มุมวิจัย

การเขียนบทความทางวิชาการ (ตอนที่ 1)

             ปัจจุบันการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นการเผยแพร่ที่มีอิสระมากที่สุดผู้บริโภคข้อมูลจากแหล่งดังกล่าวจำเป็นต้องรู้จักเลือกบริโภคข้อมูลข่าวสาร นอกจากการเลือกเรื่องที่อ่านแล้วสิ่งที่สำคัญคือ การตัดสินใจให้คุณค่าหรือเลือกที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อข่าวเหล่านั้น  แต่อย่างไรก็ตามการเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการไม่ว่าจะผ่านสื่อประเภทใด ก็มีลักษณะที่เหมือกันคือจะต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและจะต้องมีทีมผู้เชี่ยวชาญอ่านและคัดกรองก่อนที่จะนำมาเผยแพร่ ดังนั้นผู้ที่จะเขียนบทความหรือความรู้ทางวิชาการจะต้องมีความรู้ไม่เฉพาะแต่เรื่องที่จะเขียนแต่ต้องมีความรู้ในวิธีการเขียนด้วย

คำว่า “งานวิชาการ” หรือ “เอกสารวิชาการ” เป็นคำที่มีความหมายกว้าง แปลได้ตรงตัวว่า หมายถึง เอกสารทั่วไปที่เป็นวิชาการ และนับรวมถึงเอกสารประกอบการเรียน เช่น ตำรา หนังสือวิชาการ งานแปล งานวิจัย และบทความวิชาการ งานวิชาการมีประโยชน์ทั้งต่อผู้อ่านและผู้เขียน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่แต่ละคนตั้งไว้ เช่น ผู้อ่านงานวิชาการเพราะต้องการหานำความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงาน ส่วนผู้เขียนก็ต้องการเขียนเพื่อเผยแพร่สิ่งใหม่ๆ ที่ตนค้นพบให้ผู้อื่นทราบ เป็นต้น
งานวิชาการแต่ละเรื่องจึงมีประโยชน์ที่หลากหลาย การจัดทำเอกสารทางวิชาการแต่ละประเภทนั้น จะมีเทคนิคและวิธีการที่เหมือนและแตกต่างกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการเขียนบทความทางวิชาการ เนื่องจากการเขียนบทความเป็นกลไกหนึ่งที่จะทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ ให้แก่ผู้อ่านได้ในวงกว้าง และสามารถเขียนเรื่องได้หลากหลาย เช่น เพื่อแสดงความรู้ เสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตั้งข้อสังเกต วิเคราะห์วิจารณ์ ฯลฯ โดยต้องเขียนอย่างมีหลักฐาน มีเหตุผล น่าเชื่อถือ หากมีข้อเสนอแนะใดๆ ต้องเป็นไปในทางสร้างสรรค์ ตลอดจนมีช่องทางเผยแพร่ที่กว้างขวาง และเป็นวิธีการเผยแพร่ความรู้ที่ได้ผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง

ความหมายของบทความวิชาการ
“บทความทั่วไป” (General article) เป็นข้อเขียนที่มีลักษณะเป็นความเรียงที่มีลักษณะพิเศษผิดจากเรียงความ ตรงที่เป็นการเขียนที่เขียนขึ้นโดยมีพื้นฐานข้อเท็จจริง มีมูลเหตุมาจากเรื่องราว ข่าวสารที่ผู้เขียนแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์หรือเชิงสร้างสรรค์ขึ้น โดยผู้เขียนสามารถ นำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในรูปแบบอิสระ ไม่เป็นทางการ ไม่เป็นรูปแบบที่ตายตัว อาจนำเสนอเพื่อความบันเทิง หรือเพื่อให้ความรู้ ซึ่งผู้เขียนบทความในลักษณะนี้อาจนำบทความทางวิชาการมาเรียบเรียงใหม่ให้อ่านสนุกและเข้าใจง่ายขึ้น สำหรับ “บทความวิชาการ” (Academic article) เป็นบทความประเภทหนึ่ง ที่มีเนื้อหาแสดงข้อเท็จจริง ข้อความรู้ทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้เขียนอาจจะเสนอเฉพาะเนื้อหาสาระทางวิชาการหรือเสนอทั้งเนื้อหาสาระข้อเท็จจริง และแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ก็ได้ ซึ่งเป็นการนำเสนอแนวความคิดเดิมหรือแนวความคิดใหม่ๆ เพื่อ ให้ผู้อ่านปรับแนวความเชื่อเดิมมาสู่ความคิดที่ผู้เขียนเสนอ นอกจากนี้อาจเสนอผลการวิจัย โดยการเขียนจะต้องอาศัยหลักฐานอ้างอิงและเหตุผลที่สนับสนุนเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการ
วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการมีอยู่หลายประเด็นด้วยกัน ส่วนใหญ่แล้วจะต้องการให้ผู้อ่านได้รับ ความรู้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น แนวทางปฏิบัติ วิธีการแก้ปัญหา ข้อคิด แรงบันดาลใจ ข้อแนะนำ ข้อเสนอแนะ ในการเขียนบทความวิชาการแต่ละครั้งผู้เขียนควรจะกำหนดวัตถุประสงค์ของการเขียนให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์จากบทความในด้านใด เพราะในการเขียนบทความทางวิชาการถึงแม้จะเป็นเรื่องเดียวกันแต่อาจมีวิธีการนำเสนอแตกต่างกัน หากผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการเขียนต่างกัน ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการนั้น ผู้เขียนจะต้องตอบคำถามตามหลัก 5 W 1H ก่อนที่จะทำการเขียนบทความวิชาการเพื่อเป็นแนวในการกำหนดทิศทางของการเขียนและรูปแบบวิธีการนำเสนอเนื้อหาในบทความวิชาการดังกล่าว โดยหลัก 5 W 1H ประกอบด้วย

Who “จะเขียนให้ใครอ่าน” ผู้เขียนบทความวิชาการจะต้องทราบกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนว่าบทความดังกล่าวจะนำเสนอให้กลุ่มผู้อ่านที่เป็นกลุ่มหลักคือใคร เช่น นักศึกษา นักวิชาการ หรือประชาชนทั่วๆ ไป เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากจะได้กำหนดวิธีการนำเสนอและเรื่องได้เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่าน ตลอดจนเป็นแนวทางในการวางโครงเรื่องและการยกตัวอย่างในเนื้อหา
What “จะเขียนเรื่องอะไร” หลังจากที่ได้กำหนดชัดเจนแล้วว่าจะเขียนบทความวิชาการให้กับใครอ่าน คำถามต่อมาที่ต้องตอบคือ จะเขียนเรื่องอะไร ซึ่งเรื่องที่จะเขียนจะต้องสอดคล้องกับกลุ่มผู้อ่านด้วย เช่น หากผู้อ่านเป็นเยาวชน หากจะเขียนบทความวิชาการ เรื่อง กฎหมายไทย ให้กับผู้อ่านกลุ่มนี้คงไม่ได้รับความสนใจ แต่อานเขียนเจาะเฉพาะกฎหมายที่มีผลต่อเยาวชน เช่น หากเยาวชนทำผิดกฎหมายจะมีมาตรการการลงโทษอย่างไรบ้าง
Where “จะเขียนเพื่อเผยแพร่ที่ไหน” สำหรับแหล่งที่จะเผยแพร่นั้นก็มีความสำคัญ เพราะแหล่งเผยแพร่แต่ละแห่งจะมีวัตถุประสงค์เฉพาะหรือมีกลุ่มผู้อ่านเฉพาะ เช่น เผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัย เผยแพร่ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ หรือวารสารบันเทิง ลักษณะการเขียนบทความวิชาการจะต่างกัน นอกจากนี้รูปแบบการเขียน การอ้างอิง ลำดับหัวข้อของบทความที่เสนอผ่านแหล่งที่แตกต่างกันก็แตกต่างกันด้วย ซึ่งผู้เขียนจะต้องรู้ว่าจะเผยแพร่บทความดังกล่าวผ่านแหล่งใดและศึกษารายละเอียดของหัวข้อที่วารสารหรือแหล่งเผยแพร่นั้นๆ กำหนดไว้อย่างละเอียด
When “เวลาที่จะนำบทความลงเผยแพร่คือเมื่อใด” การรู้ช่วงเวลาที่จะเผยแพร่บทความนับเป็นประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่ง เนื่องจากบทความบางเรื่องหากนำเสนอในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะไม่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน หรือหากนำเสนอพ้นช่วงเวลาที่ควรนำเสนอแล้วบทความนั้นจะไม่ได้รับความสนใจหรืออาจถึงขั้นไม่มีผู้อ่าน เช่น หากจะนำเสนอบทความวิชาการเรื่อง “ประเด็นที่ควรคำนึงถึงในการจัดทำรัฐธรรมนูญ” ควรนำเสนอบทความดังกล่าวในช่วงก่อนที่จะมีการจัดทำ รัฐธรรมนูญ หรือ ช่วงเวลาที่กำลังมีการจัดทำฉบับ “ร่าง” แต่หากเขียนบทความดังกล่าวหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว เรื่องดังกล่าวจะดูล้าสมัยไป แต่สามารถแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเป็นเรื่อง “ขั้นตอนการจัดทำรัฐธรรมนูญ” หรือ “ประเด็นที่ควรไทยควรรู้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” แทนเรื่องเดิม
Why “จะนำเสนอเรื่องนี้ทำไม” นอกผู้ที่จะเขียนบทความวิชาการจะต้องตอบคำถาม Who What Where และ When แล้ว จะต้องอธิบายถึงเหตุผลของการเขียนบทความวิชาการว่าจะเขียนเรื่องดังกล่าวทำไม ซึ่งจะเชื่อมโยงถึง คำถาม Who What Where และ When เช่น จะเขียนเพื่อใช้สอนนักศึกษา จะเขียนเพื่อไม่ให้คนไทยถูกหลอก หรือจะเขียนเพื่อเผยแพร่กฎหมายให้ประชาชนทั่วไปทราบ
How “จะนำเสนอเรื่องนี้อย่างไร” สำหรับหัวข้อนี้ผู้เขียนบทความวิชาการจะต้องกำหนดแนวทางการเขียนว่าจะนำเสนอสาระสำคัญ แยกเป็นกี่ประเด็น ประเด็นใหญ่ๆ มีอะไรบ้าง ในประเด็นหลักมีประเด็นย่อยๆ มีตัวอย่าง มีเหตุผล เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไรบ้าง การวางโครงเรื่องจะช่วยให้เขียนเรื่องได้ง่าย ไปในทิศทางที่ต้องการ ไม่สับสน ไม่กล่าวซ้ำซาก ไม่นอกเรื่อง

ประเด็นที่ผู้เขียนบทความวิชาการที่ยึดตามหลัก 5 W 1H ต้องคำนึงถึงคือ ความเชื่อมโยง ต่อเนื่องและสอดคล้องในแต่ละข้อของ 5 W 1H เพื่อไม่ให้ผู้อ่านบทความสับสน และผู้เขียนบทความเองก็จะได้ไม่หลงประเด็น

ในส่วนขององค์ประกอบของบทความวิชาการและเทคนิคการเขียน ติดตามได้ในฉบับต่อไปนะคะ

เอกสารอ้างอิง
นภาลัย สุวรรณธาดา และคณะ (2548) การเขียนผลงานวิชาการและบทความ กรุงเทพมหานคร : หจก.ภาพพิมพ์
ทนง โชติสรยุทธ์ (2524) คำแนะนำในการเขียนบทความที่ดี กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด
(มหาชน)

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อสุขภาพจิตและความเสี่ยงในโรคซึมเศร้า

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อสุขภาพจิตและความเสี่ยงในโรคซึมเศร้า

การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนสำคัญของการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การใช้สื่อสังคมออนไลน์นั้นอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคคล และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้ด้วย 💁🏻‍♀️ ตามรายงานวิจัยของสถาบันภาพยนตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Mental Health) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้เวลาในการใช้งานมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงขึ้น หรือมีการสะสมความเครียดเพิ่มขึ้น การใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคคลได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาจมีผลกระทบที่ดีหรือเสียต่อบุคคลแต่ละคนตามความเป็นจริงของสถานการณ์และวิธีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ดังนี้ อย่างไรก็ตาม สื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตได้ โดยการเข้าร่วมกลุ่มหรือชุมชนออนไลน์ที่เกี่ยวกับการสนทนาเกี่ยวกับสุขภาพจิต การแชร์ประสบการณ์

จัดหนักจัดเต็มทุกงานวิจัย

จัดหนักจัดเต็มทุกงานวิจัย

💁‍♀️ Thesis Thailand จัดหนักจัดเต็ม พร้อมช่วยแนะนำให้คำปรึกษาทุกงานวิจัย 🤩 และกระบวนการให้คำปรึกษางานวิจัยของ Thesis Thailand เป็นอย่างไรบ้างนั้น สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเราคลิกเลย👉🏻https://thesisthailand.co.th  🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲  📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️ INBOX: https://m.me/thesisthailand #วิจัยตัวร้าย #รับทำวิจัย

ครบเครื่องเรื่องงานวิจัยได้ที่Thesis Thailand

ครบเครื่องเรื่องงานวิจัยได้ที่Thesis Thailand

✨ การที่งานวิจัยจะถือว่า “ครบเครื่อง” จะต้องทำครบทุกส่วนประกอบอย่างเป็นระบบแบบมีคุณภาพสูงสุด 👏🏻 ดังนั้น การเลือกใช้บริการจาก Thesis Thailand ที่ปรึกษาในการทำงานวิจัยหลากหลายด้าน ผู้เชี่ยวชาญระดับชั้นการศึกษาต่างๆ จนถึงปริญญาเอก 👍🏻 พร้อมให้บริการด้านงานวิจัยได้อย่างครบครันเพื่อคุณ 🤩 🗣 ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲  📲 LINE: @THESISTH 📞 TEL: 063-207-3864 ✉️

สุดยอดทีมงานวิจัยที่พร้อมช่วยคุณ

สุดยอดทีมงานวิจัยที่พร้อมช่วยคุณ

“เราเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลกด้านการเขียนเชิงวิชาการออนไลน์ โดยได้รับความไว้วางจากลูกค้า คุณภาพระดับสาขา” บริการที่ยืดหยุ่นสำหรับทุกขั้นตอนการทำงานของคุณ ไม่ว่าคุณจะทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเสร็จมากแค่ไหน เราก็พร้อมจะเข้าไปมีส่วนร่วม ติดต่อสอบถามปรึกษาปัญหาวิจัย 📲 🔹 LINE: @THESISTH 🔹TEL: 063-207-3864 🔹 INBOX: https://m.me/thesisthailand #วิจัยตัวร้าย #รับทำวิจัย #รับทำการบ้าน #วิจัยปี4 #วิจัยปโท #รับทำวิทยานิพนธ์ #วิทยานิพนธ์