จากการศึกษาเรื่องงานวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ประเทศแคนาดาอย่าง Paul Frankland และ Blake Richards บอกว่า นี่ไม่ใช่สิ่งที่ควรเป็นกังวลเลยแม้แต่น้อย การที่ความทรงจำเก่าๆ โดนลบล้างออกไป เป็นเพราะถูก “แทนที่” ด้วยความทรงจำใหม่ๆ และนี่คือเรื่องแสนธรรมดา อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจคือ สิ่งที่ยากพอๆ กับการลืมเรื่องราวในอดีตไปให้หมดสิ้น คือการจำเรื่องราวในอดีตให้ได้ทั้งหมด นั่นหมายความว่า เราไม่สามารถบังคับสมองของเราได้ชัดเจนขนาดนั้น ไม่ว่าจะเป็นการลืม หรือการจำ
.
พบอีกว่า ความสามารถในการจดจำที่ดี ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับระดับความฉลาดในคนๆ หนึ่งเลยแม้แต่น้อย ในขณะที่คุณอาจคาดเดาความฉลาดของคนๆ หนึ่งจากความสามารถในการจำทุกๆ รายละเอียดที่เป็นเลิศของเขา แต่แท้จริงแล้ว การศึกษาบอกว่า มันจะดีกว่าถ้าเราจำเรื่องราวทุกอย่างเป็นภาพกว้างๆ ให้ได้ มากกว่าที่จะมานั่งจำรายละเอียดปลีกย่อยให้ได้ทั้งหมด และที่สำคัญ การพยายามจำให้ได้ทุกรายละเอียดปลีกย่อยมันไม่ Healthy กับชีวิตเอาเสียเลย อีกทั้งมนุษย์ในยุคก่อน พวกเขายังต้องเลือกจำเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์และช่วยให้มีชีวิตรอดเท่านั้น เพราะฉะนั้น สมองก็จะถูกฝึกให้คิดตามนั้น อะไรที่ทำให้รอดก็จำ อะไรที่ไม่เกี่ยวก็ไม่ต้องจำ แต่สำหรับมนุษย์ในยุคแห่งเทคโนโลยีแบบเราๆ เรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในแต่ละวันนั้นมีมาก ดังนั้นเราจึงจำเป็นจะต้องเลือกลบล้างสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือมีความสำคัญน้อยกว่าออกไปเสีย
.
อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าในโลกยุคนี้ เราสามารถค้นหาข้อมูลแทบจะทุกอย่างได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องเข้าใจได้ว่า ทำไมคนยุคนี้ถึงมักลืมรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ไปได้ง่ายๆ เพราะเราไม่มีความจำเป็นต้องจำทุกสิ่งขนาดนั้น ลืมเมื่อไรก็ค้นหาใหม่ได้เมื่อนั้น แล้วเอาพื้นที่สมองไปใช้เพื่อการตัดสินใจในเรื่องสำคัญจะดีกว่า และหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ หากคุณสนใจหรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องของงานวิจัยนี้สามารถสอบถามกับทาง Thesis Thailand เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยที่พร้อมซัพพอร์ตคุณ
.