ปัญหา 4 ประการในการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย

การเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยนั้นถืิอได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะขายงานวิจัยของเราให้กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจจะเป็น ผู้ให้ทุน อาจารย์ที่ปรึกษา หรือ บรรณาธิการของวารสารวิชาการที่เราอยากตีพิมพ์งานของเรา โดยการเขียนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายก็มีความเหมือนและต่างกันออกไป ผมเองก็เคยประสบปัญหาในเรื่องนี้มาก่อนเช่นกัน จึงอยากจะแบ่งปันข้อแนะนำให้ผู้ที่อาจจะกำลังประสบปัญหานี้เหมือนกัน ดังนี้ครับ

  1. pควรเริ่มอย่างไรดี
    ผมเห็นหลายๆ งานมักจะเริ่มด้วยการบรรยายขนาดความสำคัญของพื้นที่หรืออุตสาหกรรมที่วิจัยอยู่เช่น GDP ของ ไทย หรือ รายได้หรือจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าดึงดูดใจพอ จริงอยู่ที่ตัวเลขต่างๆ นั้นสามารถบอกขนาดความสำคัญได้ ทว่ากลับเป็นขนาดของภาพรวมพื้นที่ ไม่ใช่ขนาดความสำคัญของงานวิจัยเราดังนั้นสำหรับผมแล้วจะเริ่มที่ปัญหาที่เกิดขึ้นเลย โดยจะไม่บรรยายความสำคัญของพื้นที่มากนัก อาจจะแค่กริ่นเล็กๆ น้อย แล้วเสนอปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นในเชิงวิชาการ หรือ ในภาคปฏิบัติ (งานส่วนใหญ่ผมจะกริ่นด้วยปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ ในกาคปฏิบัติ)
  2. ควรจะเขียนมากน้อยขนาดไหนดี
    ทุกครั้งที่เขียนที่มาฯ ผมจะคิดเสมอว่าตัวเองเป็น Sale ขายงานวิจัย ดังนั้นจึงคิดว่า ทำยังไงก็ได้ให้ผู้อ่าน หรือ ผู้ให้ทุน (ลูกค้า) สนใจอ่านงานเรา หรือ ให้ทุนวิจัย (ซื้อของ) ในเวลาที่สั้นที่สุด แต่ต้องใช้ข้อมูลที่เป็นความจริงไม่มีการนั่งเทียนหรือแต่งนิทานมาหลอกเด็ดขาดโดยทั่วไปที่มาฯ ไม่ควรเกิน 5-10% ของงานวิจัย ในวิทยานิพนธ์ สองร้อยกว่าหน้า มีส่วนที่เป็นที่มา เพียง 1-2 หน้าก็เพียงพอแล้ว (อาจารย์มิ่งสรรพ์ เคยกล่าวไว้ว่า 3 หน้าแรกของ Proposal สำคัญมากเพราะผู้ให้ทุนจะตัดสินหลังจากอ่านหน้าที่ 3 แล้วว่าจะให้ทุนหรือไม่ Prof.Disney ก็บอกผมว่าส่วนที่มาฯ ของงานเป็นส่วนสำคัญมากสำหรับ Journal Editors โดยเฉพาะ journals ที่ดีๆ
  3. ควรจะอ้างอิงข้อมูลหรือไม่
    ในการทำวิจัยนั้นการอ้างอิงข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะสนับสนุนงานวิจัยของเรา ทั้งนี้การอ้างอิงอาจจะทำให้ส่วนที่มาฯ มีความน่าเชื่อถือดังนั้นหากจะมีการอ้างอิงในสาวนที่มาฯ นั้น แหล่งที่ใช้ควรจะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือในระดับที่สูง และสามารถติดตามตรวจสอบความถูกต้องได้งาน เพราะหากตามตรวจสอบยากแล้วผุ้อ่านอาจจะมีความเคลือบแคลงสงสัยได้ อย่างไรก็ตามปกติ ในย่อหน้าแรกผมจะไม่อ้างอิงเลย แต่จะสรุปปัญหาอย่างกระชับและเข้าใจได้ง่ายๆ แล้วค่อยหาหลักฐานมาสนับสนุนคำกล่าวของเราในส่วนต่อมา เพื่อที่จะจับความสนใจของผู้อ่านให้ได้เร็วที่สุด ก่อนที่ผู้อ่านจะปิดไฟล์ หรือโยนงานเราลงถังขยะเสียก่อน
  4. ควรจะปิดท้าย(สรุป)อย่างไรดี
    สุดท้ายที่มาและความสำคัญจะต้องโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วยและคล้อยตามเราว่าทำไมเราจึงควรสละเวลาและทรัพยากรต่างๆ ในการทำวิจัยเพื่อหาคำตอบของปัญหาวิจัยนี้ และทำให้ผู้อ่านอยากจะอ่านงานวิ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

งานวิจัยเผย : อากาศหนาวทำให้อ้วนขึ้น

จากการศึกษาโดย พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ “หมอผิง” ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยและกูรูด้านสุขภาพบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก พบว่า อากาศหนาวอาจส่งผลให้คนเราหิวเก่งขึ้น โดยเฉพาะอาหารแคลอรี่สูง วิจัยในอเมริกาพบว่าคนน้ำหนักขึ้นเฉลี่ย 0.5-1 กก. ในฤดูหนาว เป็นผลจากกินเพิ่มขึ้นและออกกำลังน้อยลง . ผลกระทบที่เกิดต่อร่างกายจากอากาศหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จนอาจเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในระยะยาวอย่างโรคหัวใจ มีปัญหาสุขภาพจิต

หลังอายุ 27 ความสนุกจะหายไป

งานวิจัยเผย : หลังอายุ 27 ความสนุกจะหายไป

จากการศึกษาพบว่ามากกว่าครึ่งของแบบสำรวจ (56%) ยอมรับว่าพวกเขาหมดความรู้สึกสนุกเมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อายุเฉลี่ย 27 ปี โดย Tropicana ที่ออกมาเรียกร้องการคืนความสนุกสนานให้กับวัยผู้ใหญ่ โดยการสร้างเตียงขนาดใหญ่ยักษ์วางไว้กลางลานหลักของสถานี King’s Cross เพื่อให้ผู้ใหญ่ใช้เป็นแทรมโพลีนกระโดดเล่นกัน และงานวิจัยได้สำรวจจากชาวอังกฤษวัยผู้ใหญ่จำนวน 2,000 คน พวกเขาจำนวนมากกว่าครึ่งกล่าวว่าพวกเขาคิดถึงกิจกรรมช่วงปิดเทอม การตื่นขึ้นมาแบบไม่ต้องนึกถึงภาระ และชีวิตที่ไม่ต้องทำงานเพื่อเลี้ยงดูตัวเอง การได้เงินค่าขนม การวิ่งเล่นในสวน การดูโทรทัศนืหลังเลิกเรียน ก็ติดท็อป 40 กิจกรรมที่ผู้ใหญ่มักนึกถึงในวัยเด็กเช่นกัน หลายคนคิดถึงสิ่งต่าง

งีบหลับช่วงกลางวัน ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้

งานวิจัยเผย : งีบหลับช่วงกลางวัน ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้

จากการศึกษาจากวารสารวิชาการ Sleep Health โดยคณะนักวิจัยจาก University College London (UCL) และ University of the Republic ในอุรุกวัย เปิดเผยว่า การงีบหลับสั้นๆ ในช่วงเวลากลางวัน อาจเป็นผลดีต่อสุขภาพสมองของมนุษย์ เนื่องจากมันช่วยป้องกันการหดตัวของสมองได้เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ก่อนหน้านี้จะมีงานวิจัยที่เปิดเผยว่า การงีบหลับนานๆ อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ แต่ในขณะเดียวกันงานวิจัยอื่นๆ ได้ออกมารายงานว่า การงีบหลับสั้นๆ

การลาหยุดยาวจะทำให้เราตายช้าลง

การลาหยุดยาวจะทำให้เราตายช้าลง

จากการศึกษาโดยงานวิจัยที่ได้นำเสนอในการประชุมประจำปีของ European Society of Cardiology ในประเทศเยอรมนี พบว่า การไปเที่ยวพักผ่อนอย่างน้อย 3 ครั้งในหนึ่งปี หรือคิดเป็น 21 วัน จะทำให้อายุยืนกว่า โดยเฉพาะ ‘ผู้ชาย’ ที่ลางาน 3 สัปดาห์หรือน้อยกว่านั้นต่อปี จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า 37% เมื่อเทียบกับคนที่ลางานเกิน 3 สัปดาห์จากตารางการทำงาน .