ฉันเสียน้ำตาเพราะทำวิทยานิพนธ์ : เมื่อความยากในการศึกษาทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น

ฉันเสียน้ำตาเพราะทำวิทยานิพนธ์ : เมื่อความยากในการศึกษาทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น
Posted On 23 May 2019 Thanyawat Ippoodom
ADVERTISEMENT

หัวข้อจะผ่านไหม? คำถามวิจัยเป็นยังไงบ้าง? อาจารย์ที่ปรึกษาจะโอเครึเปล่า? คำถามเหล่านี้มักเกิดขึ้นเป็นประจำกับชีวิตการทำวิทยานิพนธ์

‘วิทยานิพนธ์’ ดูเหมือนจะเป็นหมุดหมายสำคัญของชีวิตนักศึกษาปริญญาตรีถึงปริญญาเอก เพราะกระบวนการวิจัยคือสิ่งทดสอบทั้งสภาพร่างกายคือความอึด ถึก ทน และวัดกำลังใจกันว่า เราจะสามารถฝ่าฝืนความยากที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ หลายคนก็เดินต่อไปได้ ขณะที่อีกจำนวนไม่น้อยต้องเสียน้ำตา เพราะความยากลำบากและความรู้สึกกดดันที่เกิดขึ้น

จากเปิดเล่มถึงปิดเล่ม เมื่อฉันเสียน้ำตาให้กับวิทยานิพนธ์
“เราร้องไห้หนักสุดตอนก่อนสอบเปิดเล่ม มันคือความกลัว ความไม่มั่นใจ เราไม่รู้ว่าจะไปรอดแค่ไหน เพราะถ้าไม่ผ่านจริงๆ เราก็อาจจะต้องกลับไปเริ่มใหม่ทั้งหมด คืนก่อนสอบก็ทำพรีเซนเทชั่นไปน้ำตาก็ไหลไป” นิสิตปริญญาโทคณะนิเทศศาสตร์ เล่าให้เราฟัง

เรื่องราวความกดดันจาก ‘การสอบเปิดเล่ม’ คล้ายๆ กันก็เกิดขึ้นกับนักศึกษาปริญญาโทที่กำลังทำวิทยานิพนธ์วิชาประวัติศาสตร์

การสอบเปิดเล่ม หรือที่เรียกกันว่า สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ คือขั้นตอนที่นักศึกษาต้องนำชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ หัวข้อวิจัย ประเด็นที่ต้องการศึกษา รวมถึงทฤษฏีหรือบททบทวนวรรณกรรมไปเสนอกับอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เปรียบเหมือนโครงสร้างพื้นฐานของวิทยานิพนธ์เลยก็ว่าได้ ถ้าโครงสร้างดีก็ไปต่อได้ดี แต่ถ้าโครงสร้างไม่มั่นคง ก็อาจจะต้องปรับแก้ไขกันให้สมบูรณ์มากที่สุด

“สอบเปิดเล่มคืออะไรที่เครียดมากนะ เพราะถึงแม้เราจะคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษามาระดับหนึ่งแล้ว แต่เราก็ไม่รู้ว่าวันสอบมันจะเกิดอะไรขึ้นอยู่ดี อาจารย์ที่เป็นคณะกรรมการนอกก็เข้ามาร่วมสอบด้วย มันก็เลยเครียดไปใหญ่ ตอนก่อนสอบก็น้ำตาปริ่มๆ แหละเพราะกดดัน แต่พอเจอคอมเมนต์งานและรู้ว่าต้องแก้อะไรบ้างนั่นแหละ น้ำตาไหลของจริง”

ส่วนนักศึกษาปริญญาโทรัฐศาสตร์ เล่าว่า ช่วงเวลาก่อนสอบเปิดเล่มค่อนข้างเครียดมากๆ สำหรับเขาแล้ว มันหนักมากที่สุดในช่วงของการเขียนวัตถุประสงค์และเนื้อหาส่วนที่เป็นการทบทวนวรรณกรรม

กระทู้พันทิป หนึ่งช่องทางที่หลายๆ คนมักไปเล่าเรื่องความยากของทำวิทยานิพนธ์

“ช่วงนั้นชีวิตอยู่ในห้องสมุดทุกวัน ด้วยความที่หัวข้อของเรามันคือการวิเคราะห์และเปรียบเทียบระบบการเมืองที่รายละเอียดค่อนข้างเยอะ แถมส่วนใหญ่เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ เราไม่เคยคิดมาก่อนว่า ชีวิตจะเดินมาถึงจุดที่ยืนพิมพ์ค้นหาชื่อหนังสืออ้างอิงไปก็น้ำตาไหลไป คือเราไม่รู้เลยว่าที่หาอยู่มันจะจบสิ้นเมื่อไหร่”

แม้จะผ่านช่วงเวลาการสอบเปิดเล่มมาได้ และการปรับแก้ไขเนื้อหาจะเป็นไปโดยสมบูรณ์ตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำ หากแต่นักศึกษาปริญญาโทอีกคน บอกกับเราว่า ช่วงเวลาที่ยากลำบากมันไม่ได้หยุดลงแค่นั้น

“ระหว่างที่ทำเล่มไปก็ต้องคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดใช่ไหม อยู่มาวันนึงอาจารย์ของเราก็โทรมาบอกว่า เขากำลังจะไปบวชและจะขาดการติดต่อสักระยะ โอ้โห ตอนนั้นน้ำตาจะไหลจริงๆ คือแปลว่าเราต้องรีบทำให้เสร็จก่อนกำหนดเร็วขึ้น ชีวิตต้องปรับตารางกันใหม่หมดเลย เพราะเราทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยพร้อมๆ กัน

“เอาจริงๆ เรื่องอาจารย์ไปบวชนี่ขำไม่ออกนะ เพราะเราจะติดต่อเขาไม่ได้เลย หรือจริงๆ ก็ติดต่อได้มั้งแต่ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นบทสนทนายังไง” เธอคนนี้เล่าเสริมว่า ถึงอย่างนั้น ก็ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามาได้ในที่สุด

ADVERTISEMENT

หนึ่งในนักศึกษาปริญญาโทที่เราเคยคุยด้วยผ่านบทความ ‘เรียนไม่ไหว กลัวทำวิจัยไม่ผ่าน : ชีวิตแสนกดดันของคนเรียนปริญญาโท-เอก’ ก็มีเรื่องทำนองเดียวกัน เธอเล่าให้ฟังเกี่ยวกับช่วงเวลา ‘ระหว่างทาง’ ไปสู่การสอบปิดเล่ม

“เรานั่งทำงานไปร้องไห้ไป พิมพ์งานไปก็น้ำตาไหลไป เพราะกลัวว่าจะทำไม่ทัน ตอนนั้นมันเหลืออีกสัปดาห์จะต้องสอบปิดเล่มแล้ว เป็นช่วงที่เครียดที่สุดก็ว่าได้ เพราะไม่แน่ใจว่าทุกอย่างที่เขียนไปมันจะถูกต้องรึเปล่า กลัวว่าส่งไปแล้วอาจารย์ที่ปรึกษาตอบกลับมาว่า สิ่งที่เราทำมันผิด เราเครียดแบบนี้ไปตลอด จนถึงวันสุดท้ายที่ต้องส่งเล่มก็ไม่ได้นอน”

เมื่อการเสียน้ำตาทำให้เราเข้มแข็ง
เมื่อพูดถึงเรื่องน้ำตาและการร้องไห้ หลายๆ ครั้งมันมักถูกตีความว่ามันเป็นเรื่องของความเปราะบาง หรืออ่อนไหว อ่อนแอ เพียงแค่นั้น แต่สำหรับนักศึกษาที่ต้องฝ่าฝันกับการทำวิทยานิพนธ์แล้ว พวกเขาไม่ได้คิดเช่นนั้นเสมอไป

“ตอนร้องไห้มันก็เปราะบางแหละ เพราะเรารู้สึกกดดันหนักมาก แต่ถ้าผ่านมันมาได้ก็จะรู้ว่าชีวิตแข็งแกร่งขึ้นหลายเท่า เหมือนปลดล็อกตัวเองจากเงื่อนไขยากๆ ในอดีตได้เลย” อดีตนักศึกษาปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ ย้อนเรื่องราวให้ฟังถึงช่วงเวลานั้น

เธอเล่าต่อว่า “เมื่อก่อนเราเป็นคนที่ชอบดูถูกตัวเอง ทำอะไรก็ไม่ค่อยสำเร็จ แต่การทำวิทยานิพนธ์มันเปลี่ยนเราไปเลย พอมองย้อนกลับไป การร้องไห้ในวันนั้นมันก็ทำให้เรามีระเบียบวินัยกับตัวเองมากขึ้นนะ อันนี้คือสิ่งที่ปริญญาโทให้มากับเรานอกเหนือไปจากความรู้ในหนังสือ”

ส่วนอดีตนักศึกษาปริญญาโท ที่เพิ่งเรียนจบจากมหาวิทยาลัยในอังกฤษ เขาตอบผ่านข้อความในช่องแชทว่า

“ผมร้องไห้ครั้งเดียวคือหลังพิธีรับปริญญา อารมณ์คล้ายๆ ยกภูเขาออกจากออกได้สำเร็จ ชีวิตนี้ไม่เคยทำอะไรสำเร็จได้เท่าไหร่ แต่การเรียบจบปริญญาโทได้ แถมยังใช้ชีวิตไกลจากครอบครัวด้วย มันโคตรทำให้เลเวลอัพเลย ต่อจากนี้ก็มั่นใจกับอะไรหลายอย่างมากขึ้นแล้วนะ

“พอผ่านชีวิตนั้นมาได้ เราเองก็เริ่มมั่นใจว่าต่อจากนี้ทำเรื่องยากๆ ให้สำเร็จได้เหมือนกัน เมื่อก่อนเคยมีรุ่นพี่มาพูดโม้ๆ ประมาณว่า ถ้าเอ็งเรียนปริญญาโทและทำวิทยานิพนธ์จบเมื่อไหร่ หลังจากนั้นก็สามารถทำได้ทุกอย่างแล้ว เรากลับมานึกถึงประโยคนั้นก็เริ่มจะเชื่อเขาบ้างเหมือนกันแล้ว”

ในแง่หนึ่งแล้ว ผลสำเร็จของการศึกษาอาจมีหลักฐานที่เป็นรูปธรรม เช่น ใบปริญญา และรูปเล่มวิทยานิพนธ์ที่จับต้องได้ในห้องสมุด ขณะเดียวกัน สิ่งที่เหล่านักศึกษาได้รับจากประสบการณ์การทำวิทยานิพนธ์ ยังมีเรื่องของการเติบโตทางอารมณ์ และชีวิตที่เข้มแข็งมากขึ้นด้วยในเวลาเดียวกัน

ชีวิตหลังน้ำตาวิทยานิพนธ์
ในทางจิตวิทยา เคยมีคนพูดถึงภาวะที่เรียกว่า ‘Post Commencement Stress Disorder’ (PCSD) หรืออาการความเศร้าที่เกิดขึ้นหลังจากเรียนจบ ซึ่งจะเกิดขึ้นเพราะไม่รู้ว่า ชีวิตหลังจากเรียนจบจะเดินไปทางไหนต่อดี เมื่อต้องเดินออกจากพื้นที่ปลอดภัยที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยไปแล้ว

หลายๆ คนที่เผชิญหน้ากับ Post Commencement Stress Disorder มักเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจ ไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง และคิดว่าตัวเองในตอนนี้ขาดความช่วยเหลือเพื่อเผชิญโลกกว้าง

หากแต่เรื่องราวจาก ‘น้ำตา’ ที่เราได้รับฟังมาจากนักศึกษาหลายๆ คน มันก็น่าจะช่วยให้เห็นภาพว่าชีวิตของพวกเขา แม้ต้องเผชิญกับความเครียดในอนาคต (ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่มีทางหนีมันได้) แต่พวกเขาก็มีประสบการณ์การรับมือกับภาวะที่ยากลำบากเป็นต้นทุนชีวิตไว้แล้วเหมือนกัน

การทำวิทยานิพนธ์ที่อาจเป็นยาขมในตอนแรกเริ่ม ที่กินเข้าไปแล้วต้องร้องไห้ แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไป ยาชนิดนี้จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับการเผชิญหน้าโลกแห่งความจริงได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

Illustration by Kodchakorn Thammachart
ADVERTISEMENT

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ Thesis Thailand ขอแนะนำการจัดตารางการอ่านหนังสือ ดังนี้ . 1. เลือกเวลาที่เหมาะสม เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก . 2.

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

จากการศึกษางานวิจัยของ The British Journal of Psychology ทำการทดลองด้วยการสำรวจความเห็นของกลุ่มคนอายุ 18 ถึง 28 ปี จำนวนกว่า 15,000 คน ผลวิจัยพบว่า คนฉลาดหรือคนที่มีไอคิวสูง ๆ ที่จำนวนของกลุ่มเพื่อนมีผลกระทบต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก และคนฉลาดมักมีความพึงพอใจต่ำกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า นั่นแปลว่ายิ่งคุณฉลาดเท่าไหร่ คุณจะยิ่งไม่ชอบเข้าสังคมเลย . พบอีกว่าคนที่มีไอคิวสูงนั้นมักจะไม่ใช้เวลาไปกับการเข้าสังคมหรือใช้เวลากับเพื่อนมากนัก

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

จากการศึกษาเรื่องงานวิจัยที่น่าสนใจของ ดร.มุยเรียนน์ ไอริช นักประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด จากสถาบันวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย กล่าวว่าที่ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชายอาจเป็นเพราะผู้หญิงมักต้องทำงานที่ใช้ความจำในด้านบางอย่างมากกว่าผู้ชาย เช่น การตามตารางนัดหมาย หรือการตรวจสิ่งของต่างๆ ว่าเก็บไว้ตรงไหน ทำให้เหมือนเป็นการฝึกฝนไปในตัว . อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา & Holistic Medicine กล่าวว่าโครงสร้างของสมองระหว่างผู้ชายและผู้หญิงจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศในช่วงตอนต้นของชีวิต โดยผู้หญิงจะมีสมองส่วน Hippocampus ทำหน้าที่เก็บความจำต่อเหตุการณ์ขนาดใหญ่กว่าผู้ชาย จึงเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้มากกว่าและยังรวมถึงการระลึกเหตุการณ์เก่าๆ ที่สะเทือนจิตใจได้ดีกว่าผู้ชาย และขณะเดียวกันผู้ชายมักจะเก็บความทรงจำในภาพรวมหรือเหตุการณ์สำคัญๆมากกว่า

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

จากการศึกษาจาก แดรี่เลวานี จอห์นสัน (Darylevuanie Johnson) นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการปรึกษาด้านจิตวิทยา กล่าวว่า คนที่ชอบเอาอกเอาใจผู้อื่นอยู่เสมอ หรือที่เรียกว่าเป็น People-Pleaser ที่ความพึงพอใจของคนอื่นมักจะมาก่อนของตัวเองเสมอ และคิดว่าตัวเองไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ กับใครเลย เพราะการถูกปฏิเสธ ถูกโกรธ ถูกบอกเลิก หรือไม่ได้รับการยอมรับ . นับว่าเป็นเรื่องที่เจ็บปวดสำหรับคนประเภทนี้ ซึ่งหลายครั้งมันอาจถึงขั้นที่จะต้องแลกหรือเสียสละเวลา พลังงาน ความฝัน ความต้องการส่วนตัวของตัวเอง เพื่อทำให้คนอื่นมีความสุขมากที่สุด ทำให้พวกเขามักจะ