นการฝึกฝนไปในตัว . อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา & Holistic Medicine กล่าวว่าโครงสร้างของสมองระหว่างผู้ชายและผู้หญิงจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศในช่วงตอนต้นของชีวิต โดยผู้หญิงจะมีสมองส่วน Hippocampus ทำหน้าที่เก็บความจำต่อเหตุการณ์ขนาดใหญ่กว่าผู้ชาย จึงเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้มากกว่าและยังรวมถึงการระลึกเหตุการณ์เก่าๆ ที่สะเทือนจิตใจได้ดีกว่าผู้ชาย และขณะเดียวกันผู้ชายมักจะเก็บความทรงจำในภาพรวมหรือเหตุการณ์สำคัญๆมากกว่า

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

จากการศึกษาจาก แดรี่เลวานี จอห์นสัน (Darylevuanie Johnson) นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการปรึกษาด้านจิตวิทยา กล่าวว่า คนที่ชอบเอาอกเอาใจผู้อื่นอยู่เสมอ หรือที่เรียกว่าเป็น People-Pleaser ที่ความพึงพอใจของคนอื่นมักจะมาก่อนของตัวเองเสมอ และคิดว่าตัวเองไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ กับใครเลย เพราะการถูกปฏิเสธ ถูกโกรธ ถูกบอกเลิก หรือไม่ได้รับการยอมรับ . นับว่าเป็นเรื่องที่เจ็บปวดสำหรับคนประเภทนี้ ซึ่งหลายครั้งมันอาจถึงขั้นที่จะต้องแลกหรือเสียสละเวลา พลังงาน ความฝัน ความต้องการส่วนตัวของตัวเอง เพื่อทำให้คนอื่นมีความสุขมากที่สุด ทำให้พวกเขามักจะ