ส่วนเนื้อความ
ส่วนเนื้อความ (Text) คือส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์ เป็นการพรรณนาขั้นตอน วิธีการ และผลการศึกษาวิจัย โดยส่วนเนื้อความมักประกอบด้วยเนื้อหาหลักๆ 3 ส่วน คือ บทนำ ตัวเรื่อง และ บทสรุป
บทนำ (Introduction) เป็นส่วนที่ผู้เขียนใช้อธิบายถึง ที่มาและความสำคัญของปัญหาที่นำไปสู่การค้นคว้าวิจัย และสรุปสาระสำคัญของสิ่งที่จะทำการศึกษาวิจัยจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนที่ให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการค้นคว้าวิจัย จากนั้นเป็นการกล่าวถึง หลักการ ทฤษฎี ตัวแบบ แนวเหตุผล ที่จะใช้อ้างอิงหรือเป็นหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนผลการศึกษาวิจัยที่ค้นคว้าวิจัยมาได้ จากนั้นกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตของการศึกษาวิจัย และ นิยามศัพท์ เพื่ออธิบายคำศัพท์ที่ได้กำหนดขึ้นโดยมีความหมายเฉพาะตัวสำหรับการค้นคว้าวิจัยนั้นๆ เท่านั้น ในส่วนบทนำของบางเล่มจะมีสมมุติฐาน เพื่อเป็นการคาดคะเนถึงผลการค้นคว้าวิจัย ที่สอดคล้องวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นๆ ด้วย
ตัวเรื่อง (Body of the text) วิทยานิพนธ์แต่ละสาขาวิชา จะมีแบบฉบับในการเขียนเนื้อหาตัวเรื่องแตกต่างกันไป ส่วนประกอบหลักๆ ของตัวเรื่องมักประกอบด้วย การอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จากนั้นจึงกล่าวโดยละเอียดถึงผลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยด้วยวิธีการต่างๆ ตามวิธีดำเนินการวิจัย หลังจากกล่าวถึงผลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยแล้ว ก็จะเป็นส่วนสาระสำคัญของตัวเรื่อง คือการอภิปรายผลการวิจัย ซึ่งเป็นการวิจารณ์หรือการอภิปรายผลการวิจัยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจารณ์หรือการอภิปรายผลการวิจัย มักเป็นการอธิบายให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามความสัมพันธ์ของ หลักการ ทฤษฎี ตัวแบบ แนวเหตุผล หรือกฎเกณฑ์ ที่สอดคล้องกับผลของการค้นคว้าวิจัย หรือนำเสนอให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของผลการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนหรือคัดค้านสมมุติฐานที่มีผู้เสนอมาก่อนหรือที่ผู้เขียนสร้างขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถยกตัวอย่างเปรียบเทียบผลการค้นคว้าวิจัยของผู้เขียนกับของบุคคลอื่นโดยเน้นปัญหาหรือข้อโต้แย้งในสาระสำคัญของเรื่อง ทั้งนี้การเขียนตัวเรื่องอาจสอดแทรกเนื้อหาบางอย่างในส่วนท้าย เช่น ชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสียของวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ในการค้นคว้าวิจัย นำเสนอปัญหาและอุปสรรคในการค้นคว้าวิจัย แนะนำแนวทางที่จะนำผลการค้นคว้าวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเสนอคำแนะนำสำหรับการแก้ปัญหา หรือปรับปรุงสถานการณ์ที่ได้จากการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งเสนอแนวความคิดปัญหาหรือหัวข้อใหม่สำหรับการค้นคว้าวิจัยต่อไป
บทสรุป (Conclusion) เป็นส่วนที่นำเสนอผลการค้นคว้าวิจัยโดยสรุปเป็นประเด็นสาระสำคัญของผลของการศึกษาวิจัย ผู้เขียนสามารถอธิบายแนวคิดสำคัญที่ได้จากการศึกษาวิจัย และวิพากษ์วิจารณ์ผลการวิจัยพร้อมทั้งแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหาโดยสรุปได้
การใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อสุขภาพจิตและความเสี่ยงในโรคซึมเศร้า
การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนสำคัญของการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การใช้สื่อสังคมออนไลน์นั้นอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคคล และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้ด้วย 💁🏻♀️ ตามรายงานวิจัยของสถาบันภาพยนตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Mental Health) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้เวลาในการใช้งานมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงขึ้น หรือมีการสะสมความเครียดเพิ่มขึ้น การใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคคลได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาจมีผลกระทบที่ดีหรือเสียต่อบุคคลแต่ละคนตามความเป็นจริงของสถานการณ์และวิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ดังนี้ อย่างไรก็ตาม สื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตได้ โดยการเข้าร่วมกลุ่มหรือชุมชนออนไลน์ที่เกี่ยวกับการสนทนาเกี่ยวกับสุขภาพจิต การแชร์ประสบการณ์