การตั้งชื่อหัวข้อศึกษาค้นคว้า

การตั้งชื่อหัวข้อศึกษาค้นคว้า
การคิดหัวข้อ และการกำหนดชื่อเรื่อง
ผู้เขียน: วิจิตร ณัฏฐการณิก ค.บ., ศษ.ม. ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหอวัง

การคิดหัวข้อ
การคิดหัวข้อ หรือการกำหนด “ชื่อเรื่อง” ของปัญหาที่จะทำการศึกษาค้นคว้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการค้นคว้าอิสระ การคิดหัวข้อ หรือ “ชื่อเรื่อง” มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. คิดหัวข้อ และเลือก “ชื่อเรื่อง” ด้วยตนเอง
  2. คิดหัวข้อ หรือ “ชื่อเรื่อง” จากประเด็นปัญหา ข้อสงสัย คำถาม หรือเรื่องที่อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ของตนเอง
  3. คิดหัวข้อ หรือ “ชื่อเรื่อง”ให้มีความเฉพาะเจาะจงและชัดเจน โดยต้องระบุชัดว่าจะค้นคว้าอะไร
  4. หากเป็นเรื่องแปลกใหม่ หรือมีแนวการศึกษาทดลองที่แปลกใหม่ ต้องเป็นสิ่งซึ่งแสดงออกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย
  5. คำนึงถึงเป็นประโยชน์ของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า และเป็นการเพิ่มคุณค่าของผลงงานการค้นคว้าอิสระมากยิ่งขึ้น

แหล่งที่มาของชื่อเรื่อง
“ชื่อเรื่อง” ในการค้นคว้าอิสระอาจมีที่มาจากแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. จากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น ตำรา หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารเผยแพร่ เป็นต้นไม่เฉพาะแต่เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
  2. จากการไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เช่น วนอุทยาน สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่เพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ หน่วยงานวิจัย ห้องปฏิบัติ เป็นต้น
  3. จากการฟังบรรยายทางวิชาการ การฟังและชมรายการวิทยุโทรทัศน์
  4. จากกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
  5. จากงานอดิเรกของนักเรียนเอง
  6. จากการเข้าชมนิทรรศการ หรืองานประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  7. จากการศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว
  8. จากการสนทนากับครู อาจารย์ เพื่อนๆ หรือบุคคลอื่นๆ
  9. จากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว

องค์ประกอบของชื่อเรื่อง
“ชื่อเรื่อง” ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญครบทั้ง 3 ส่วน คือ วิทยวิธี, เป้าหมาย และตัวแปร/เครื่องมือ

  1. วิทยวิธี หมายถึง วิธีการที่ใช้ดำเนินการในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ ซึ่งต้องเขียนขึ้นต้นชื่อเรื่องเสมอ คำที่แสดงวิทยวิธีมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 6 คำ คือ
    การสำรวจ
    การศึกษา
    การพัฒนา การประเมิน
    การเปรียบเทียบ
    ความสัมพันธ์ระหว่าง
  2. เป้าหมาย หมายถึง จุดประสงค์สุดท้ายอันเป็นปลายทางของการค้นคว้าอิสระเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหัวข้อ หรือชื่อเรื่องนั้นๆ
  3. ตัวแปร หรือเครื่องมือ
    3.1 ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่มีอิทธิพล ผล หรือสิ่งที่อาจก่อให้เกิการเปลี่ยนแปลงของการทดลอง
    3.2 เครื่องมือ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
    ตัวอย่างชื่อเรื่องที่มีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ส่วน เช่น
    “การสำรวจปริมาณแมลงศัตรูพืชในนาข้าวจังหวัดสุพรรณบุรีที่ใช้ยันต์กันเพลี้ย”
    “การศึกษาวิธีการสกัดเย็นน้ำมันมะพร้าว”
    “การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBblog) ด้วย (WordPress) เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์”
    “การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน”
    “การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการไล่ยุงระหว่างสารสกัดเปลือกส้มกับสารสกัดตะไคร้หอม”
    “ความสัมพันธ์ระหว่างหญ้าแฝกกับการเพิ่มผลผลิตในพื้นที่สูง”

ข้อควรคำนึงในการกำหนดชื่อเรื่อง
ข้อควรคำนึงที่พึงพิจารณาประกอบการคิดหัวข้อ หรือกำหนด “ชื่อเรื่อง” ที่จะศึกษาค้นคว้ามีดังนี้

  1. เป็นเรื่องที่มีความรู้ ทักษะการใช้อุปกรณ์พื้นฐาน และมีทักษะในเทคนิควิธีอย่างเพียงพอ
  2. มีแหล่งความรู้อย่างเพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
  3. วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นสามารถจัดหา หรือจัดทำขึ้นเองได้
  4. มีระยะเวลาเพียงพอที่จะทำการค้นคว้าในเรื่องนั้นๆ
  5. มีครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิรับเป็นที่ปรึกษา
  6. มีความปลอดภัย
  7. มีงบประมาณเพียงพอ

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ

How to จัดตารางการอ่านหนังสือ Thesis Thailand ขอแนะนำการจัดตารางการอ่านหนังสือ ดังนี้ . 1. เลือกเวลาที่เหมาะสม เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก . 2.

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

งานวิจัยเผย : คนฉลาดมักมีเพื่อนน้อยกว่าคนธรรม

จากการศึกษางานวิจัยของ The British Journal of Psychology ทำการทดลองด้วยการสำรวจความเห็นของกลุ่มคนอายุ 18 ถึง 28 ปี จำนวนกว่า 15,000 คน ผลวิจัยพบว่า คนฉลาดหรือคนที่มีไอคิวสูง ๆ ที่จำนวนของกลุ่มเพื่อนมีผลกระทบต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก และคนฉลาดมักมีความพึงพอใจต่ำกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า นั่นแปลว่ายิ่งคุณฉลาดเท่าไหร่ คุณจะยิ่งไม่ชอบเข้าสังคมเลย . พบอีกว่าคนที่มีไอคิวสูงนั้นมักจะไม่ใช้เวลาไปกับการเข้าสังคมหรือใช้เวลากับเพื่อนมากนัก

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

งานวิจัยเผย : ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชาย

จากการศึกษาเรื่องงานวิจัยที่น่าสนใจของ ดร.มุยเรียนน์ ไอริช นักประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิด จากสถาบันวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย กล่าวว่าที่ผู้หญิงความจำดีกว่าผู้ชายอาจเป็นเพราะผู้หญิงมักต้องทำงานที่ใช้ความจำในด้านบางอย่างมากกว่าผู้ชาย เช่น การตามตารางนัดหมาย หรือการตรวจสิ่งของต่างๆ ว่าเก็บไว้ตรงไหน ทำให้เหมือนเป็นการฝึกฝนไปในตัว . อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา & Holistic Medicine กล่าวว่าโครงสร้างของสมองระหว่างผู้ชายและผู้หญิงจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนเพศในช่วงตอนต้นของชีวิต โดยผู้หญิงจะมีสมองส่วน Hippocampus ทำหน้าที่เก็บความจำต่อเหตุการณ์ขนาดใหญ่กว่าผู้ชาย จึงเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้มากกว่าและยังรวมถึงการระลึกเหตุการณ์เก่าๆ ที่สะเทือนจิตใจได้ดีกว่าผู้ชาย และขณะเดียวกันผู้ชายมักจะเก็บความทรงจำในภาพรวมหรือเหตุการณ์สำคัญๆมากกว่า

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

นักจิตวิทยาเผย : ระวังจิตพัง เพราะตามใจคนอื่น เป็นคนอะไรก็ได้

จากการศึกษาจาก แดรี่เลวานี จอห์นสัน (Darylevuanie Johnson) นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการปรึกษาด้านจิตวิทยา กล่าวว่า คนที่ชอบเอาอกเอาใจผู้อื่นอยู่เสมอ หรือที่เรียกว่าเป็น People-Pleaser ที่ความพึงพอใจของคนอื่นมักจะมาก่อนของตัวเองเสมอ และคิดว่าตัวเองไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ กับใครเลย เพราะการถูกปฏิเสธ ถูกโกรธ ถูกบอกเลิก หรือไม่ได้รับการยอมรับ . นับว่าเป็นเรื่องที่เจ็บปวดสำหรับคนประเภทนี้ ซึ่งหลายครั้งมันอาจถึงขั้นที่จะต้องแลกหรือเสียสละเวลา พลังงาน ความฝัน ความต้องการส่วนตัวของตัวเอง เพื่อทำให้คนอื่นมีความสุขมากที่สุด ทำให้พวกเขามักจะ