ภาพรวมหลักสูตร

** การรับสมัครนิสิตใหม่ (ช่วงมกราคม – เมษายนของทุกปี) **

e-book หลักสูตร

ภาพรวมหลักสูตร

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2512 โดยรับสมัครผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญานิติศาสตรบัณฑิตเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต ทั้งนี้ หลักสูตรฯ ได้มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งประกอบไปด้วย 4 สาขาวิชากฎหมายหลัก อันได้แก่ กฎหมายเอกชนและธุรกิจ กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กฎหมายมหาชน และกฎหมายระหว่างประเทศ

ในแต่ละปีการศึกษา หลักสูตรฯ จะเปิดรับสมัครและทำการคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิเข้าศึกษาประมาณปีละ 100 คน ทั้งนี้มีผู้ที่สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตจากทั่วประเทศให้ความสนใจและสมัครเข้าศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานแล้วทั้งในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน รวมถึงนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาจึงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้และมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน

โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร

เพื่อให้การศึกษาในระดับมหาบัณฑิตมีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป หลักสูตรฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของคัดเลือกอาจารย์และผู้ทรงวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งในทางวิชาการและทางปฏิบัติเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์และความรู้สูงสุดจากคณาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ วิทยากร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและเป็นที่ยอมรับในวงการนิติศาสตร์ อาทิเช่น อดีตประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง อดีตอัยการสูงสุด รวมถึงที่ปรึกษากฎหมายระดับแนวหน้าของประเทศจากสำนักงานกฎหมายที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ

ปัจจุบัน หลักสูตรฯ ได้ผลิตมหาบัณฑิตกว่า 2,000 คน โดยมหาบัณฑิตเหล่านี้ได้นำความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนการสอนไปใช้ในการพัฒนาประเทศชาติและรับใช้สังคมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาควิสาหกิจ รวมถึงภาคเอกชน อาทิ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ตุลาการ ข้าราชการ อาจารย์ นิติกร ทนายความ เป็นต้น

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต แบ่งเป็น
แผน ก2 (วิทยานิพนธ์)
รายวิชาบังคับทุกหมวดวิชา 6 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับเฉพาะหมวดวิชา 9 หน่วยกิต
รายวิชาเลือกเฉพาะหมวดวิชา 9 หน่วยกิต
รายวิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข (เอกัตศึกษา)
รายวิชาบังคับทุกหมวดวิชา 6 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับเฉพาะหมวดวิชา 12 หน่วยกิต
รายวิชาเลือกเฉพาะหมวดวิชา 9 หน่วยกิต
รายวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
การจัดการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษา
หลักสูตรฯ มีระยะเวลาการศึกษา 2 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 4 ปีการศึกษานับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษา

1 ปีการศึกษา : แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา

ประมาณเดือนกรกฎาคมของทุกปี ลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาต้น ที่เว็บไซต์ www.reg.chula.ac.th
ชำระค่าเล่าเรียน ผ่าน CU NEX Application
ระหว่างเดือนสิงหาคม – ธันวาคมของทุกปี การจัดการเรียนการสอน ภาคการศึกษาต้น
สอบปลายภาค (ภาคการศึกษาต้น)
ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาปลายที่เว็บไซต์ www.reg.chula.ac.th
ชำระค่าเล่าเรียน ผ่าน CU NEX Application
ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคมของทุกปี การจัดการเรียนการสอน ภาคการศึกษาปลาย
สอบปลายภาค (ภาคการศึกษาปลาย)
เวลาเรียน วันจันทร์ – วันเสาร์
วันจันทร์ – วันศุกร์ : เวลา 17.00 – 20.00 น.
วันเสาร์ : เวลา 09.00 – 16.00 น.
การสมัครและแนวทางการคัดเลือก (How to Apply)

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร
สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญานิติศาสตรบัณฑิต
ผ่านการคัดเลือกตามวิธีการที่หลักสูตรกำหนด
ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
ผู้เข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จะศึกษาเกินกว่า 1 สาขาวิชาในเวลาเดียวกันมิได้
ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษในวันลงทะเบียนแรกเข้า ดังต่อไปนี้
5.1 มีคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป ก่อนลงทะเบียนแรกเข้า ทั้งนี้ ผลคะแนนต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันรายงานผลคะแนนการทดสอบจนถึงวันปิดรับสมัคร

5.2 การสำเร็จการศึกษา นิสิตต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 45 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 450 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป หรือสอบผ่านรายวิชาภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วยจึงจะสำเร็จการศึกษาได้

วิธีการคัดเลือก
สอบข้อเขียน
สัมภาษณ์
ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าใช้จ่ายที่นิสิตต้องชำระ ประมาณ 36,500 บาท / ภาคการศึกษา
ทุนอุดหนุนการศึกษา
ทุนอุดหนุนการศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.grad.chula.ac.th หรือ โทร.0-2218-3502-4
ทุนของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ทุนนิสิตช่วยงาน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
ระยะเวลารับสมัคร
เปิดรับสมัครระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปี ** คลิกสมัคร **
วิธีการสมัคร (สามารถทำได้ 3 ช่องทาง)
ยื่นใบสมัครทาง Online ที่ www.law.chula-regist.com
ยื่นใบสมัครด้วยตนเองที่หลักสูตรฯ
ยื่นใบสมัครทางไปรษณีย์
บุคลากรประจำหลักสูตร

ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
อาจารย์ ดร.ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์
รองผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม
เจ้าหน้าที่หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
นายบำรุง ถนอมเชื้อ
นางพิริยาภรณ์ คำมอนมาย
นางสาวกนกกร ป้อมปลั่ง
ติตต่อหน่วยงาน

สำนักงานหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขานิติศาสตร์) llm-thai@law.chula.ac.th โทร. 095-3676129

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ Thesis Thailand ขอแนะนำการจัดตารางการอ่านหนังสือ ดังนี้ . 1. เลือกเวลาที่เหมาะสม เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก . 2.

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

จากการศึกษางานวิจัยของ The British Journal of Psychology ทำการทดลองด้วยการสำรวจความเห็นของกลุ่มคนอายุ 18 ถึง 28 ปี จำนวนกว่า 15,000 คน ผลวิจัยพบว่า คนฉลาดหรือคนที่มีไอคิวสูง ๆ ที่จำนวนของกลุ่มเพื่อนมีผลกระทบต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก และคนฉลาดมักมีความพึงพอใจต่ำกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า นั่นแปลว่ายิ่งคุณฉลาดเท่าไหร่ คุณจะยิ่งไม่ชอบเข้าสังคมเลย . พบอีกว่าคนที่มีไอคิวสูงนั้นมักจะไม่ใช้เวลาไปกับการเข้าสังคมหรือใช้เวลากับเพื่อนมากนัก

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

จากการศึกษาเรื่องงานวิจัยที่น่าสนใจของ ดร.มุยเรียนน์ ไอริช นักประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด จากสถาบันวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย กล่าวว่าที่ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชายอาจเป็นเพราะผู้หญิงมักต้องทำงานที่ใช้ความจำในด้านบางอย่างมากกว่าผู้ชาย เช่น การตามตารางนัดหมาย หรือการตรวจสิ่งของต่างๆ ว่าเก็บไว้ตรงไหน ทำให้เหมือนเป็นการฝึกฝนไปในตัว . อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา & Holistic Medicine กล่าวว่าโครงสร้างของสมองระหว่างผู้ชายและผู้หญิงจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศในช่วงตอนต้นของชีวิต โดยผู้หญิงจะมีสมองส่วน Hippocampus ทำหน้าที่เก็บความจำต่อเหตุการณ์ขนาดใหญ่กว่าผู้ชาย จึงเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้มากกว่าและยังรวมถึงการระลึกเหตุการณ์เก่าๆ ที่สะเทือนจิตใจได้ดีกว่าผู้ชาย และขณะเดียวกันผู้ชายมักจะเก็บความทรงจำในภาพรวมหรือเหตุการณ์สำคัญๆมากกว่า

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

จากการศึกษาจาก แดรี่เลวานี จอห์นสัน (Darylevuanie Johnson) นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการปรึกษาด้านจิตวิทยา กล่าวว่า คนที่ชอบเอาอกเอาใจผู้อื่นอยู่เสมอ หรือที่เรียกว่าเป็น People-Pleaser ที่ความพึงพอใจของคนอื่นมักจะมาก่อนของตัวเองเสมอ และคิดว่าตัวเองไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ กับใครเลย เพราะการถูกปฏิเสธ ถูกโกรธ ถูกบอกเลิก หรือไม่ได้รับการยอมรับ . นับว่าเป็นเรื่องที่เจ็บปวดสำหรับคนประเภทนี้ ซึ่งหลายครั้งมันอาจถึงขั้นที่จะต้องแลกหรือเสียสละเวลา พลังงาน ความฝัน ความต้องการส่วนตัวของตัวเอง เพื่อทำให้คนอื่นมีความสุขมากที่สุด ทำให้พวกเขามักจะ